น้ำท่วม

ปภ.สรุปสถานการณ์พิษพายุโซนร้อน ณ วันที่ 14 ก.ย.62

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานสถานการณ์จากอิทธิพลพายุโซนร้อน “โพดุล” และอิทธิพลพายุโซนร้อน “คาจิกิ” ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกําลังแรง ตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. – ปัจจุบัน ทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์และวาตภัย…

Home / NEWS / ปภ.สรุปสถานการณ์พิษพายุโซนร้อน ณ วันที่ 14 ก.ย.62

ประเด็นน่าสนใจ

  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานสถานการณ์จากอิทธิพลพายุโซนร้อน “โพดุล” และอิทธิพลพายุโซนร้อน “คาจิกิ”
  • บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายบางส่วน 3,818 หลัง มีผู้เสียชีวิต 32 ราย
  • ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานสถานการณ์จากอิทธิพลพายุโซนร้อน “โพดุล” และอิทธิพลพายุโซนร้อน “คาจิกิ” ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกําลังแรง ตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. – ปัจจุบัน ทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์และวาตภัย ในพื้นที่ 32 จังหวัด 179 อำเภอ 932 ตำบล 6,902 หมู่บ้าน 5 เขตเทศบาล 11 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 407,069 ครัวเรือน

โดยบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายบางส่วน 3,818 หลัง มีผู้เสียชีวิต 32 ราย แบ่งเป็น จ.ยโสธร 8 ราย ร้อยเอ็ด 6 ราย อํานาจเจริญ 4 ราย ขอนแก่น 3 ราย อุบลราชธานี 3 ราย พิจิตร 2 ราย ศรีสะเกษ 2 ราย พิษณุโลก 1 ราย มุกดาหาร 1 ราย สกลนคร 1 ราย และ จ.น่าน 1 ราย มีผู้บาดเจ็บ 1 ราย

ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว 20 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ จ.แม่ฮ่องสอน จ.แพร่ จ.น่าน จ.เพชรบูรณ์จ.พิษณุโลก จ.พิจิตร จ.มหาสารคาม จ.อุดรธานีจ.ขอนแก่น จ.อํานาจเจริญ จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธรจ.มุกดาหารจ.ศรีสะเกษ จ.สกลนครจ.อุบลราชธานีจ.ตราด จ.ระนองจ.ชุมพร

ประกาศเป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยแล้ว 27 จังหวัด ได้แก่จ.เชียงใหม่จ.แพร่จ.น่าน จ.แม่ฮ่องสอน จ.ลําปาง จ.อุตรดิตถ์จ.เพชรบูรณ์จ.พิษณุโลก จ.สุโขทัย จ.พิจิตร จ.อุบลราชธานีจ.ขอนแก่น จ.อุดรธานี จ.อํานาจเจริญ จ.นครพนม จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร จ.กาฬสินธุ์จ.มุกดาหาร จ.ชัยภูมิ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ จ.สกลนคร จ.มหาสารคาม จ.ตราด จ.สระแก้วจ.ระนอง

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ อํานาจเจริญ ยโสธร อุบลราชธานี
ร้อยเอ็ด และ ศรีสะเกษ โดยมีผู้อพยพ 3 จังหวัด คือ ยโสธร อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด รวม 88 จุด 23,039 คน