วิศวฯ และ แพทย์ จุฬาฯ ผนึก AIS นํา 5G เสริมขีดสามารถหุ่นยนต์อัจฉริยะ เฝ้าระวังเชื้อไวรัส โควิด-19 ครั้งแรกของเมืองไทย

จากสถานการณ์ เชื้อไวรัสโควิด-19 บุคลากรทางการแพทย์เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ถูกเฝ้าระวังและผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมสถานการณ์ในประเทศไทย ตลอด 24 ชั่วโมง คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรวมถึง AIS เล็งเห็นถึงความสําคัญของพวกเขาเหล่านั้น จึงร่วมพัฒนาเพื่อนําเทคโนโลยี 5G และ 4G มาช่วยเสริมขีดความสามารถการทํางานของหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ ซึ่งคิดค้นและพัฒนาจาก ฝีมือคนไทย…

Home / NEWS / วิศวฯ และ แพทย์ จุฬาฯ ผนึก AIS นํา 5G เสริมขีดสามารถหุ่นยนต์อัจฉริยะ เฝ้าระวังเชื้อไวรัส โควิด-19 ครั้งแรกของเมืองไทย

จากสถานการณ์ เชื้อไวรัสโควิด-19 บุคลากรทางการแพทย์เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ถูกเฝ้าระวังและผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมสถานการณ์ในประเทศไทย ตลอด 24 ชั่วโมง คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรวมถึง AIS เล็งเห็นถึงความสําคัญของพวกเขาเหล่านั้น จึงร่วมพัฒนาเพื่อนําเทคโนโลยี 5G และ 4G มาช่วยเสริมขีดความสามารถการทํางานของหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ ซึ่งคิดค้นและพัฒนาจาก ฝีมือคนไทย

โดย ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์ประจําภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวหน้าศูนย์ Regional Center of Robotics Technology / ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ ผู้อํานวยการศูนย์เชี่ยวชาญครบวงจรโรคหลอดเลือดสมอง / ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นํามาใช้ติดตามอาการกลุ่มผู้ถูกเฝ้าระวังและดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นครั้งแรกของประเทศไทย

หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์นี้ เริ่มต้นได้คิดค้นด้วยจุดมุ่งหวังในการสร้างนวัตกรรมเพื่อนํามายกระดับ การให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งแพทย์สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องสัมผัสหรืออยู่ใกล้ผู้ป่วย ด้วยการรักษา และให้คําปรึกษาผ่านทางไกลผ่านระบบ Telemedicine ที่ตัวหุ่นยนต์ เพื่อขยายขีดความสามารถในการดูแล และรักษา เมื่อมีปัญหา เชื้อไวรัสโควิต-19

ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวหน้าศูนย์ Regional Center of Robotics Technology กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโครงการนี้ว่า “ในช่วงเริ่มแรก หุ่นยนต์ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคที่เกี่ยวกับผู้ป่วยสูงอายุ แต่เมื่อสถานการณ์ COVID-19 รุนแรงขึ้น จึงได้รับการติดต่อจากแพทย์ที่ต้องการนำเอาหุ่นยนต์ไปช่วยทำงานแทนบุคลากรทางการแพทย์ ลดความเสี่ยงในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส COVID-19 จึงได้นำหุ่นยนต์มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน หนึ่งในคุณสมบัติเด่นของหุ่นยนต์นี้ แพทย์สามารถควบคุมสั่งการหุ่นยนต์ให้ขยับหัวเคลื่อนที่ได้ (Automatic Face Tracking) ในการติดตามใบหน้าของผู้ป่วย สามารถปรับขนาดภาพใกล้ – ไกล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรค ขณะที่ หุ่นยนต์แบบ Mobile จะมีคุณสมบัติเคลื่อนที่ได้อัตโนมัติ สร้างระบบแผนที่ เพื่อเคลื่อย้ายตัวเองไปยังห้องต่างๆ ภายในโรงพยาบาล ซึ่งถือเป็น Robot Platform ที่ออกแบบมารองรับการใช้งาน 5G มีความเสถียรและตอบโจทย์การใช้งานได้คล่องตัว พร้อมถูกใช้งานตามความต้องการในสถานการณ์ปัจจุบัน”

ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ จะนํามาดัดแปลงเพื่อช่วยเหลือแพทย์และ พยาบาลสําหรับดูแลผู้ติดเชื้อหรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ในเบื้องต้นหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ เริ่มถูกนําไปใช้งานเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว 3 แห่ง โดยได้ทํางานร่วมกับนายแพทย์สมบูรณ์ ทศบวร ผู้อํานวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี และนายแพทย์ เขตต์ ศรีประทักษ์ ผู้อํานวยการสํานักการแพทย์โรงพยาบาลโรคทรวงอก ได้แก่ 

  1. โรงพยาบาลราชวิถี จํานวน 2 ชุดเป็นแบบตั้งโต๊ะ 
  2. โรงพยาบาลทรวงอก จํานวน 1 ชุด เป็นแบบ Mobile Robot 
  3. โรงพยาบาล นพรัตนราชธานี จํานวน 1 ชุด เป็นแบบตั้งโต๊ะ 

นอกจากนี้ ยังอยู่ในระหว่างการสร้างจํานวนมากขึ้นและการ พัฒนาโปรแกรมใหม่โดยเฉพาะ และยังอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมด้านเครือข่ายสัญญาณ 5G ไปยัง สถานพยาบาลในพื้นที่ต่างจังหวัดเพิ่มเติมอีกด้วย

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS กล่าวถึงการนำเทคโนโลยี 5G มาช่วยสนับสนุนเพิ่มขีดความสามารถของหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ว่า “ก่อนหน้านี้ เอไอเอส มีโอกาสทำงานร่วมกับทางวิศวฯ จุฬาฯ ในการหา Use Case ที่จะพัฒนา 5G มาใช้ในวงการแพทย์ เริ่มจากหุ่นยนต์กายภาพ โจทย์คือจากเดิมหุ่นยนต์ไม่สามารถอัพโหลดข้อมูลเองได้ เราจึงเข้ามาช่วยเรื่องระบบสื่อสาร ช่วยส่งต่อข้อมูลจากหุ่นยนต์กายภาพมาเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ทำให้เห็นความเคลื่อนไหว ประวัติการรักษาอยู่ตลอดเวลา จากนั้น อาจารย์มีความสนใจการทำหุ่นยนต์ช่วยดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ที่แพทย์สามารถมองจอเห็นสีหน้าหรือตา เพื่อช่วยวินิจฉัยโรค แต่โจทย์อยู่ที่ความคมชัดของกล้องที่ฝังในหุ่นยนต์ ซึ่งประสิทธิภาพของ 5G จะได้เข้ามาช่วยยกระดับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในขณะนี้ เมื่อเราเปิดสัญญาณใช้งาน 5G ได้แล้ว จึงเป็นเรื่องพอเหมาะในการนำเทคโนโลยี 5G มาเสริมประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์ ซึ่งเราอัพเกรดจากเดิมที่เราสนับสนุน 4G อยู่แล้ว แต่ 5G จะเช้ามาช่วยเสริมเรื่องความคมชัด เรื่อง Bandwidth เมื่อผู้ป่วยกับแพทย์อยู่ไกลกัน สิ่งที่แพทย์ต้องการเห็นคือสีหน้า ดวงตา ซึ่งต้องการความคมชัด ความละเอียดสูงมาก นี่คือสิ่งที่ 5G จะตอบโจทย์”

ด้าน นายแพทย์เขตต์ ศรีประทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์โรงพยาบาลโรคทรวงอก กล่าวถึงการนำหุ่นยนต์มาใช้งานในโงพยาบาลว่า “หากสถานการณ์รุนแรงขึ้น หุ่นยนต์จะยิ่งมีประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์ เมื่อเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในกลุ่มผู้ป่วยเฝ้าระวังหรือติดเชื้อ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากอนามัย, ชุดป้องกันเชื้อโรค ซึ่งอยู่ในภาวะขาดแคลน แต่หากนำหุ่นยนต์เข้ามาทดแทนการทำงาน เช่นในกรณีที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น มีวอร์ดสำหรับคนไข้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงอย่าง COVID-19 แทนที่หมอหรือพยาบาลต้องเข้าไป ก็สามารถส่งหุ่นยนต์นี้เข้าไปแทนในส่วนที่ไม่จำเป็นต้องเข้าไปด้วยตัวเอง เช่น การวัดไข้, วัดความดัน, การส่งยาหรืออาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ หุ่นยนต์ยังมีฟังค์ชั่น ระบบ VDO Conference ด้วยเทคโนโลยี 5G ยิ่งช่วยให้การติดต่อสื่อสารได้อย่างชัดเจนมากขึ้น”

นอกจากนี้ ยังอยู่ในระหว่างการสร้างจํานวนมากขึ้นและการ พัฒนาโปรแกรมใหม่โดยเฉพาะ และยังอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมด้านเครือข่ายสัญญาณ 5G ไปยัง สถานพยาบาลในพื้นที่ต่างจังหวัดเพิ่มเติมอีกด้วย

สําหรับคุณสมบัติเด่นในการใช้งานหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ ในการติดตามอาการกลุ่มผู้ถูกเฝ้า ระวังและดูแลรักษาผู้ป่วยติด เชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่

1. ทําหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างแพทย์ และกลุ่มผู้ถูกเฝ้าระวังหรือผู้ป่วย ได้สื่อสารโต้ตอบผ่านระบบ VDO Conference ด้วยภาพความละเอียดสูง ช่วยให้แพทย์สามารถคัดกรอง ประเมินความเสี่ยง ตลอดจน การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้

2. แพทย์ พยาบาล สามารถควบคุม สั่งการการทํางานของหุ่นยนต์ได้จากระยะไกล เช่น ติดตาม อาการของผู้ถูกเฝ้าระวังผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยไม่ต้องเข้าไปสัมผัสกับผู้ถูกเฝ้าระวังด้วยตนเอง

3. หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์วัดและบันทึกสัญญาณชีพ (Vital sign) เช่น วัดความดัน, วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), วัดชีพจร, วัดอุณหภูมิ และส่งต่อข้อมูลไปยังแพทย์ เพื่อประเมิน ผลได้ทันที (ในส่วนของหุ่นยนต์ชุดแรกยังไม่ได้ติดเครื่องวัดสัญญาณชีพนี้ แต่ในรุ่นถัดไปจะมีการติดตั้งอุปกรณ์ เหล่านี้แล้ว ตามความจําเป็น)

ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นการร่วมทํางานอย่างต่อเนื่องจาก 4G สู่ 5G ที่จะเสริมประสิทธิภาพการ ทํางานได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบการสื่อสารโต้ตอบผ่านกล้อง VDO ความคมชัดสูงที่ช่วยให้การทํางาน มีเสถียรภาพ และการตอบสนองของหุ่นยนต์ที่รวดเร็ว และยังรองรับจํานวนหุ่นยนต์ที่ทํางานพร้อมกันได้มากขึ้นด้วย

นับเป็นครั้งแรกของเมืองไทยในการพัฒนาหุ่นยนต์ เข้ามาช่วยลดอัตราความเสี่ยงในการติดตามเฝ้า ระวังอาการระหว่างผู้ถูกเฝ้าระวังผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กับบุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ พยาบาล รวมถึง ล่ามภาษาจีน เนื่องจากในปัจจุบัน ยังต้องมีการเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ทางการทดสอบเบื้องต้น ทําให้เรามั่นใจได้ว่าเทคโนโลยี 5G จะมีบทบาทสําคัญมากกับวงการแพทย์และการ ให้บริการทางการแพทย์อย่างไม่มีข้อสงสัย