เมาแล้วขับ เหยื่อเมาแล้วขับ

เหยื่อเมาแล้วขับ จี้ยกระดับ มาตรการลดอุบัติเหตุทางถนน

ที่บริเวณด้านหน้า ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล นางสาวเครือมาศ ศรีจันทร์ ผู้ประสานงานเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต นายเจษฎา แย้มสบาย ประธานเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ กทม. และเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุบนท้องถนน กว่า 30 คน เดินทางเข้ายื่นจดหมายเปิดนึกถึง…

Home / NEWS / เหยื่อเมาแล้วขับ จี้ยกระดับ มาตรการลดอุบัติเหตุทางถนน

ประเด็นน่าสนใจ

  • เครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ จี้รัฐยกระดับมาตรการลดอุบัติเหตุทางถนน ให้มีโทษจำคุก 15-20 ปี
  • หวังหยุดสถิติเบอร์หนึ่งอาเซียน เนื่องในเดือนรณรงค์ “วันเหยื่อโลก”

ที่บริเวณด้านหน้า ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล นางสาวเครือมาศ ศรีจันทร์ ผู้ประสานงานเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต นายเจษฎา แย้มสบาย ประธานเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ กทม. และเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุบนท้องถนน กว่า 30 คน

เดินทางเข้ายื่นจดหมายเปิดนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เนื่องในเดือนรณรงค์ “วันเหยื่อโลก” เพื่อขอให้รัฐบาลยกระดับความเข้มข้น ในการป้องกันและแก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนอย่างจริงจัง

ทั้งนี้เครือข่ายฯได้ร่วมทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ นำรองเท้า 60 คู่ มาจัดวาง เพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุมากถึง 60 คนต่อวันในประเทศไทย โดยมี นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้มารับหนังสือดังกล่าว

ทั้งนี้ นายเทวัญ กว่าวว่าก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ รัฐบาลเองให้ความใส่ใจเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งเท่ากับว่าเป็นการสูญเสียบุคลากรของประเทศ สูญเสียทรัพยากร สูญเสียความสามารถในการดำรณรงค์ชีพ สูญเสียแรงงาน สูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสูญเสียทุกอย่าง

โดยเฉพาะจากตัวเลขการเกิดอุบัติเหตุวันนึง 60 กว่าราย ปีนึง 20,000 ราย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการการเกิดอุบัติเหตุ อีก 200,000 ต่อปี ซึ่งประเทศอันดับ 1 ของ อาเซียน อันดับ 9 ของโลก

ต้องถือว่าเป็นตัวเลขที่ดูแล้วน่าเป็นห่วง สำหรับข้อเรียกร้อง ของกลุ่มตนเองก็เห็นด้วย ในเรื่องการบังคับใช้ข้อกฎหมายให้เด็ดขาด อาจจะต้องมีมาตรการเข้มข้น สำหรับผู้ที่ ไม่เคารพกฏจราจร ดังกล่าว

ด้าน​นางสาวเครือมาศ กล่าวว่า ทางสหประชาชาติได้กำหนดให้วันอาทิตย์ที่สามของเดือนพ.ย.ของทุกปี เป็นวันเหยื่อโลก (World Victims day) ซึ่งในปีนี้ตรงกับ วันที่ 17พ.ย. โดยทุกภาคส่วนร่วมกันรณรงค์ลดอุบัติเหตุทางถนน

ทั้งนี้สถิติอุบัติเหตุบนท้องถนน เสียชีวิตเฉลี่ย 60 รายต่อวัน หรือกว่า 20,000 ต่อปี พิการร่วม 40,000 คนต่อปี อยู่ลำดับที่ 9 ของโลก อันดับหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน ขณะเดียวกันมีผู้ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุมีสูงถึง 2 แสนคน ซึ่งครอบครัวผู้เสียชีวิต พิการ และผู้เสียหายเหล่านี้ ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการต่อสู้คดี เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม

นางสาวเครือมาศ กล่าวว่า นอกจากเป็นวันเหยื่อโลกแล้ว ในปีหน้าคือปี 2563 จะครบรอบทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน เครือข่ายฯเห็นว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องมีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน จึงมีข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำไปพิจารณา ดังนี้

1.ขอให้รัฐบาลมีนโยบายนำสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางถนน เข้มงวดกวดขันการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อการสร้างวินัยทางการจราจรและเพื่อช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนน

หยุดสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เสียชีวิตเฉลี่ย 60 รายต่อวัน หรือกว่า 20,000 ราย ต่อปี โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเป็นจำนวนมากในขณะที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

2. กรณีอุบัติเหตุที่เกิดจากการดื่มแล้วขับ ขอให้มีการปรับปรุงบทลงโทษให้ถึงขั้นจำคุกให้มีโทษจำคุก 15-20 ปี เพื่อให้ผู้กระทำความผิดได้ถูกลงโทษจำคุก เพราะจะช่วยป้องปรามคนที่จะกระทำความผิด และทำให้สังคมรับรู้ความแน่นอนของกฎหมาย ว่าความผิดเมาขับชนคนตาย “ถูกลงโทษจำคุก” และขอให้มีนโยบายเอาผิดไปถึงผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

โดยเฉพาะการขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ขายให้คนเมาครองสติไม่ได้ เพื่อทำให้ผู้ขายมีความรับผิดชอบต่อการขายสินค้าที่เสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อผู้อื่น

3. ขอให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย ทั้งในด้านงบประมาณตลอดจนการฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้เสียหายและครอบครัว เพราะจากการทำงานของเครือข่ายฯกับเคสต่างๆพบว่าปัญหาสภาพจิตใจ เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้รับการใส่ใจดูแลจากภาครัฐ (ต่างกับกรณีปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหากับเด็กเยาวชนที่มีการดูแลเรื่องสภาพจิตใจอย่างชัดเจน) หลายกรณีนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อความสิ้นหวังไปจนถึงการฆ่าตัวตาย

และ 4.ขอให้เร่งศึกษาปัญหาความล่าช้า และความยากลำบากของผู้เสียหายจากอุบัติเหตุในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม นำไปสู่ความเท่าเทียมกันในสังคมและสร้างความน่าเชื่อถือต่อกระบวนการยุติธรรม

ขณะที่ นายเจษฎา กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมเนื่องในวันเหยื่อโลกนั้น เครือข่ายฯได้เข้าร่วม ทุกๆปีอยู่แล้ว โดยในปีนี้จะมีกิจกรรมใหญ่สองงานคือ ร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมวิ่งรณรงค์“หยุดซิ่งมาวิ่งกันเถอะ” ที่บางกระเจ้า สมุทรปราการ

คาดว่าจะมีคนมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้กว่าพันคน จากนั้นทางเครือข่ายฯจะเดินทางไปที่องค์การสหประชาชาติ(UN) เพื่อร่วมกันกับมูลนิธิเมาไม่ขับและภาคีเครือข่ายเพื่อวางดอกไม้ไว้อาลัยให้กับเหยื่ออุบัติเหตุทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม ​“ ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับผู้ที่เป็นเหยื่อบนท้องถนนให้ลุกขึ้นสู้ เพราะเมื่อคุณพิการ ภาวะโดดเดี่ยวจะเกิดขึ้น ร่างกายจะอ่อนแอ เกิดอาการเครียดซึมเศร้า คิดสั้นฆ่าตัวตาย ไม่มีใครอยากมีชีวิตอยู่ ซึ่งผมก็เคยทำแบบนั้นมาแล้ว เพราะสภาพจิตใจย่ำแย่มาก มองไม่เห็นทางออกมันมืดไปหมด รู้สึกตัวเองไร้ค่าและรับไม่ได้กับสภาพพิการ

แต่ผมก็ยังโชคดีที่การฆ่าตัวตายในตอนนั้นทำไม่สำเร็จ ทำให้ตั้งหลักได้และดำเนินชีวิตต่อไป เพราะมีลูกที่เป็นกำลังใจและภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากที่ไม่เคยทิ้งเราไปไหน ทำให้ก้าวผ่านช่วงเลวร้ายมาได้ จนกระทั่งได้มาพบกับมูลนิธิเมาไม่ขับซึ่งมีส่วนสำคัญทำให้ผมเห็นคุณค่าในตัวเอง

และมีโอกาสใช้ร่างกายที่แม้จะไม่สมบูรณ์ไปทำประโยชน์เพื่อสังคมมากมาย ชีวิตลุกขึ้นได้อย่างมีศักดิ์ศรี และขอฝากถึงรัฐบาล ขอให้หามาตรการเยียวยาฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้เสียหายและครอบครัว

และเพิ่มการดูแล โดยคำนึงถึงสิทธิทางสังคม สวัสดิการต่างๆให้กับผู้พิการ ควรเปิดโอกาสในการทำงานได้มีอาชีพเลี้ยงดูตัวเอง” นายเจษฎา กล่าว