การปนเปื้อนข้าม ไวรัสโคโรนา

“การปนเปื้อนข้าม” เมื่อเชื้อโรคแพร่จากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่

“การปนเปื้อนข้าม” (Cross Contamination) ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในอาหารหรือน้ำดื่ม หากไม่รู้จักวิธีป้องกันที่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย เป็นไข้ หรืออาจจะรุนแรงถึงขั้นป่วยระยะยาวได้เลย สาเหตุเกิดได้จากหลายประการ แต่ก็มีวิธีการป้องกันอยู่นะ การปนเปื้อนข้ามและวิธีป้องกัน การปนเปื้อนข้าม (Cross…

Home / NEWS / “การปนเปื้อนข้าม” เมื่อเชื้อโรคแพร่จากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่

“การปนเปื้อนข้าม” (Cross Contamination) ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในอาหารหรือน้ำดื่ม หากไม่รู้จักวิธีป้องกันที่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย เป็นไข้ หรืออาจจะรุนแรงถึงขั้นป่วยระยะยาวได้เลย สาเหตุเกิดได้จากหลายประการ แต่ก็มีวิธีการป้องกันอยู่นะ

การปนเปื้อนข้ามและวิธีป้องกัน

การปนเปื้อนข้าม (Cross Contamination) หมายถึง การปนเปื้อนของสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งที่เป็นอันตราย ลงไปในอาหาร น้ำ หรือสินค้าสำเร็จรูป คืออะไรก็ตามที่ปนเปื้อนลงไปในอาหารและทำให้อาหารไม่ปลอดภัยเมื่อเรากินเข้าไป

มีการสัมผัสกันระหว่างอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรืออาหารที่ผ่านการแปรรูปแล้วพร้อมทาน หรือพร้อมที่จะนำไปบรรจุ กับอาหารสดหรือวัตถุดิบ (raw material) ซึ่งยังไม่ผ่านกระบวนการถนอมอาหารใดๆ นอกจากวัตถุดิบแล้วเครื่องไม้เครื่องมือในครัวก็เป็นสื่อกลางทำให้เกิดการปนเปื้อนข้ามได้ด้วย

ยกตัวอย่าง เช่น ใช้เขียงหันเนื้อดิบ ทำให้เขียงมีเชื้อโรคอยู่ หากคุณนำอาหารใด ๆ ก็ตามที่สุกแล้วมาหั่นบนเขียงต่อโดยที่ยังไม่ทำความสะอาดเขียงก่อน โอกาสที่จะทำให้อาหารที่สุกแล้วติดเชื้อโรคบนเขียงนั้นมีความเสี่ยงสูงมาก

การปนเปื้อนในทางอาหารมี 3 ประเภท  หลัก ได้แก่

Photo by CDC on Unsplash

1. การปนเปื้อนทางกายภาพ (Physical Contamination) เช่น มีผมหลุดลงไปในบริเวณประกอบอาหาร

2. การปนเปื้อนทางเคมี (Chemical Contamination) เช่น มีสารกำจัดศัตรูพืช ปะปนมากับผักและผลไม้, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, สารเคมีที่ใช้ในครัวเรือน

3. การปนเปื้อนทางชีวภาพ (Biological Contamination) เช่น แบคทีเรีย, ยีสต์, รา อย่างการมีเชื้อราปะปนอยู่ในถั่วลิสง, รวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรีย สปอร์ของรา จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคทำให้อาหารเป็นพิษ โรคท้องเสีย และท้องร่วง หรืออาจจะรุนแรงถึงขั้นป่วยระยะยาวได้เลย

ทานปิ้งย่างมีโอกาสที่จะมีการปนเปื้อนข้ามวัตถุดิบ

Photo by Victoria Shes on Unsplash

การทานปิ้งย่างก็มีโอกาสที่จะมีการปนเปื้อนข้ามวัตถุดิบระหว่างเตรียมอาหาร หรือปนเปื้อนข้ามระหว่างอาหารที่ปรุงแล้วกับวัตถุดิบ เนื่องจากการนำอาหารสุกและดิบวางบนกระทะเดียวกัน เป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายจากการปนเปื้อนข้ามได้

สื่อที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนข้าม ได้แก่ บุคคลที่ปรุงประกอบอาหาร, เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรรูปอาหาร, อุปกรณ์ครัว, น้ำ, อากาศ, บรรจุภัณฑ์, สัตว์ รวมทั้งสัตว์รบกวน เช่น หนู แมลง เป็นต้น

ข้อแนะนำในการการป้องกันการปนเปื้อนข้ามในอาหาร

Photo by Louis Hansel @shotsoflouis on Unsplash

1. เก็บอาหารดิบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื้อ เป็ด ไก่ และปลา ให้ไกล หรือคนละส่วน จากอาหารพร้อมรับประทานในห้องเย็นหรือตู้เย็น
2. ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือแยกกัน สำหรับอาหารดิบและอาหารพร้อมรับประทาน หรือล้าง และฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์และเครื่องใช้ต่างๆ ให้สะอาด หมดจด ระหว่างการจับต้องอาหารดิบและอาหารพร้อมรับประทาน
3. ขณะปรุงประกอบอาหาร ให้แยกเตรียมวัตถุดิบประเภทเนื้อ และประเภทผัก และไม่ใช้อุปกรณ์ในการเตรียมร่วมกัน เช่น มีด เขียง
4. เก็บอาหารไว้ในภาชนะสำหรับเก็บอาหารและปิดฝาถ้าจำเป็น เพื่อปกป้องอาหารจากการปนเปื้อน
5. เก็บอาหาร ภาชนะ และพัสดุที่นำมาใช้เก็บอาหารไว้เหนือพื้นไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร
6. เก็บสารเคมีและอุปกรณ์ให้ห่างจากอาหาร พัสดุภัณฑ์อาหารและบริเวณ ประกอบอาหาร
7. ดูแลรักษาห้องครัว หรือสถานที่ประกอบการ ซึ่งรวมถึงสิ่งติดตั้งและอุปกรณ์ครัวทั้งหมด ให้อยู่ในสภาพสะอาดและไม่เสียหาย
8. ล้างมือให้สะอาดหมดจดอย่างทั่วถึงและเช็ดให้แห้ง ก่อนเตรียมอาหาร และหลังจากการจับต้องอาหารดิบและ หลังจากการใช้ห้องสุขา

ขอบคุณข้อมูลจาก : nih.dmsc, foodhygieneasia, fsic.moph, th.kcprofessional