นางนพมาศ ประวัตินางนพมาศ วันลอยกระทง

นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หญิงงามในวันลอยกระทง

ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตรงกับประเพณี ลอยกระทง ของทุกปี นอกจากการบูชาขอขมาพระแม่คงคาด้วยการลอยกระทงแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับวันลอยกระทงก็คือ นางนพมาศ ซึ่งเป็นตัวแทนของหญิงสาวที่มีความงดงาม ปัจจุบันได้มีการประกวดหญิงงามในวันลอยกระทง หรือที่เราเรียกติดปากว่า "การประกวดนางนพมาศ"

Home / NEWS / นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หญิงงามในวันลอยกระทง

ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตรงกับประเพณี ลอยกระทง ของทุกปี นอกจากการบูชาขอขมาพระแม่คงคาด้วยการลอยกระทงแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับวันลอยกระทงก็คือ นางนพมาศ ซึ่งเป็นตัวแทนของหญิงสาวที่มีความงดงาม ปัจจุบันได้มีการประกวดหญิงงามในวันลอยกระทง หรือที่เราเรียกติดปากว่า “การประกวดนางนพมาศ” โดยแต่ละพื้นที่ หมู่บ้าน อำเภอ ไปจนถึงจังหวัดก็จะมีการจัดงานประกวดหญิงงาม(นางนพมาศ) เพื่อเป็นสีสันและเสน่ห์ของวันลอยกระทง

แต่คุณรู้หรือไม่ว่าความจริงแล้วนางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เว็บไซต์ MThai.com จะพาทุกคนไปรู้จักหญิงงามในวันลอยกระทงด้วยกันค่ะ

ประวัตินางนพมาศ

นางนพมาศ เป็นธิดาของ พระศรีมโหสถ กับนางเรวดี เกิดในรัชกาลพญาเลอไท กษัตริย์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง มีรูปลักษณ์และคุณสมบัติที่งดงาม ได้รับการอบรมจากบิดามาร อีกทั้งยังมีความรู้ทางอักษร พระพุทธศาสนา การช่างของสตรี รวมไปถึงการขับร้องเสียงดนตรี ด้วยความที่นางนพมาศ เพียบพร้อมทุกด้าน ทำให้นางได้เข้ารับราชการในสมัยพระยาลิไท หลังจากเข้ารับราชการ นางนพมาศก็ได้ขึ้นมาเป็นสนมเอก และเปลี่ยนชื่อเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์

ในพงศาวดารบันทึกไว้ว่า นางนพมาศเป็นสตรีเพียบพร้อมทุกเรื่อง อีกทั้งยังทำคุณงามความดี เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงอยู่เสมอ แต่มีเหตุการณ์สำคัญๆ อยู่ 3 เหตุการณ์ ได้แก่

  • ภายหลังที่นางนพมาศได้เข้าวังได้เพียง 5 วันเท่านั้น ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป นางได้คิดประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบาน มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน นำไปถวายพระร่วงเจ้า เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงเจ้ามาก
  • ในเดือนห้า มีพิธีคเชนทรัศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน
  • นางนพมาศได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่า แต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้

ทั้งนี้นางนพมาศ ยังได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “กวีหญิงคนแรกของไทย” ดังพงศาวดารเขียนไว้ว่า

“ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่งกาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฏชื่อเสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน”

ด้วยเหตุนี้เองเราจึงจะเห็นได้ว่า นางนพมาศที่จะเป็นหญิงสาวที่มีความงดงาม ทั้งกาย วาจา และใจ ซึ่งคือตัวแทนของกุลสตรี แต่ถึงแม้ปัจจุบันจะมีการจัดการประกวดนางนพมาศในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างความสนุกสนานให้กับผู้คนทั่วไป เช่น นางนพมาศเด็ก นางนพมาศผู้สูงอายุ นั่นเอง