พระราชบัญญัติโรคติดต่อ ไวรัสโคโรน่า 2019

สรุปเรื่องน่ารู้ กฎหมายคุ้มครอง ไวรัสโคโรน่า 2019

ไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 ถูกประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 14 ตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้ 1 มีนาคม 2563 ในบทความนี้ขอสรุปให้ทุกคนได้เข้าใจกันว่ากฎหมายดังกล่าวที่ประกาศมีผลอย่างไรบ้าง…

Home / NEWS / สรุปเรื่องน่ารู้ กฎหมายคุ้มครอง ไวรัสโคโรน่า 2019

ไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 ถูกประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 14 ตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้ 1 มีนาคม 2563 ในบทความนี้ขอสรุปให้ทุกคนได้เข้าใจกันว่ากฎหมายดังกล่าวที่ประกาศมีผลอย่างไรบ้าง

เรื่องน่ารู้ กฎหมายคุ้มครอง โคโรน่า 2019

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • บังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้ 1 มีนาคม 2563

หากพบผู้มีเหตุสงสัยว่าป่วย หรือมีอาการป่วยต้องแจ้งทันที!

  • เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือปอดอักเสบ และมีประวัติเพิ่งเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ต้องแจ้งทันที!

การเฝ้าระวังโรค Covid-19 ฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

  • มาตรา 31 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้ง
  • มาตรา 32 ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย / โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดที่เกิดขึ้น (มีผลบังคับใช้ 22 ธ.ค. 2560) ฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

การป้องกัน-ควบคุมโรค มาตรา 34

  • เจ้าพนักงานควบคุมติดต่อโรค ดำเนินการเอง/ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ใดดำเนินการ
  • นำผู้ที่เป็น หรือมีเหตุสงสัยว่าเป็นโรค มารับการตรวจ ชันสูตร แยกกัก คุมไว้สังเกต ผู้มีความเสี่ยงจะติดโรคมารับเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • กำจัด แก้ไขปรับปรุง ที่อยู่อาศัย สถานที่ต่าง ๆ พาหนะ หรือทำลายสิ่งใด ๆ ที่มีเชื้อโรค ให้ถูกสุขลักษณะ รวมไปจนถึงกำจัดสัตว์ แมลง เป็นต้น ห้ามเข้าไปในสถานที่ พาหนะ ที่สงสัยว่ามีโรคเกิดขึ้น
  • ฝ่าฝืนมีโทษตั้งแต่ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท จนถึงจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การป้องกัน-ควบคุมโรค มาตรา 35

  • ผู้ว่าราชการจังหวัด/กทม. กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน สั่งให้ผู้ที่เป็น/สงสัยว่าเป็นโรค หยุดประกอบอาชีพเป็นการชั่วคราว อาทิ ปิดตลาด, ปิดสถานที่ประกอบ/จำหน่ายอาหาร, ปิดโรงงาน, ปิดสถานศึกษา, ปิดโรงมหรสพ, สถานที่ชุมนุม ฯลฯ ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การป้องกัน-ควบคุมโรค มาตรา 39 เจ้าของ/ผู้ควบคุม พาหนะ

เมื่อมีเหตุสงสัยว่าพาหนะมาจากท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรที่มีการระบาดของโรค เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านติดต่อระหว่างประเทศ ต้องทำตามกฎดังนี้

  • เจ้าของ/ผู้ควบคุม พาหนะ แจ้งกำหนดการ ยืนเอกสารต่อเจ้าพนักงาน และต้องได้รับการตรวจสอบก่อนว่าถูกสุขลักษณะ ฝ่าฝือมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

การป้องกัน-ควบคุมโรค มาตรา 39 ท้องที่ หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตโรคติดต่อ

เมื่อรัฐมนตรีประกาศให้ท้องที่ หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตโรคติดต่ออันตราย

  • เจ้าพนักงานประจำด่านต้อง กำจัด ป้องกัน และควบคุมการแพร่ของโรค ห้ามผู้ใดเจ้าไป หรือนำสิ่งของเครื่องใช้ที่มีเหตุสงสัยว่าเป็นสิ่งติดโรคเข้าไปหรืออกจากพาหนะ สำหรับผู้ที่เดินทางมากับพาหนะให้รับการตรวจทางการแพทย์ แยกกักตัวไว้สังเกตุ ในสถานที่และระยะเวลาที่กำหนด
  • ฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน20,000 บาท – จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ยกเลิกได้เมื่อสภาวการณ์ของโรคสงบลงหรือมีเหตุสมควร

มาตรา 41 เจ้าของพาหนะ หรือ ผู้ควบคุมพาหนะ

  • เจ้าของพาหนะ หรือ ผู้ควบคุมพาหนะ ต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการขนส่งผู้เดินทางมากับพาหนะนั้น เพื่อแยกตัวไว้คุมสังเกตุ รวมไปจนถึงอกค่าใช้จ่ายเลี้ยงดู รักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ค่าใช้จ่ายเป็นไปตามความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ

มาตรา 42 เจ้าพนักงานควบคุมโรค ฯ มีอำนาจสั่ง

  • ในกรณีพบว่าผู้เดินทางป่วย หรือเข้าข่ายเสี่ยง ต้องสงสัยว่าเป็นโรค หรือพาหะนำโรค เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ มีอำนาจสั่งให้บุคคลดังกล่าว ถูกแยกกัก กักกัน คุมสังเกตุ หรือได้รับสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยค่าใช้จ่ายผู้เดินทางต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค