ขอทานออนไลน์

เปิดกลโกงขอทานออนไลน์ หยิบฉวยความมีน้ำใจของคนไทย

กลายเป็นเรื่องร้อนแรงในโลกโซเชียล สำหรับกรณีของหนุ่มป่วยโรคไต ที่โพสต์เฟซบุ๊กขอรับเงินบริจาคไปรักษาตัว จนมีผู้ใจบุญบริจาคเงินประมาณ 800,000 บาท แต่กลับเอาเงินไปใช้ซื้อของใช้ส่วนตัว ซึ่งบางคนมองว่า อาจเข้าข่ายฉ้อโกง โดยเรื่องราวแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก หลายคนเรียกคนกลุ่มนี้ว่า เป็นขอทานออนไลน์ จากกรณี นายศรายุทธ พ่วงสอาด…

Home / NEWS / เปิดกลโกงขอทานออนไลน์ หยิบฉวยความมีน้ำใจของคนไทย

กลายเป็นเรื่องร้อนแรงในโลกโซเชียล สำหรับกรณีของหนุ่มป่วยโรคไต ที่โพสต์เฟซบุ๊กขอรับเงินบริจาคไปรักษาตัว จนมีผู้ใจบุญบริจาคเงินประมาณ 800,000 บาท แต่กลับเอาเงินไปใช้ซื้อของใช้ส่วนตัว ซึ่งบางคนมองว่า อาจเข้าข่ายฉ้อโกง โดยเรื่องราวแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก หลายคนเรียกคนกลุ่มนี้ว่า เป็นขอทานออนไลน์

จากกรณี นายศรายุทธ พ่วงสอาด หรือ นายเพียว อดีตอาสากู้ภัย จังหวัดตราด ป่วยโรคไต ไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับไปฟอกไตที่โรงพยาบาล อีกทั้งยังมีอาการเหนื่อยหอบง่าย จนไม่สามารถออกไปทำงานหาเงินเลี้ยงดูแม่และครอบครัวได้ตามปกติ ทั้งนี้ ด้วยน้ำใจและความสงสารของคนไทยด้วยกัน เงินบริจาคหลั่งไหลมาไม่ขาดสาย พุ่งสูงถึง 800,000 บาท จากนั้นไม่นานกลับพบว่า เขานำเงินบริจาคราว 300,000 บาท ไปซื้อรถยนต์ ใช้หนี้แม่ยาย และซื้อโทรศัพท์มือถือให้แฟนสาว

อย่าไรก็ตาม กรณีนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นในสังคมออนไลน์ ก่อนหน้านี้ก็เคยมีกรณีของหนุ่มคนหนึ่ง โพสต์ขอความช่วยเหลือ เร่ไรขอเงินบริจาคในกลุ่มเฟซบุ๊กต่างๆ อ้างตกงาน กดเงินออกจากบัญชีไม่ได้ แถมไม่มีเงินกินข้าว แต่กลับปรากฎภาพขณะชายคนนี้นั่งกินหมูกระทะอย่างสบายใจ หรือแม้กระทั่งขอทานสาวหน้าตาดีที่เคยโพสต์ ขอเงินคนละ 1 บาท จากผู้ติดตามในเฟซบุ๊กกว่า 30,000 บาท อ้างอยากให้ช่วยค่าผ่อนรถหรู

พฤติกรรมของขอทานในโลกโซเชียล มักหยิบฉวยความมีน้ำใจของคนไทย ใช้ความขี้สงสารมาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ต่างๆ ทั้งหมดนี้กลายเป็นพฤติกรรมเลียนแบบของกลุ่มมิจฉาชีพ ซึ่งอาจทำให้ความช่วยเหลือจากคนที่ตั้งใจ ส่งไปไม่ถึงกลุ่มคนเดือดร้อนที่แท้จริง