สรุปสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า 2019
📍 สถานการณ์ในประเทศไทย
- 🔻 เพิ่ม ผู้ป่วยยืนยันราย 28 ราย พบใน 68 จังหวัด แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
ผู้ป่วยยืนยัน (รายที่ 2,552 – 2,579)
🔵 เพิ่ม ผู้ป่วยหายกลับบ้าน 70 ราย
⚫️ เพิ่ม ผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย
⚫️ รายที่ 39 ผู้เสียชีวิต ชายไทย อายุ 56 ปี มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยโควิด-19 มาก่อน
- วันที่ 7 มี.ค. 2563 เริ่มมีอาการป่วย
- วันที่ 14 มี.ค. 2563 ไปโรงพยาบาลในจังหวัดสมุทรปราการ อาการไข้ 38.0
หอบเหนื่อย ส่งตรวจเชื้อโควิด-19 เป็นบวก ผลตรวจไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A, B เป็นลบ - วันที่ 23 มี.ค. 2563 เริ่มมีอาการเหนื่อยมากขึ้น แพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจ
- วันที่ 12 เม.ย. 2563 ได้เสียชีวิต
⚫️ รายที่ 40 ผู้เสียชีวิต ชายไทย อายุ 43 ปี อาชีพพนักงานบริษัท มีประวัติโรคประจำตัวโรคเบาหวาน และไตวายเรื้อรัง ไขมันในเลือดสูง
- วันที่ 23 มี.ค. 2563 เริ่มมีอาการป่วย ไข้สูง 39.4 ไอ มีน้ำมูก ถ่ายเหลว
- วันที่ 31 มี.ค. 2563 เข้าการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ แพทย์ได้ทำการรักษาและให้กลับบ้าน
- วันที่ 5 เม.ย. 2563 อาการไม่ดีขึ้น และเข้าการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งเดิม ส่งตรวจเชื้อโควิด-19 พบว่าติดเชื้อ
- วันที่ 9 เม.ย. 2563 อาการแย่ลง หอบเหนื่อยมากขึ้น ออกซิเจนในเลือดลดลง และหัวใจหยุดเต้น
- วันที่ 11 เม.ย. 2563 ได้เสียชีวิตด้วยภาวะระบบหายใจล้มเหลว
🔸 กลุ่มที่ 1 มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย หรือ สถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ (จำนวน 18 ราย)
▪️ สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้านี้ จำนวน 18 ราย
- กรุงเทพฯ 9 ราย
🔸 กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ (จำนวน 10 ราย)
▪️ บคลากรทางการแพทย์ จำนวน 3 ราย
▪️ ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ (เข้าสถานที่กักกันโรค State Quarantine) จำนวน 3 ราย
- สตูล มาจากอินโดนีเซีย 2 ราย
- ยะลา มาจากอินโดนีเซีย 1 ราย
▪️ เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ จำนวน 1 ราย
- คนไทย 1 ราย
- ชาวต่างชาติ 0 ราย
▪️ ไปสถานที่ชุมนุมชน จำนวน 1 ราย
▪️ อาชีพเสี่ยง จำนวน 2 ราย
🔸 กลุ่มที่ 3 ได้รับผลแล็บยืนยันว่า “พบเชื้อแล้ว” (จำนวน 0 ราย)
🔹 รวมผู้ป่วยหายกลับบ้าน 1,288 ราย
🔹 รวมผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล 1,251 ราย
🔹 รวมผู้ป่วยเสียชีวิต 40 ราย
🔹 ผู้ป่วยสะสม 2,579 ราย
▪️ 10 อันดับ จังหวัดที่พบผู้ป่วย 2,579 ราย 68 จังหวัด
- กรุงเทพฯ 1,306 ราย
- ภูเก็ต 182 ราย
- นนทบุรี 150 ราย
- สมุทรปราการ 105 ราย
- ยะลา 84 ราย
- ชลบุรี 78 ราย
- ปัตตานี 77 ราย
- สงขลา 56 ราย
- เชียงใหม่ 40 ราย
- ปทุมธานี 33 ราย
- อยู่ระหว่างสอบสวน 72 ราย
▪️ 10 อันดับ (อัตราการป่วยสูงสุด) จังหวัดที่พบผู้ป่วย 2,579 ราย 68 จังหวัด
▪️ จังหวัด : ต่อประชากร 1 แสนคน
- ภูเก็ต : 44.03
- กรุงเทพฯ : 23.03
- ยะลา : 15.72
- นนทบุรี : 11.94
- ปัตตานี : 10.67
- สมุทรปราการ : 7.86
- สตูล (จากอินโดนีเซีย) : 5.27
- ชลบุรี : 5.04
- สงขลา : 3.90
- นราธิวาส : 3.48
▪️ 9 จังหวัดที่ยังไม่พบผู้ป่วย (ขอชื่นชมจากใจ) 👏❤️
- กำแพงเพชร
- ชัยนาท
- ตราด
- น่าน
- บึงกาฬ
- พิจิตร
- ระนอง
- สิงห์บุรี
- อ่างทอง
▪️ พื่นที่พบผู้ป่วยสะสม
- กรุงเทพฯและนนทบุรี 1,443 ราย
- ภาคกลาง 340 ราย
- ภาคใต้ 498 ราย
- ภาคอีสาน 103 ราย
- เหนือ 95 ราย
▪️ อายุเฉลี่ย
- อายุน้อยสุด 1 เดือน
- อายุมากสุด 91 ปี
- เฉลี่ยอายุ 39 ปี
▪️ สูงสุดในกลุ่มอายุ
- อายุ 30-39 ปี
- จำนวน 619 ราย
▪️ เพศ
- ชาย 1,367
- หญิง 1,133
📍 กลุ่มผู้ป่วยในจังหวัดภูเก็ต
- สถานบันเทิง 71 ราย
- สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ 33 ราย
- อาชีพเสี่ยง 33 ราย
- คนต่างชาติเดินทางมาจากต่างประเทศ 10 ราย
- คนไทยมาจากต่างประเทศ 4 ราย
- คนงานในสถานที่แออัด ใกล้ชิดชาวต่างชาติ 4 ราย
- ไปสถานที่ชุมชน 3 ราย
- บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข 1 ราย
- สัมผัสผู้เดินทางจากต่างประเทศ 1 ราย
▪️ ระยะเวลาที่ผู้ป่วยจังหวัดภูเก็ต เข้ารับการตรวจ
- มาตรวจภายในวันเดียวกัน 22.69%
- มาตรวจภายใน 3 วัน 22.69%
- มาตรวจภายใน 7 วัน 26.89%
- มาตรวจหลัง 7 วัน 27.73%
▪️ ข้อมูลการสั่งปิดสถานที่จังหวัดภูเก็ต
- 18 มี.ค. 2563 ปิดสถานบันเทิง
- 28 มี.ค. 2563 ปิดซอยบางลา นวดแผนไทย สนามกีฬา
- 2 เม.ย. 2563 ปิดโรงแรม
- 4 เม.ย. 2563 ปิดพื้นที่ป่าตอง ห้ามเข้า-ออก
(หลังจากการสั่งปิดตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มลดลง)
▪️ โรงพยาบาลในจังหวัดภูเก็ตที่ตรวจเชื้อโควิด-19
- รพ.ป่าตอง ตรวจ 1,712 คน พบเชื้อ 19 คน
- รพ.วิชิระภูเก็ต อ.เมือง ตรวจ 763 คน พบเชื้อ 2 คน
- รพ.สต.เชิงทะเล อ.ถลาง ตรวจ 103 คน พบเชื้อ 5 คน
- รพ.ถลาง ตรวจ 337 คน พบเชื้อ 0 คน
📍 บทเรียนที่ได้จากการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรค
- การติดตามผู้สัมผัสโรค (Contact Tracing)
ให้ควบถ้วนในกลุ่มผู้สัมผัสที่เสี่ยงสูง (High Risk Contact)
“อาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ ในกรณีที่ผู้ป่วยปกปิดประวัติ” - กลุ่มผู้สัมผัสที่เสี่ยงสูง (High Risk Contact) ต้องกักกัน 100%
“ควรทำ Local Quarantine กรณีทำ Home Quarantine แล้วยังพบผู้ป่วยต่อเนื่อง” - การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก (Active case finding) ทำในกรณีที่มีการระบาดเป็นวงกว้างในชุมชน เฉพาะกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เสี่ยงเท่านั้น
“เนื่องจากอาจมีปัญหาในเรื่องของการติดตามได้ไม่หมด เช่น มีการกระจายโรคออกไประดับหนึ่ง หรือ ไม่น่าจะให้ข้อมูลผู้สัมผัสได้ครบถ้วน” - การคัดกรองในวงกว้างยังไม่คุ้มค่า ในกรณีที่อุบัติการณ์ของโรคยังไม่สูง
📍 การจัดสรรหน้ากากอนามัย
ข้อมูล ณ 13 เมษายน 2563
- จำนวนรับเข้า 16,036,500 ชิ้น
- ระหว่างจัดส่ง 1,869,500 ชิ้น
- จัดส่งแล้วทั้งหมด 14,167,000 ชิ้น