แม่กลางหลวง ต้นแบบปลอดการเผา สู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

สื่อมวลชนลงพื้นที่ เยี่ยมชมหมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผา บ้านแม่กลางหลวง แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พาสื่อมวลชนลงพื้นที่ เยี่ยมชมหมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผาบ้านแม่กลางหลวง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อดูความสำเร็จของการเป็นหมู่บ้านที่สามารถลดปัญหาหมอกควันไฟป่า และนำมาสู่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สร้างรายได้ให้ชุมชน ชุมชนบ้านแม่กลางหลวง  มีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบแล้ง ดิบเขาและป่าสนเขา…

Home / NEWS / แม่กลางหลวง ต้นแบบปลอดการเผา สู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
สื่อมวลชนลงพื้นที่ เยี่ยมชมหมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผา บ้านแม่กลางหลวง แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พาสื่อมวลชนลงพื้นที่ เยี่ยมชมหมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผาบ้านแม่กลางหลวง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อดูความสำเร็จของการเป็นหมู่บ้านที่สามารถลดปัญหาหมอกควันไฟป่า และนำมาสู่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สร้างรายได้ให้ชุมชน

ชุมชนบ้านแม่กลางหลวง  มีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบแล้ง ดิบเขาและป่าสนเขา ซึ่งในอดีตแทบทุกปีมักจะเกิดไฟป่าและปัญหาหมอกควันบ่อยครั้ง จึงทำให้ชุมชนตัดสินใจเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการไฟป่ากับภาครัฐอย่างชัดเจนในปี 2535 โดยชุมชนบ้านแม่กลางหลวง เป็นศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผาได้อย่างเป็นรูปธรรม

เนื่องจากชาวบ้านมีการพัฒนารูปแบบการจัดการไฟป่าและตั้งกติกาปฏิบัติร่วมกันได้อย่างชัดเจน มีกฎกติกา 6 ข้อ เช่น ปรับวันละ 200 บาท หากสมาชิกไม่ไปเข้าร่วมกิจกรรม หรือ หากมีการเผาพื้นที่เกษตรโดยไม่ทำแนวกันไฟและเกิดไฟลามออกนอกพื้นที่ ปรับไร่ละ 3,000 บาท และการสร้างฝายเพิ่มความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่า

นอกจากการกำหนดกฎระเบียบแล้ว ชุมชนแม่กลางหลวง ได้ใช้ความเชื่อด้านวัฒนธรรมมาเป็นมาตรการในการควบคุม โดยการทำพิธีสาปแช่งผู้ลักลอบจุดไฟเผาป่า พิธีบวชป่า ซึ่งมาตรการนี้ ถือเป็นกิจกรรมที่ทำให้ชาวบ้านเกรงกลัวมากที่สุด    จากความสำเร็จในการบริหารจัดการพื้นที่ป่า ประกอบกับความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรในชุมชน จึงทำให้ชุมชนแห่งนี้พัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่มีนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างชาติ เดินศึกษาเส้นทางธรรมชาติ ชมความสวยงามของน้ำตกผาดอกเสี้ยว (น้ำตกรักจัง)  ชมไร่กาแฟและไร่สตรอเบอรี่ ถ่ายรูปกับนาขั้นบันได และสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ชาวบ้านแม่กลางหลวงมีอาชีพเสริมจากการทำเกษตรกร มารับหน้าที่เป็นไกด์ท้องถิ่น บางรายก็เปิดร้านอาหาร ทำที่พักโฮมสเตย์ ทำให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านแม่กลางหลวงดีขึ้นถึงร้อยละ 80

ชุมชนบ้านแม่กลางหลวง ไม่เพียงแต่เป็นต้นแบบด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรเท่านั้น แต่ชุมชนแห่งนี้ถือเป็นต้นแบบการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่าได้อย่างสมบูรณ์  เพราะพวกเค้าเชื่อว่า ทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้พวกเค้ามีรายได้ แล้วเราจะทำลายมันทำไม

Created by ชุตินาฏ พงษ์ทองวัฒนา MONO29