ข่าวสดวันนี้ มาลาเรียชนิดรุนแรง อีโบลา โรงพยาบาลศิริราช

แพทย์ยัน ชายไทยเสียชีวิต ไม่เกี่ยวป่วยอีโบลา หลังกลับจากแอฟริกากลาง

รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (14 ส.ค. 2562) นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาชี้แจงถึงกรณีที่มีข่าวว่ามีชาวไทยเสียชีวิต หลังกลับมาจากแอฟริกากลาง จนทำให้มีข่าวสร้างความวิตกกังวล เนื่องจากการรักษาผู้ป่วยก่อนการเสียชีวิตเป็นการดูแลคล้ายการรักษาผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลานั้น ว่า สาเหตุของการเสียชีวิตของชายคนดังกล่าว…

Home / NEWS / แพทย์ยัน ชายไทยเสียชีวิต ไม่เกี่ยวป่วยอีโบลา หลังกลับจากแอฟริกากลาง

ประเด็นน่าสนใจ

  • ลือชายกลับจากแอฟริกากลางเสียชีวิตจากโรคอีโบลา
  • คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราช ยันผู้ตายป่วยมาลาเรียชนิดรุนแรง ไม่ได้ป่วยจากโรคอีโบลา
  • เบื้องต้นสั่งปิดโซนรักษาและทำความสะอาดแล้ว

รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (14 ส.ค. 2562) นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาชี้แจงถึงกรณีที่มีข่าวว่ามีชาวไทยเสียชีวิต หลังกลับมาจากแอฟริกากลาง จนทำให้มีข่าวสร้างความวิตกกังวล เนื่องจากการรักษาผู้ป่วยก่อนการเสียชีวิตเป็นการดูแลคล้ายการรักษาผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลานั้น ว่า

สาเหตุของการเสียชีวิตของชายคนดังกล่าว เป็นการเสียชีวิตจากโรคมาลาเรียชนิดรุนแรง ไม่ได้ป่วยจากโรคอีโบลาแต่อย่างใด เพราะจากการซักประวัติพบว่า ผู้ตายเข้าไปในป่าแอฟริกา 3 วัน เมื่อกลับมาไทยได้ 5 วัน เริ่มมีไข้ ถ่ายเป็นเลือด

ส่วนการต้องดูแลเป็นพิเศษ ก็เพราะเป็นการตั้งข้อสงสัยไว้ก่อน เพื่อป้องกันไว้ก่อน ว่าติดเชื้อไวรัส หรืออาจป่วยด้วยโรคดังกล่าวหรือไม่ แม้ว่าจะไม่เข้าข่ายหรือว่ามีอาการของโรคอีโบลาก็ตาม ทั้งนี้ได้มีคำสั่งให้ปิดโซนดังกล่าวเพื่อทำความสะอาดแล้ว

สำหรับ อีโบลา (Ebola) หรือ โรคอีโบลา เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส อีโบลา (Ebola virus) ซึ่งเป็นโรคที่มีความรุนแรงและอันตรายถึงชีวิต พบว่ามีการระบาดครั้งแรก คือที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในแอฟริกากลาง

เมื่อได้รับเชื้อไวรัสนี้เข้าสู่ร่างกาย ไวรัสก็จะสร้างความเสียหายแก่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆ ในที่สุดแล้วจะทำให้ระดับเซลล์การแข็งตัวของเลือด (Blood-Clotting Cells) ต่ำลงและนำไปสู่ภาวะเลือดออกที่รุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้

วิธีการป้องกันโรค นี้คือ หลีกเลี่ยงการไปท่องเที่ยวในประเทศที่พบว่ามีการระบาดของเชื้อ, ล้างมือบ่อย ๆ โดยใช้สบู่ล้างมือ หรือใช้เจลล้างมือฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์, ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ที่สงสัยว่าอาจมีเชื้อปนเปื้อน หลีกเลี่ยงการซื้อหรือรับประทานสัตว์ป่า โดยเฉพาะลิง

หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องดูแลคนป่วย ต้องระวังและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับของเหลวต่าง ๆ ที่ร่างกายของผู้ป่วย เช่น เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำลาย

ส่วนผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพหรือสถานพยาบาล สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ด้วยการใส่หน้ากากป้องกัน ถุงมือ และที่ป้องกันตา (goggles) หากต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่อาจติดเชื้ออีโบลา รวมไปถึงการแยกผู้ป่วย ที่สำคัญรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และพักผ่อนให้เพียงพอ

ข่าวบางส่วนจาก pobpad.com
ภาพจาก news.un.org