สตรีทฟู้ดไทย

กระทรวงสาธารณสุข มุ่งยกระดับ “สตรีทฟู้ดไทย”

กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) มีนโยบายยกระดับมาตรฐานอาหารริมบาทวิถีให้ได้มาตรฐาน ทั้งในด้านสุขอนามัย และด้านความปลอดภัยของอาหาร โดยเฉพาะอาหารริมบาทวิถี(ฟุตบาท) ร้านค้า แผงลอย ที่สำคัญอาหารริมบาทวิถีตาม แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย เป็นที่ชื่นชอบ ตื่นตาตื่นใจกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งแต่ละพื้นที่มีวัฒนธรรมของอาหารที่แตกต่างกัน สธ. ตั้งเป้ายกระดับมาตรฐานอาหารริมบาทวิถีต้นแบบ 30…

Home / NEWS / กระทรวงสาธารณสุข มุ่งยกระดับ “สตรีทฟู้ดไทย”

ประเด็นน่าสนใจ

  • กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายยกระดับมาตรฐานอาหารริมฟุตบาท อาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ
  • ทั้งในด้านสุขอนามัย และด้านความปลอดภัยของอาหาร

กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) มีนโยบายยกระดับมาตรฐานอาหารริมบาทวิถีให้ได้มาตรฐาน ทั้งในด้านสุขอนามัย และด้านความปลอดภัยของอาหาร โดยเฉพาะอาหารริมบาทวิถี(ฟุตบาท) ร้านค้า แผงลอย ที่สำคัญอาหารริมบาทวิถีตาม แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย เป็นที่ชื่นชอบ ตื่นตาตื่นใจกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งแต่ละพื้นที่มีวัฒนธรรมของอาหารที่แตกต่างกัน

สธ. ตั้งเป้ายกระดับมาตรฐานอาหารริมบาทวิถีต้นแบบ 30 แห่งทั่วประเทศ และจะขยายพื้นทีให้ครบทุกจังหวัดในปี 2564 กำหนดให้มีการพัฒนาและขยายพื้นที่ดำเนินการ ดังนี้

1.ให้รักษามาตรฐานต้นแบบอาหารริมบาทวิถี โดยใช้ป้ายสัญลักษณ์ “อาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ” (Street Food Thailand) ซึ่งได้พัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารริมบาทวิถี 4 มิติ คือมิติด้านสุขภาพ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม และมิติด้านวัฒนธรรม

2.ให้เพิ่มพื้นที่ในการจำหน่ายอาหารประเภทผัก ผลไม้ที่สะอาดปลอดภัย เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าด้านโภชนาการ ใช้เกลือเสริมไอโอดีนในการปรุงประกอบอาหาร

3.ให้มีการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขาภิบาลอาหาร เช่น การปกปิดอาหาร การสร้างต้นแบบของพื้นที่ดำเนินงานอาหารริมบาทวิถีที่ได้มาตรฐาน

ด้าน แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ปี 2561 ที่ผ่านมา กรมอนามัย ได้ดำเนินโครงการพัฒนาอาหารริมฟุตบาทวิถีปลอดภัยสนับสนุนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยววิถีไทย เพื่อพัฒนาเป็นถนนอาหารริมบาทวิถีต้นแบบ ที่ได้มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารในพื้นที่เป้าหมาย 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ชลบุรี บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ตรัง และสงขลา

มีการกำหนดแนวทางการพัฒนารูปแบบและเกณฑ์มาตรฐานอาหารริมฟุตบาท ทั้ง 12 พื้นที่ จำนวน 3 รูปแบบ คือ

1. พื้นที่เฉพาะ

2. พื้นที่ปิดถนน

และ 3.พื้นที่ไม่ปิดถนน

พิจารณาเกณฑ์มาตรฐานอาหารริมบาทวิถี เพื่อนำไปทดลองใช้ในพื้นที่ ทั้งด้านความปลอดภัยอาหารและมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี และนำไปจัดทำสื่อประชา 18 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 30 จังหวัด

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์