นักทรัพยากรธรณี เผยปรากฏการณ์โคลนพุ ที่ผุดกลางทุ่งนาบ้าน ต.โคกกระเบื้อง อ.บ้านเหลื่อม จ.นครราชสีมา เตือนอย่านำไปดื่ม เพราะพบว่ามีค่าความเป็นด่างสูง
จากปรากฏการ “โคลนพุ” หรือ “โคลนผุด” กลางทุ่งนาในจังหวัดนครราชสีมา ที่เป็นลักษณะของโคลนไหลออกมาจากรู หรือรอยแยกบนผิวดิน กว่า 20 จุดกลางทุ่งนาบ้านหนองกุงน้อย ต.โคกกระเบื้อง อ.บ้านเหลื่อม จ.นครราชสีมา สร้างความแปลกใจให้กับชาวบ้านที่พบเห็น จนนำไปสู่การนำน้ำดังกล่าวไปดื่มกลิ่น
ล่าสุด นายประดิษฐ์ นูเล นักธรณีวิทยาชำนาญการ สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 2 กรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยหลังลงพื้นที่สำรวจและนำน้ำตัวอย่างมาตรวจวิเคราะห์ว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวเรียกว่า “โคลนพุ” เกิดจากปัจจัย 3 ส่วน คือ เกิดจากน้ำบาดาล หรือน้ำใต้ดินมีแรงดันหลังทำปฏิกิริยากับแร่ดิน ที่ส่วนใหญ่เป็นดินชนิดมอนต์มอริลโลไนต์ ที่มีทั้งโซเดียมมอนต์มอริลโลไนต์ แคลเซียมมอนต์มอริลโลไนต์ และแคลไซต์มอนต์มอริลโลไนต์ ที่มีคุณสมบัติที่เพื่อถูกน้ำจะพองตัว ประกอบกับเจอรอยแตกแยกของพื้นดินจึงผุดขึ้นมา ซึ่งในภาคอีสานพบเจอหลายแห่ง สังเกตได้จากชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ที่มักมีคำว่า “น้ำผุด”ต่อท้าย
สำหรับผลกรระทบที่นำน้ำที่ผุดขึ้นมาไปใช้นักธรณีวิทยา บอกว่า ขอแยกเป็น 2 กรณี คือ หากนำไปดื่มกินไม่ขอแนะนำและไม่สมควรเพราะจากการวิเคราะห์ค่ากรดด่างขอน้ำดังกล่าวพบว่ามีค่าด่างค่อนข้างสูง ถึง 9.7 จะสังเกตเห็นว่าพืชยังไม่เจริญเติบโตส่วนใครที่นำไปทาตัวแล้วบอกว่ารักษาอาการเจ็บป่วยได้ก็ถือเป็นความเชื่อ แต่ผลวิเคราะห์ในเบื้องต้นว่าในเนื้อดินมีสารพิษหรือไม่ ผลยังไม่ออก แต่จากการวิเคราะห์เบื้องต้นที่มีสารมอนต์มอริลโลไนต์ที่เมื่อถูกน้ำจะพองแห้งจะตึง จึงเชื่อกันว่าจะทำให้ผิวหนังเต่งตึง แต่ก็ขอย้ำว่าไม่แนะนำให้ทาตัวเพราะความที่น้ำโคลนนี้มีความเป็นด่างค่อนข้างสูงเทียบเท่าผงซักฟอก อาจทำให้บางคนแพ้ได้