พนักงานเก็บขยะ โควิด-19

พนักงานเก็บขยะ สวมชุด PPE ป้องกันการติดเชื้อ หลังขยะเพิ่มขึ้น 6,300 ตันต่อวัน

หลังขยะพลาสติกเพิ่ม 6,300 ตันต่อวัน เนื่องมาจากผลของการอยู่บ้านช่วงโควิด-19 พนักงานเก็บขยะ จึงต้องสวมชุด PPE เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ขยะเพิ่มขึ้น/ปชช. บางส่วนไม่เข้าใจการแยกขยะ พนักงานฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ จากสำนักงานเขตพระนคร กทม. ต้องสวมชุด PPE…

Home / NEWS / พนักงานเก็บขยะ สวมชุด PPE ป้องกันการติดเชื้อ หลังขยะเพิ่มขึ้น 6,300 ตันต่อวัน

หลังขยะพลาสติกเพิ่ม 6,300 ตันต่อวัน เนื่องมาจากผลของการอยู่บ้านช่วงโควิด-19 พนักงานเก็บขยะ จึงต้องสวมชุด PPE เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระหว่างปฏิบัติหน้าที่

ขยะเพิ่มขึ้น/ปชช. บางส่วนไม่เข้าใจการแยกขยะ

พนักงานฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ จากสำนักงานเขตพระนคร กทม. ต้องสวมชุด PPE พร้อมหน้ากากอนามัย เฟซชีลด์ ถุงมือและรองเท้าบูทอย่างรัดกุม ระหว่างตระเวนออกเก็บขยะในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เพราะพวกเขาต้องเสี่ยงต่อการสัมผัสคัดหลั่งหรือเชื้อโรคที่มาจากขยะอันตราย

เช่น หน้ากากอนามัยใช้แล้ว รวมถึงกระดาษทิชชู่ ซึ่งถูกทิ้งรวมมากับขยะทั่วไป แม้ทางกรุงเทพฯ เพิ่มมาตรการด้วยการจัดวางถังขยะสีแดง เพื่อให้ประชาชนทิ้งหน้ากากอนามัยโดยเฉพาะ แต่ก็พบว่าประชาชนบางส่วนยังไม่มีความเข้าใจและยังทิ้งขยะอื่นๆ รวมมาด้วย ซึ่งทำให้การจัดเก็บมีความยากลำบาก

หลายพื้นที่ใน กทม. พบปัญหาขยะพลาสติกเพิ่ม

ทั้งนี้ในหลายพื้นที่ใน กทม. ยังพบปัญหาขยะพลาสติกเพิ่ม จากธุรกิจรับส่งอาหารกำลังเฟื่องฟูสะท้อนคนสั่งอาหารมากขึ้นหลายเท่าตัวช่วงมาตรการล็อคดาวน์กรุงเทพ ฯ โดยก่อนหน้านี้ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา เปิดเผยว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดปัญหาขยะหลายประเภทเพิ่มขึ้น ซึ่งมีที่มาจาก 2 กลุ่มหลัก คือ

1. กลุ่มขยะจากการส่งอาหารออนไลน์

กลุ่มขยะจากการส่งอาหารออนไลน์ ผลจากมาตรการควบคุมโรค ทำให้ประชาชนอยู่บ้าน เลี่ยงการเดินทางจับจ่ายซื้อของ โดยประชาชนใช้วิธีสั่งอาหารให้พนักงานมาส่งที่บ้าน

2. ปริมาณขยะที่เกิดจากหน้ากากอนามัยใช้แล้ว

ปริมาณขยะที่เกิดจากหน้ากากอนามัยใช้แล้ว ซึ่งถูกทิ้งอย่างถูกวิธีผ่านการทิ้งแบบคัดแยกขยะ มีจำนวนทั่วประเทศประมาณ 1.5 – 2 ล้านชิ้นต่อวัน โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. เพิ่มขึ้นถึง 150 ตันต่อวัน

อย่างไรก็ตาม กทม. จึงขอความร่วมมือประชาชน เมื่อต้องการทิ้งหน้ากากอนามัย เฟซชีลด์หรือทิชชู่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ให้แยกใส่ถุงต่างหาก มัดปากถุงให้มิดชิดก่อนนำไปทิ้ง เพื่อลดความเสี่ยงของพนักงานเก็บขยะ รวมถึงเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้อีกทางหนึ่งด้วย