สรุปสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า 2019
📌 สถานการณ์ในไทย
- พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม 6 ราย
▪️ รายที่ 1 เจ้าหน้าที่สนามบินสุวรรณภูมิ ชายไทย อายุ 21 ปี เริ่มป่วยวันที่ 8 มี.ค. 2563 ไข้ มีน้ำมูก ปวดศรีษะ ตรวจผลแล็บ 2 ที่ผลตรงกันว่า “ติดเชื้อไวรัสโควิด-19” เข้ารักษาในโรงพยาบาลของรัฐ
▪️ รายที่ 2 ชายไทย อายุ 40 ปี ทำงานที่สนามบินสุวรรณภูมิ เริ่มป่วยวันที่ 7 มี.ค. 2563 (รายแรกกับรายที่สอง ไม่ได้ทำงานจุดเดียวกัน แต่มีประวัติเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ) และมีการสัมผัสสิ่งของที่เป็นสัมภาระ ตอนนี้เข้ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในวันที่ 9 มี.ค. 2563
▪️ รายที่ 3 ชายไทย อายุ 25 ปี พนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง เริ่มป่วยวันที่ 25 ก.พ. 2563 รักษาในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง แพทย์ได้เอ๊กซ์เรย์พบว่าปอดอักเสบ “เข้าได้กับนิยามปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุ” และตรวจผลแล็บพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ปัจจุบันรักษาที่สถาบันบำราศนราดูร (ประวัติมีเดินทางไปแหล่งท่องเที่ยวต่างๆพบชาวต่างชาติ เราไม่สามารถระบุคนชัดๆว่าเป็นคนใด)
▪️ รายที่ 4 หญิงไทย อายุ 27 ปี รายนี้เดินทางกลับมาจากประเทศเกาหลีใต้ ได้เข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2563 อาการไข้ ไอ มีน้ำมูก
ปัจจุบันได้ส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2563
▪️ รายที่ 5 ชายไทย อายุ 40 ปี เดินทางกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2563 ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ
▪️ รายที่ 6 ชาวสิงคโปร์ อายุ 36 ปี เจ้าของกิจการในกรุงเทพฯ เริ่มป่วย วันที่ 6 มี.ค. 2563 อาการไข้ ไอ ปวดเปื่อยตามตัวในวันที่ 9 มี.ค. 2563 ปัจจุบันรักษาตัวที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร
“วันนี้เรารู้ว่าพบผู้ป่วยมากขึ้นมาจากขยายวงกว้างในการเฝ้าระวังเพราะพบได้ค่อนข้างเร็ว”
- เพิ่มผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่ม 1 ราย
- รวมผู้ป่วยหายกลับบ้าน 34 ราย
- รวมรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 24 ราย
- รวมผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย
- รวมผู้ป่วยสะสม 59 ราย
📌 กรณีสอบถามเข้ามา
- พนักงานของบริษัทชาวสิงคโปร์ ที่มีรายงานว่าติดเชื้อโควิด-19 พบข้อมูลว่ามีทำงานที่ไทยแค่วันเดียว คือ วันที่ 5 มี.ค. 2563 แล้วกลับวันที่ 6 มี.ค. 2563 และในวันที่ 7 มี.ค. 2563 ได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด-19 “ซึ่งถ้าดูระยะฟักตัวของโรคนี้ ต้องได้รับเชื้อมาก่อนหน้านั้น” (คนนี้มีประวัติเดินทางไปประเทศอังกฤษด้วย)
- ผลการสอบสวนผู้สัมผัสใกล้ชิดในที่ทำงาน จำนวน 84 คน ไม่มีใครป่วย และ”ไม่พบเชื้อไวรัส”
- สรุปได้ว่าไม่ได้ติดเชื้อในประเทศไทยและไม่ได้แพร่เชื้อให้ใคร (ปัจจุบันรักษาตัวในประเทศสิงคโปร์)
📌 เรื่องหน้ากากผ้า (ผ้าสำหรับทำหน้ากาก)
- ผ้านาโน
- ผ้าฝ้ายมัสลิน
- ผ้าฝ้ายดิบ
- ผ้าสาลู
- ผ้ายืด
▪️ ผลกาารทดลอง (ผ้า)
- คุณสมบัติป้องกันอนุภาคขนาดเล็ก
▪️ ได้ดี คือ ผ้าฝ้ายดิบ ผ้าฝ้ายมัสลิน ผ้านาโน
▪️ ดีที่สุด คือ ผ้านาโน ผ้าฝ้ายมัสลิน - คุณสมบัติซึมผ่านน้ำ
▪️ กักน้ำได้ดี คือ ผ้าสาลู ผ้าฝ้ายมัสลิน - คุณสมบัติซักล้าง
▪️ ผ้านาโน ซักไป 10 ครั้ง เริ่มเสื่อมสภาพ
▪️ ผ้าฝ้ายมัสลิน ผ้าสาลู ซักไป 100 ครั้ง คุณสมบัติยังดีอยู่
“สรุป! ผ้าที่เหมาะที่ทำหน้ากากผ้า คือ ผ้าฝ้ายมัสลิน”
“ย้ำอีกครั้ง กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี”
📌 อัปเดต ผู้ป่วยรายที่รับมาจากโรงพยาบาลเลิดสิน มารักษาตัวที่โรงพยาบาลราชวิถี ตอนนี้ผลการตรวจเชื้อ “ไม่พบเชื้อแล้ว” กำลังฟื้นฟูอาการและรอกลับบ้าน
📌 เรื่องขอยา
- กำลังหารือกำหนดหลักเกณฑ์การให้ยา และกำลังกระจายไปยังโรงพยาบาลต่างๆ
- ยาที่มีอยู่ คือ ฟาวิพิราเวียร์ ก็กำลังเตรียมการกระจายให้โรงพยาบาล
📌 เรื่องย้ำๆ
- หากไม่อยากให้เกิดระบาดเป็นวงกว้าง จำเป็นต้องช่วยกัน ป้องกัน ซึ่งประชาชนทุกคนสำคัญมาก
- กรณี #ผีน้อย 80 รายที่หนีไปก่อนหน้านี้ ตามตัวได้หมดแล้ว ต้องขอบคุณญาติ/พี่น้อง/พ่อแม่ และผู้เกี่ยวข้องที่ช่วย ให้ติดตามตัวได้จนครบ
- ประเทศไทย ยังอยู่ในระยะที่ 2
📌 แรงงานไทยนอกระบบจากเกาหลีใต้
- ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ ขณะมีจำนวน 241 คน ชาย 104 คน หญิง 137 คน
- กลุ่มที่ดูแลพิเศษ คนเล็ก 5 คน หญิงตั้งครรภ์ 6 คน มีโรคประจำตัว 18 คน
- ทุกคนมีอาการที่ดี ไม่มีไข้ ยังดูในการดูแลต่อไปจนกว่าครบกำหนด
📌 เรื่องประชาชนห่วงใยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
- ขอบคุณทุกคนที่ความห่วงใย ส่งกำลังใจเข้ามา
- ขณะนี้หน้ากากอนามัย ที่ได้จัดสรรจากกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงสาธารณสุข
ได้ส่งไปในโรงพยาบาลต่างๆแล้ว ส่วนใหญ่ได้รับแล้ว - ขอให้พี่น้องอุ่นใจได้นะครับ
📌 กรณีนักท่องเที่ยวต่างชาติ
- หากมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง คือ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ใต้หวัน สเปน ก็จะให้กักตัว 14 วัน ในที่ที่สามารถติดตามตัวได้, สังเกตอาการตนเอง
- ประเทศสเปน จำนวนผู้ป่วยเพิ่มเร็ว สถานการณ์เกิดการระบาดต่อเนื่อง คาดว่าจะไม่หยุดง่ายๆ มีผู้ป่วยเกิน 1 พัน ระบาดต่อเนื่อง เกิน 2 สัปดาห์
ดังนั้น สเปน จึงถือเป็นอีกหนึ่งประเทศกลุ่มเสี่ยง ให้เลี่ยงการเดินทาง
📌 กรณีเจ้าหน้าที่ ตม.
- แนะนำให้ป้องกันตนเอง สำคัญที่สุดคือการล้างมือ เนื่องจากจำเป็นต้องสัมผัสสิ่งของจากผู้เดินทาง
- ต้องไม่จับส่วนต่างๆ ใบหน้า / สวมหน้ากาก