ประเด็นน่าสนใจ
- การออกประกาศนี้ หวังคุมโรคด้วยการบังคับใช้กฎหมาย
- สำหรับสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในไทย ยังอยู่ในระดับ 2
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกมาเปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ว่า
ที่ประชุมมีมติประกาศให้ไวรัสโคโรนา สายพันธ์ุใหม่ 2019 (COVID -19) เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ของไทย
โดยการมีมติเป็นเอกฉันท์ เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้
ซึ่งการประกาศให้โรคดังกล่าวเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้กฎหมายในการควบคุมโรคระบาดได้ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ หลังจากนี้จะเสนอมติให้ รมว.สาธารณสุข ลงนามก่อนจะประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้เร็วที่สุดต่อไป
ส่วนสถานการณ์โรคในประเทศไทยยังอยู่ในระยะการระบาดระดับ 2 ไม่ใช่ระดับ 3 ตามที่มีกระแสข่าวปรากฏในสื่อ
สำหรับโรคติดต่อร้ายแรงในไทย ที่กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ เรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย ดังนี้
- กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic plague) กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic plague) มีอาการไข้สูง หนาวสั่น เจ็บคอ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบหรือรักแร้โตและมีหนอง หรือม้ามโตและมีหนอง
-กาฬโรคชนิดโลหิตเป็นพิษ (Septicemic plague) มีอาการของโลหิตเป็นพิษ ไข้สูง ปวดศีรษะ อาเจียน คอหอยและทอนซิลอักเสบ อาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบและจ้ำเลือดตามผิวหนัง
-กาฬโรคปอด (Pneumonic plague) มีอาการไข้สูง หนาวสั่น ไอมีเสมหะปนเลือด หอบ เมื่อถ่ายภาพเอกซเรย์ที่ปอดจะพบลักษณะของปอดอักเสบ - ไข้ทรพิษ (Smallpox) มีอาการไข้สูง ปวดตามตัว ปวดศีรษะ ปวดหลัง อ่อนเพลีย อาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ระยะก่อนที่จะมีผื่นขึ้นจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หลังจากไข้สูงแล้วจะปรากฏผื่นขึ้นต่อมาจะกลายเป็นตุ่มตุ่มใสตุ่มหนองและตกสะเก็ดเป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์
โดยผื่นจะปรากฏที่บริเวณใบหน้าแขนและขามากกว่าบริเวณลำตัว โดยเฉพาะบริเวณที่ได้รับการเสียดสีบ่อย ๆ แผลที่ตกสะเก็ดเมื่อหายแล้ว อาจทำให้เกิดแผลเป็นรอยบุ๋มและอาจทำให้เกิดความพิการจนถึงขั้นตาบอดได้ - ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก (Crimean – Congo hemorrhagic fever)อาการจะเริ่มอย่างเฉียบพลัน โดยมีไข้ปวดกล้ามเนื้อ มึนงง ปวดคอร่วมกับคอแข็ง ปวดหลัง ปวดศีรษะ เจ็บตาใบ หน้าแดงและกลัวแสง
บางรายอาจพบอาการคลื่นไส้อาเจียนและเจ็บคอในระยะแรก ซึ่งมักพบร่วมกับท้องร่วงและปวดท้อง ต่อมาจะมีอารมณ์แปรปรวน สับสนและก้าวร้าว จากนั้นอาจมีอาการง่วงซึมเศร้า หัวใจเต้นเร็ว ต่อมน้ำเหลืองโต มีเลือดออกใต้ผิวหนังและเยื่อบุต่าง ๆ เช่น
ปากเพดาน ปากลำคอ และพบเลือดออกจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหาร มีเลือดปนในปัสสาวะ มีเลือดกำเดา และเลือดออกจากเหงือก ในบางรายอาจพบอาการของตับอักเสบ - ไข้เวสต์ไนล์ (West Nile Fever) มีอาการไข้ปวดศีรษะ หนาวสั่น มีเหงื่อออก มีผื่นที่ผิวหนัง อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ซึมปวดข้อ และมีอาการคล้ายไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการทางสมองร่วมด้วย เช่น สมองหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีไข้สูง คอแข็ง ซึม ชักและหมดสติ
- ไข้เหลือง (Yellow fever) มีอาการไข้สูงเฉียบพลันเป็นระยะเวลา 5-7 วัน ปวดศีรษะ ปวดหลัง อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน อาจมีเลือดกำเดาเลือดออกในปากและถ่ายเป็นเลือด จะมีอาการตัวเหลืองหรือตาเหลืองในระยะแรก อาจมีอาการมากขึ้นในระยะต่อมา และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
- โรคไข้ลาสซา (Lassa fever) มีไข้ปวดศีรษะ เจ็บคอ ไออาเจียน ท้องร่วง เจ็บหน้าอกและปวดบริเวณช่องท้อง อาการไข้จะยังคงมีอยู่ตลอดหรืออาจไข้สูงเป็นระยะ มีอาการตาอักเสบ คออักเสบ และเป็นหนอง
บางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการเลือดออกช็อก มีอาการบวมที่หน้า และคอจะมีปริมาณเกล็ดเลือดลดลงและการทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ บางรายอาจมีอาการหูหนวกจากพยาธิสภาพที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 - โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ (Nipah virus disease) มีอาการคล้ายเป็นหวัด มีไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ สมองอักเสบ บางรายอาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย หรืออาจมีอาการไข้ร่วมกับอาการทางระบบประสาท
เช่น วิงเวียนศีรษะ เดินโซเซซึมสับสนหรือชัก มีการเคลื่อนไหวของลูกตาผิดปกติ แขนและขามีการกระตุก ความดันโลหิตและชีพจรแปรปรวน และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ - โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก (Marburg virus disease) มีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะมาก ตามมาด้วยอาการเจ็บคอ อาเจียน ท้องเสียและมีผื่นนูนแดงตามตัว มีอาการเลือดออกง่ายซึ่งมักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทำลาย ไตวาย มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลางช็อก อวัยวะหลายระบบเสื่อมหน้าที่และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
- โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola virus disease – EVD) มีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและเจ็บคอ ตามมาด้วยการอาเจียน ท้องเสียและมีผื่นขึ้น บางรายจะมีเลือดออกทั้งในอวัยวะภายในและภายนอก
ในรายที่มีอาการรุนแรงจะพบว่ามีตับวายหรือไตวาย และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่มักมีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วย หรือตายด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola virus disease – EVD) - โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา (Handra virus disease) มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ วิงเวียนซึมและสับสน หรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ในระยะแรกมักจะพบอาการปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลวและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
- โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome – SARS) มีอาการไข้ไอหอบ บางรายมีอาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสียอาเจียน ในรายที่มีอาการรุนแรงมักมีอาการแสดงของโรคปอดอักเสบ ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว อวัยวะล้มเหลว โดยเฉพาะไตวาย และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
- โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome – MERS) มีอาการไข้ไอหอบ บางรายมีอาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาเจียน ในรายที่มีอาการรุนแรงมักมีอาการแสดงของโรคปอดอักเสบ ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว อวัยวะล้มเหลว โดยเฉพาะไตวาย และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
- วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (Extensively drug – resistant tuberculosis (XDR – TB)) เป็นวัณโรคที่มีการดื้อยา 4 ขนานร่วมกัน ได้แก่ ไอโซไนอะซิด (Isoniazid) ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) กลุ่มยาฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolones)
และกลุ่มยาทางเลือกที่สองที่เป็นยาชนิดฉีด (Second – line injectable drugs) มีอาการไอเรื้อรังหรือไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย มีไข้ เจ็บหน้าอกหอบเหนื่อย สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการระบบการหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ - COVID -19 หรือดรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019