สินค้าปลอม สินค้าไม่ได้คุณภาพ

ปคบ. ร่วม อย. จับ 2 ผัวเมียชาวจีน ลอบขายสินค้าปลอมทางออนไลน์

ปคบ. ร่วม อย. จับ 2 ผัวเมียชาวจีน ลอบขายสินค้าปลอมทางออนไลน์ 142 รายการ มูลค่า 30 ล้านบาท ย่านคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

Home / NEWS / ปคบ. ร่วม อย. จับ 2 ผัวเมียชาวจีน ลอบขายสินค้าปลอมทางออนไลน์

ประเด็นน่าสนใจ

  • ปคบ. ร่วม อย. จับ 2 ผัวเมียชาวจีน ลอบขายสินค้าปลอมทางออนไลน์ 142 รายการ
  • อาทิ ยาทาแก้ปวดแบบครีม , แผ่นแปะแก้ปวดยี่ห้อดัง , เครื่องวัดอุณหภูมิ , เครื่องวัดความดัน ตลอดจนยาสีฟัน สบู่เหลว เซรั่ม
  • ขบวนการดังกล่าวเริ่มทำมาตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2564 โดย

วันนี้ (15 ก.พ.65) ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ อย. นำกำลังเข้าตรวจค้นโกดังย่านคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พร้อมจับกุมผู้ต้องหาชาวจีน 2 คน หลังสืบทราบว่ามีพฤติการณ์นำเข้าผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอางค์ เครื่องมือแพทย์ และสมุนไพรที่ผลิตจากประเทศจีน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปลอม และด้อยคุณภาพ

โดยสามารถตรวจยึดของกลางได้กว่า 142 รายการ เช่น ยาทาแก้ปวดแบบครีม , แผ่นแปะแก้ปวดยี่ห้อดัง , เครื่องวัดอุณหภูมิ , เครื่องวัดความดัน ตลอดจนยาสีฟัน สบู่เหลว เซรั่ม และแชมพูปลอมจากจีน รวมมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท

พ.ต.อ.เนติ วงศ์กุหลาบ ผู้กำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เผยว่า จากการสืบสวนทราบว่า ผู้ต้องหาชาวจีนทั้ง 2 คน เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ให้กับพ่อค้าแม่ค้าคนจีน 11 คน ที่อยู่ในประเทศจีน และจะมีการนำสินค้าจากจีนเข้ามาขายในประเทศไทย

ซุกซ่อนในโกดังย่านคลองหลวง 2 แห่ง เพื่อรอกระจายสินค้าให้กับลูกค้าที่ซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ หลากหลายเว็บไซต์ เจ้าหน้าที่ยังพบคอมพิวเตอร์ 6 เครื่อง และ โทรศัพท์มือถือกว่า 60 เครื่อง ซึ่งผู้ต้องหาอ้างว่าใช้ในการตอบรับพูดคุยกับลูกค้าในแต่ละเว็บไซต์ที่นำสินค้าไปขาย

ซึ่งขบวนการดังกล่าวเริ่มทำมาตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2564 โดยจะนำสินค้าใส่ตู้คอนเทรนเนอร์จากประเทศจีนผ่านด่านเข้ามายังประเทศไทย หลังจากนี้จะทำการขยายผลเชื่อว่ายังมีคนจีนร่วมขบวนการอยู่อีกหลายราย เพราะถือว่าการจับกุมในครั้งนี้เป็นรายใหญ่ เนื่องจากมีการศึกษาพฤติกรรมของคนไทยว่านิยมชมชอบใช้สินค้าประเภทใด ในช่วงสถานการณ์โควิดระบาด ถึงจะนำสินค้าจำพวกผลิตภัณทางการแพทย์ เสริมสวยงาม

ภก.วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ตรวจยึดได้ทั้งหมด เชื่อว่าเป็นสินค้าปลอมที่ผลิตในประเทศจีน และนำมาจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งจะมีคุณสมบัติทางตัวที่แตกต่างกันชัดเจน ส่วนเรื่องกล่องบรรจุภัณฑ์จะมีความต่างกันเล็กน้อย

ส่วนเรื่องสารเคมีจะต้องนำไปตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์อีกครั้ง ว่าทำมาจากสารเคมีประเภทไหน รวมถึงการซื้อยาทางออนไลน์ถือว่าเป็นความผิด อยากฝากประชาสัมพันธ์ถึงผู้บริโภคควรซื้อตามคลีนิคที่ได้รับใบอนุญาต หรือ โรงพยาบาล การซื้อของที่มีราคาถูกให้นึกไว้เสมอว่า อาจซื้อของปลอมที่ไม่ได้คุณภาพ

ภาพ : ธนโชติ ธนวิกรานต์