ประเด็นน่าสนใจ
- กรุงเทพมหานคร รณรงค์ร่วมมือให้ลอยกระทงด้วยกัน 1 ครอบครัว 1 กระทง หรือลอยกระทงออนไลน์
- เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
นางศิลปสวย ระวีแสงสรูย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมการเก็บกระทงในเทศกาลลอยกระทง ปี 2562 ว่า กรุงเทพมหานครโดยสำนักสิ่งแวดล้อม ได้จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ประจำจุดคอยเก็บกระทงบนผิวน้ำตั้งแต่บริเวณใต้สะพานพระราม 7
ไปจนถึงบริเวณวัดโยธินประดิษฐ์ เขตบางนา ระยะทางประมาณ 34 กม. โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 โซน ได้แก่ สะพานพระราม7 ถึงสะพานพุทธ, สะพานพุทธถึงสะพานกรุงเทพ, สะพานกรุงเทพถึงสุดเขตบางนา โดยจัดเจ้าหน้าที่ในการจัดเก็บกระทง จำนวน 203 คน
พร้อมใช้เรือในการจัดเก็บกระทงและเรือตรวจการณ์ จำนวน 40 ลำ และใช้รถบรรทุกเก็บขนมูลฝอย จำนวน 14 คัน ในการลำเลียงกระทงไปส่งที่สถานีขนถ่ายมูลฝอย โดยจะใช้จุดลำเลียง 2 จุด ได้แก่ บริเวณปากคลองโอ่งอ่าง สะพานพุทธ เขตพระนคร และท่าคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์ เขตราษฎร์บูรณะ
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครจะเริ่มดำเนินการจัดเก็บกระทงตั้งแต่เวลา 20.00 น. ของวันที่ 11 พ.ย.61 เป็นต้นไป และจะเร่งจัดเก็บให้แล้วเสร็จในทุกพื้นที่ภายในเวลา 06.00 น. วันที่ 12 พ.ย.61 สำหรับกระทงที่จัดเก็บได้จะเข้าสู่กระบวนการแยกประเภท และนับจำนวนเพื่อเก็บสถิติ ก่อนที่กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและกระทงที่ย่อยสลายง่าย จะถูกส่งไปเข้าโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ (หนองแขม) ส่วนกระทงโฟมจะถูกส่งไปฝังกลบเพื่อรอการย่อยสลายต่อไป
ทั้งนี้จากสถิติในปี 2561 กรุงเทพมหานคร จัดเก็บกระทงได้จำนวน 841,327 ใบ กระทงส่วนใหญ่ทำจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายได้ จำนวน 796,444 ใบ คิดเป็น ร้อยละ 94.7 และกระทงที่ทำจากโฟม จำนวน 44,883 ใบ คิดเป็นร้อยละ 5.3 โดยจำนวนกระทงที่จัดเก็บได้ในปี 2561 จำนวน 841,327 ใบ เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ซึ่งจัดเก็บได้ จำนวน 811,945 ใบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.62
กระทงส่วนใหญ่ทำจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายได้ จำนวน 796,444 ใบ คิดเป็น ร้อยละ 94.7 และกระทงที่ทำจากโฟม จำนวน 44,883 ใบ คิดเป็นร้อยละ 5.3 โดยจำนวนกระทงที่จัดเก็บได้ในปี 2561 จำนวน 841,327 ใบ เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ซึ่งจัดเก็บได้ จำนวน 811,945 ใบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.62
โดยพบว่ามีกระทงวัสดุธรรมชาติและ วัสดุที่ย่อยสลายได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 93.6 เป็น 94.7 ส่วนกระทงโฟมลดลงจากร้อยละ 6.4 เป็น 5.3 ในขณะที่การใช้กระทงโฟมมีปริมาณลดลง
เนื่องจากกรุงเทพมหานครได้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ให้ประชาชนหันมาใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น กระทงที่ทำจากหยวกกล้วยและใบตอง แป้งมันสำปะหลัง ชานอ้อย
ซึ่งจะเป็นการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย และได้ขอความร่วมมือเขตแจ้งสถานประกอบการ ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองในพื้นที่ที่มีการลอยกระทงงดใช้กระทงโฟม
รวมทั้งรณรงค์ขอความร่วมมือให้ลอยกระทงด้วยกัน ในรูปแบบ 1 ครอบครัว 1 กระทง, 1 คู่รัก 1 กระทง, 1 กลุ่ม 1 กระทง หรือลอยกระทงออนไลน์