สรุปสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า 2019
📍 สถานการณ์ในประเทศไทย
- 🔺 เพิ่ม ผู้ป่วยยืนยันราย 34 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
ผู้ป่วยยืนยัน (รายที่ 2,580 – 2,613)
🔵 เพิ่ม ผู้ป่วยหายกลับบ้าน 117 ราย
⚫️ เพิ่ม ผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย
⚫️ รายที่ 41 ผู้เสียชีวิต หญิงชาวไทย อายุ 52 ปี อาชีพพนักงานขับรถขสมก. สาย 140
มีโรคประจำตัว คือ โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจโต
มีประวัติสังสรรค์ดื่มสุรากับเพื่อนๆ และเพื่อนหนึ่งคนในนั้นเป็นผู้ป่วยโควิด-19 มาก่อน พบว่ามีในวงนั้นที่ติดเชื้อ จำนวน 10 ราย
- วันที่ 26 มี.ค. 2563 เริ่มมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก มีเสมหะ ไปตรวจที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ และกลับไปปฏิบัติงานปกติ
- วันที่ 3 เม.ย. 2563 มีอาการไข้ ถ่ายเหลว ไอ และหายใจหอบเหนื่อย จึงไปตรวจที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งย่านธนบุรี พร้อมส่งตรวจหาเชื้อโควิด-19
- วันที่ 4 เม.ย. 2563 ผลตรวจว่า “ติดเชื้อ” ต่อมาอาการแย่ลงเรื่อยๆ
- วันที่ 12 เม.ย. 2563 ได้เสียชีวิต
[เพิ่มเติมข้อมูลประวัติผู้เสียชีวิต]
รถเมล์สาย 140 แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
24 มี.ค. 63 – เลขข้างรถ 5-90033 กะเช้า
25 มี.ค. 63 – เลขข้างรถ 5-90022 กะเช้า
26 มี.ค. 63 – เวรหยุด
27 มี.ค. 63 – เลขข้างรถ 5-90023 กะเช้า
28 มี.ค. 63 – เลขข้างรถ 5-90011 กะเช้า
29 มี.ค. 63 – เลขข้างรถ 5-90037 กะเช้า
30 มี.ค. 63 – เลขข้างรถ 5-90039 กะเช้า
31 มี.ค. 63 – เลขข้างรถ 5-90035 กะเช้า
1 เม.ย. 63 – เลขข้างรถ 5-90019 กะเช้า (ขับรถวันสุดท้ายก่อนป่วย)
2 เม.ย. 63 – เวรหยุด
ข้อมูลจาก : Bangkokbusclub.com ชุมชนคนรักรถเมล์
🔸 กลุ่มที่ 1 มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย หรือ สถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ (จำนวน 27 ราย)
▪️ สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้านี้ จำนวน 27 ราย
🔸 กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ (จำนวน 7 ราย)
▪️ บคลากรทางการแพทย์ จำนวน 0 ราย
▪️ ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ (เข้าสถานที่กักกันโรค State Quarantine) จำนวน 1 ราย
- สตูล มาจากอินโดนีเซีย 1 ราย
- ยอดสะสม 62 ราย
▪️ เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ จำนวน 2 ราย
- คนไทย 2 ราย (จากอิตาลี และมาเลเซีย)
- ชาวต่างชาติ 0 ราย
▪️ ไปสถานที่ชุมนุมชน จำนวน 1 ราย
▪️ อาชีพเสี่ยง จำนวน 1 ราย
🔸 กลุ่มที่ 3 ได้รับผลแล็บยืนยันว่า “พบเชื้อแล้ว” (จำนวน 2 ราย)
🔹 รวมผู้ป่วยหายกลับบ้าน 1,405 ราย
🔹 รวมผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล 1,167 ราย
🔹 รวมผู้ป่วยเสียชีวิต 41 ราย
🔹 ผู้ป่วยสะสม 2,613 ราย
▪️ 10 อันดับ จังหวัดที่พบผู้ป่วย 2,613 ราย 68 จังหวัด
- กรุงเทพฯ 1,311 ราย
- ภูเก็ต 186 ราย
- นนทบุรี 150 ราย
- สมุทรปราการ 107 ราย
- ยะลา 90 ราย
- ปัตตานี 82 ราย
- ชลบุรี 80 ราย
- สงขลา 56 ราย
- เชียงใหม่ 40 ราย
- ปทุมธานี 33 ราย
- อยู่ระหว่างสอบสวน 73 ราย
▪️ 10 อันดับ (อัตราการป่วยสูงสุด) จังหวัดที่พบผู้ป่วย 2,613 ราย 68 จังหวัด
▪️ จังหวัด : ต่อประชากร 1 แสนคน
- ภูเก็ต : 44.99
- กรุงเทพฯ : 23.12
- ยะลา : 16.84
- นนทบุรี : 11.94
- ปัตตานี : 11.36
- สมุทรปราการ : 8.01
- สตูล (จากอินโดนีเซีย) : 5.58
- ชลบุรี : 5.17
- สงขลา : 3.90
- นราธิวาส : 3.48
▪️ 9 จังหวัดที่ยังไม่พบผู้ป่วย (ขอชื่นชมจากใจ) 👏❤️
- กำแพงเพชร
- ชัยนาท
- ตราด
- น่าน
- บึงกาฬ
- พิจิตร
- ระนอง
- สิงห์บุรี
- อ่างทอง
▪️ พื่นที่พบผู้ป่วยสะสม
- กรุงเทพฯและนนทบุรี 1,464 ราย
- ภาคกลาง 344 ราย
- ภาคใต้ 531 ราย
- ภาคอีสาน 106 ราย
- เหนือ 95 ราย
▪️ อายุเฉลี่ย
- อายุน้อยสุด 1 เดือน
- อายุมากสุด 97 ปี
- เฉลี่ยอายุ 40 ปี
▪️ สูงสุดในกลุ่มอายุ
- อายุ 30-39 ปี
- จำนวน 623 ราย
▪️ เพศ
- ชาย 1,377
- หญิง 1,151
📍 ผู้ป่วยโควิด-19 ใน 4 จ.ภาคใต้ “แยกตามปัจจัยเสี่ยง”
(ตั้งแต่มีนาคม – 12 เม.ย. 2563)
- จากงานดาวะห์ที่มาเลเซีย
- จากงานดาวะห์ที่อินโดนีเซียและปากีสถาน
- จากพิธีศาสนาที่บันนังสตา
- จากพิธีชุมชน
- จึงเกิดปัจจัยเสี่ยงของผู้สัมผัสใกล้ชิด และสถานที่แออัด
▪️ สงขลา 56 ราย
▪️ ยะลา 82 ราย
▪️ นราธิวาส 28 ราย
▪️ ปัตตานี 77 ราย
📍 ยอดผู้ป่วยโควิด-19 สะสม ที่รักษาแยกตามสังกัด
ข้อมูล ณ 13 เม.ย. 2563
- รพ.เอกชน 787 ราย
- โรงเรียนแพทย์ 480 ราย
- กรมควบคุมโรค 205 ราย
- กรมการแพทย์ 199 ราย
- กรุงเทพฯ 117 ราย
- รพ.ตำรวจ 37 ราย
- กระทรวงกลาโหม 35 ราย
“ณ วันนี้เตียงไว้รักษาผู้ป่วย และเครื่องช่วยหายใจ ยังว่างอยู่”
📍 เที่ยวบินนำคนไทยที่ตกค้างกลับไทย
- วันที่ 14 เม.ย. 2563 เกาหลีใต้ 135 คน เวลา 21.00 น.
- วันที่ 15 เม.ย. 2563 บังกลาเทศ 175 คน เวลา 22.00 น.
- วันที่ 16 เม.ย. 2563 มัลดีฟส์ 70 คน เวลา 15.15 น.
- วันที่ 17 เม.ย. 2563 บังกลาเทศ 27 คน เวลา 13.40 น.