กระทรวงสาธารณสุข โควิด-19 ไวรัสโคโรน่า 2019

สรุปแถลง สธ. โควิด-19 วันที่ 12/03/2563 | 10.53 น.

สรุปสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า 2019 📌 สถานการณ์ในไทย พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม 11 ราย จาก 15 ราย ▪️ เล่าเหตุการณ์เมื่อประมาณปลายเดือน ก.พ. 2563▪️ นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกง…

Home / NEWS / สรุปแถลง สธ. โควิด-19 วันที่ 12/03/2563 | 10.53 น.

สรุปสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า 2019

📌 สถานการณ์ในไทย

  • พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม 11 ราย จาก 15 ราย

▪️ เล่าเหตุการณ์เมื่อประมาณปลายเดือน ก.พ. 2563
▪️ นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกง มาเที่ยวเมืองไทย (ในวันที่ 21 ก.พ. 2563)
▪️ มีอาการป่วย (วันที่ 25 ก.พ. 2563) ไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ไอ
▪️ “ตอนที่ป่วยยังได้ไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อนในกลุ่มอีก 2 ครั้ง”
▪️ เริ่มสังสรรค์กัน (วันที่ 27 กับ 29 ก.พ. 2563)
▪️ หลังจากนั้น (วันที่ 4 มี.ค. 2563) ผู้ที่ร่วมสังสรรค์กัน เริ่มมีอาการป่วย
▪️ ทยอยเดินทางเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการทางเดินหายใจเป็นกลุ่ม
▪️ ผู้ที่เป็นต้นเหตุได้กลับฮ่องกงแล้ว
▪️ คนที่ป่วย 11 คน “เป็นคนไทย” ชาย 5 คน หญิง 6 คน ช่วงอายุ 25 – 38 ปี
▪️ ในจำนวนนี้มี 4 คนที่ไม่ป่วยเเละไม่ติดเชื้อ ทั้งหมดให้ประวัติว่า ไม่ได้ดื่มเหล้าเเละสูบบุหรี่ร่วมกับกลุ่มเพื่อน
▪️ เจ้าหน้าที่ได้ติดตามครอบครัวและเพื่อนที่ไม่ได้ร่วมกลุ่มสังสรรค์เบื้องต้น 70 คน ตรวจแล้วว่า “ไม่พบเชื้อและไม่มีอาการทางเดินหายใจ (แต่ยังเฝ้าระวังต่อควบ 14 วัน)”

📌 เจ้าหน้าที่จึงเข้าไปตรวจสอบหา “สาเหตุที่ทำให้ติดต่อกลุ่มนี้” คือ

  • สังสรรค์ใกล้ชิด
  • ดื่มเหล้าแก้วเดียวกัน สูบบุหรี่มวนเดียวกัน
  • อยู่ด้วยกันเป็นเวลานานๆในพื้นที่แคบๆ
  • ไม่พักผ่อนให้เพียงพอ

ส่วนคนในกลุ่มนี้ที่ยังไม่ป่วย พบว่า “ไม่ดื่มเหล้าแก้ว ไม่สูบบุหรี่มวนเดียวกัน”

📌 เจ้าหน้าที่ได้ติดตามหาผู้สัมผัส “ครอบครัวและเพื่อนกลุ่มนี้ ร่วมถึงกิจกรรมต่างๆที่ได้เข้าร่วม” (ก็ไม่พบผู้ที่เกี่ยวข้องว่าติดโรคนี้อีก)

📌 สรุปว่า! ผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นบทเรียนสำคัญของพวกเราทำให้เรายกระดับการตรวจโรคทางเดินหายใจเป็นกลุ่มก้อนเพิ่มขึ้นแล้ว เมื่อป่วยแล้วไม่กักตัวก็มีผลต่อเพื่อนใกล้ชิดและครอบครัวที่เสี่ยงในการติดได้

“กลุ่มนี้เป็นโรงพยาบาลเอกชนพบแล้วมีการรายงานต่อกรมควบคุมโรค”

📌 สาเหตุ! เกิดจากการเพิ่มเกณฑ์ตรวจสอบและเฝ้าระวังวงกว้างมากขึ้น

  • จากที่ตรวจจากผู้เดินทางจากต่างประเทศ
  • ผู้สัมผัสใกล้ชิด
  • ตอนนี้ตรวจเพิ่มกลุ่มที่เป็นปอดบวม (ที่ไม่รู้สาเหตุ)
  • กลุ่มผู้ติดโรคทางเดินหายใจ

📌 เรื่องย้ำๆ

  • ย้ำทุกกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศนอกเหนือจาก 4 ประเทศกลุ่มเสี่ยงและอีก 10 ประเทศก็ต้องกักตัวด้วย
    “หลีกเลี่ยงชุมชน กินร้อนช้อนกลาง ล้างบ่อย ใส่หน้ากากอนามัย”
  • ถึงแม้ว่ามีการติดต่อครั้งนี้เป็นกลุ่มก้อน
    ย้ำว่า “ประเทศไทยยังอยู่ในระยะที่ 2” และ “ไม่ใช่ซูเปอร์สเปรดเดอร์”
    เนื่องจากเป็นกลุ่มเดียวกันใช้ของร่วมกัน ใกล้ชิดกัน
  • ย้ำว่ายัง “อยู่ในระยะ 2” ไม่ได้แพร่ออกไปเป็นวงกว้าง

🤝 การที่เราสามารถป้องกันกลุ่มนี้ได้ เพราะ “ความร่วมมือของพวกเราทุกคน” ถ้ามีคนกลับมาจากต่างประเทศ

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมร่วมกัน
  • หลีกเลี่ยงพื้นที่แคบๆ
  • อยู่ใกล้ชิดกันเกิน 6 ชั่วโมง
  • ระยะห่างนั่งติดกันเกิน 1 เมตร
  • ใช้ของร่วมกัน
  • บริโภคของร่วมกัน

“ขอบคุณทุกๆคน ขอบคุณสื่อมวลชนที่ช่วยกระตุ้นการตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตระหนก”

  • เพิ่มผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่ม 1 ราย คือ คุณย่า อายุ 62 ปี ที่กลับมาจากประเทศญี่ปุ่น เมืองฮอกไกโด ส่วนคุณปู่และหลาน อาการดีขึ้นแต่ยังตรวจพบเชื้ออยู่และยังคงดูแลรักษาที่โรงพยาบาล
  • รวมผู้ป่วยหายกลับบ้าน 35 ราย
  • รวมรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 34 ราย
  • รวมผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย
  • รวมผู้ป่วยสะสม 70 ราย
  • ประเทศไทยอยู่ที่ 37 ของโลก

📌 เรื่องขวัญและกำลังใจของบุคลากร

  • มีค่าเสี่ยงภัย
  • มีประกันภัย สนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
  • เครื่องมือช่วยเหลือ ป้องกัน ต่างๆ

📌 เรื่องชุดทดสอบวินิจฉัยใน 1 ชั่วโมง

  • ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สัปดาห์หน้าน่าจะสำเร็จ และจะอัปเดตผลทดสอบเพิ่มเติมให้ทราบ

📌 เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรงพยาบาลเอกชนและคลินิก

  • สงสัยว่าป่วย หรือ ป่วยโรคโควิด-19 ไม่ปล่อยให้คนไข้เดินทางไปเองต้องจัดระบบส่งต่อที่ปลอดภัย

📌 โครงการ อสม. เคาะประตูบ้าน

  • อสม. ประมาณหนึ่งล้านห้าหมื่นคน
  • แนะนำให้ความรู้และวิธีปฏิบัติตนชาวบ้าน
  • คัดกรองกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่เสี่ยง
  • ตรวจเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงตามบ้านที่พักทุกวัน
  • พบมีไข้ไม่สบายจะผสานตัวส่งต่อโรงพยาบาล

📌 เรื่องมาตรการ

  • ยกเลิกวีซ่า VOA 18 ประเทศ (เป็นคำแนะนำของกระทรวงการต่างปประเทศ)
    โดยใช้ข้อมูลทางการแพทย์และการแพร่ระบาด