ประเด็นน่าสนใจ
- อินเดียมีรายงานการค้นพบเชื้อโควิด-19 ที่มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้น
- เชื้อกลายพันธุ์สองครั้งหรือ Double Mutant (B.1.617)
- เชื้อกลายพันธุ์ สามครั้งหรือ Triple Mutant (B.1.618)
- โดยทั้งสองตัวมีการเปลี่ยนแปลงในจุดที่คาดว่า ส่งผลต่อความสามารถในการแพร่กระจายได้ดี และเกี่ยวข้องกับการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันในร่างกายของมนุษย์
รายงานล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อสายพันธุ์อินเดีย
11 พ.ค.
องค์การอนามัยโลก จัดให้เชื้อสายพันธุ์อินเดีย B.1.617 เป็นสายพันธุ์กลายพันธุ์ตัวที่ 4 ที่อยู่ในกลุ่ม สายพันธุ์ที่น่ากังวล หรือ variant of concern (VOC) ซึ่งสามารถแพร่กระจายตัวได้เร็ว แต่ในขณะนี้ วัคซีนที่มียังสามารถใช้ป้องกันการติดเชื้อของสายพันธุ์นี้ได้
…
10 พ.ค.
สิงคโปร์พบเชื้อสายพันธุ์กลายพันธุ์ B.1.617.2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อย ในประเทศแล้วจำนวน 7 ราย โดยเป็นการพบการติดเชื้อในประเทศเป็นคลัสเตอร์แรก เมื่อ 27 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยผู้ป่วยรายแรกเป็น จนท.ที่ทำงานอยู่ที่สนามบินชางงี
…
7 พ.ค.
- อังกฤษจัดให้เชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อินเดีย จัดเป็น variant of concern หรือ VOC หลังพบผู้ป่วยเพิ่มจาก 202 ราย เป็น 520 รายในสัปดาห์เดียว
- รายงานการพบเชื้อสายพันธุ์ B1.617 (Double mutant) แล้วใน 28 ประเทศ
การระบาดของโควิด-19 ในอินเดียเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ที่ระบบสาธารณสุขกำลังจะล่มสลาย ท่ามกลางจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในแต่ละวัน จนระบบสาธารณสุขไม่สามารถรองรับได้อย่างเพียงพอ
จากการระบาดในระลอกที่ 2 หรือ 2nd Wave ของอินเดีย ในครั้งนี้ มีการรายงานการพบเชื้อกลายพันธุ์ 2 ตำแหน่งหรือ Double mutant เกิดขึ้น โดยพบครั้งแรกในอินเดีย
Double Mutant คืออะไร
เชื้อไวรัสโควิด-19 ในสายพันธุ์อินเดียที่พบใหม่นี้ เรียกว่า B.1.617 ซึ่งมีการกลายพันธุ์ 2 ตำแหน่ง คือ E484Q และ L452R หรือพูดง่าย ๆ คือ เชื้อนี้ มีการกลายพันธุ์ใน 2 จุดด้วยกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ที่มีการรายงานเชื้อกลายพันธุ์ในสายพันธุ์อังกฤษ บราซิล แอฟริกาใต้ หรือแม้กระทั่งใน ฟิลิปปินส์ เป็นพบการกลายพันธุ์เพียงจุดเดียวเท่านั้น
ดั้งนั้น การค้นพบเชื้อกลายพันธุ์ แบบ double mutant นี้ จึงเป็นรายงานแรกในอินเดีย และในโลกด้วย โดยมีการรายงานการพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2563 และในการรายงานในการพบแรก ๆ เป็นการพบเชื้อนี้ใน รัฐมหาราษฏระ ที่ในขณะนี้มีรายงานการพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดในอินเดีย จึงคาดว่า เชื้อสายพันธุ์นี้ น่าจะเกิดขึ้นที่ รัฐมหาราษฏระ เป็นที่แรก เพราะกว่า 60 -80 % ของผู้ป่วยที่ในรัฐมหาราษฏระ เป็นเชื้อสายพันธุ์กลายพันธุ์ 2 ครั้งนี้
และในระลอกใหม่นี้ รัฐมหาราษฏระเป็นศูนย์กลางการระบาดในครั้งใหม่
ในขณะที่อีกหลายรัฐ การพบเชื้อในสายพันธุ์กลายพันธุ์ 2 ครั้ง หรือ Double Mutant นี้ ไม่ได้พบมากเช่นเดียวกับรัฐมหาราษฏระ อย่างในคุชราต พบราว 10-20% เท่านั้น
…
เชื้อสายพันธุ์อินเดีย รุนแรงกว่าเดิมหรือไม่?
…
สำหรับเชื้อ Double mutant ในอินเดีย หรือ B.1.617 นี้ ยังไม่มีการรายงานยืนยันที่ชัดเจนว่า เชื้อดังกล่าวมีความรุนแรงขึ้นกว่าเชื้อโควิด-19 ในสายพันธุ์อื่น ๆ แต่จากข้อมูลงานวิจัยที่ผ่าน ๆ มาพบว่า การกลายพันธุ์ในตำแหน่ง E484Q และ L452R ทำให้เชื้อมีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น
เมื่อเชื้อดังกล่าวสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของมนุษย์ได้ดี ก็จะส่งผลสองประการคือ
- โอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และระบาดขึ้นขึ้นได้มากขึ้น
- ประสิทธิภาพของวัคซีนจะป้องกันโควิด-19 ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีผลการวิจัยที่ชัดเจน แต่คาดการณ์กันว่า น่าจะมีผล อย่างไรก็ตามคงต้องรอผลการวิจัยที่ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง
เราควรกังวลหรือไม่?
สำหรับในขณะนี้ เชื้อกลายพันธุ์ B.1.617 แม้ว่าจะเป็นการพบการระบาดเป็นจำนวนมากในประเทศอินเดีย โดยเฉพาะในรัฐมหาราษฏระ ที่มีการพบเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้เป็นจำนวนมากก็ตาม แต่ด้วยข้อมูลมีการค้นคว้าในขณะนี้ ยังคงสรุปเบื้องต้นได้ว่า
ความสามารถในการระบาดกระจายตัวได้ดี คล้ายกับสายพันธุ์อังกฤษ การเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งของ E484Q มีความคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับลักษณะที่พบในการกลายพันธุ์ที่พบหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์อังกฤษ หรือสายพันธุ์บราซิล ที่มีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่ง E484K
สายพันธุ์นี้ ทำให้ระบาดหนักในอินเดียใช่หรือไม่?
สำหรับสายพันธุ์ B.1.617 ที่พบในระลอกที่ 2 ของอินเดียในครั้งนี้ แม้ว่าจะมีการพบการติดเชื้อในสายพันธุ์นี้เป็นจำนวนมาก และความสามารถที่คาดว่าจะแพร่กระจายเชื้อได้มาก แต่นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดในระลอกที่ 2
สาเหตุหลักอีกส่วนหนึ่งนั้นมาจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ในอินเดียด้วย ไม่ว่าจะเป็นการละเลยการสวมหน้ากากมากขึ้น, การรวมตัวกันทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งกีฬา, ศาสนา และการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ ของชาวอินเดีย ที่มีการร่วมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก เช่น เทศกาลกุมภเมลา ที่มีผู้เข้าร่วมหลายแสนคน ท่ามกลางมาตรการป้องกันตัวเองที่หละหลวม ทำให้เกิด Super Spreader เกิดขึ้น
…
🔶️ ที่มาที่ไปของสถานการณ์โควิด 19 ในอินเดีย มาถึงจุดวิกฤติของโควิด-19 ได้อย่างไร
…
วัคซีนกับเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อินเดีย
ในขณะนี้มีรายงานการทดสอบล่าสุดว่า วัคซีนที่มีใช้งานในอินเดียคือ Covishield หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อของ AstraZeneca นั้น มีประสิทธิภาพในการป้องกันสายพันธุ์ B.1.617 ได้ รวมถึงวัคซีนของอินเดียอีกตัวหนึ่งคือ Covaxin
…
ล่าสุด Triple Mutant
แม้ว่าการค้นพบเชื้อในสายพันธุ์ B.1.617 หรือ Double Mutant จะยังคงอยุ่ในระหว่างการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงความสามารถของเชื้อโควิด-19 ในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน และผลกระทบต่อวัคซีน ในรายงานล่าสุด พบเชื้อโควิด-19 ที่เป็นสายพันธุ์กลายพันธุ์ 3 จุดด้วยกัน หรือชื่อในขณะนี้ ว่า B.1.618
Triple Mutant ที่เรียกว่า B.1.618 นั้นถูกพบที่ในรัฐเบงกอลตะวันตก ในประเทศอินเดีย ทำให้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สายพันธุ์เบลกอล” หรือ “Bengal Strain” โดยในการกลายพันธุ์ 3 จุดที่เกิดขึ้นนั้นคือ การหายไปของหนามในตำแหน่ง H146 และ Y145 และเกิดกลายพันธุ์ในตำแหน่ง E484K และ D614G
…
D614G พบว่า การกลายพันธุ์ในตำแนห่งนี้ จะส่งผลให้สามารถกระจายเร็วขึ้นในเซลล์เยื่อบุผิวในระบบทางเดินหายใจของคน ส่งผลให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น แพร่กระจายได้เร็วขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนการพบผู้ป่วยในสายพันธุ์นี้ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ฝั่งของรัฐเบงกอลตะวันตก ที่มีรายการการพบเชื้อ Triple Mutant เพิ่มมากขึ้น
ในขณะนี้เดียวกัน การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง E484K เป็นหนึ่งในจุดที่มีความกังวลมากที่สุด เนื่องจากเป็นตำแหน่งของการกลายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับการหลบหนีการตรวจจับของภูมิคุ้มกัน ซึ่งในการค้นพบที่มีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งนี้คือ “สายพันธุ์แอฟริกาใต้” และ “สายพันธุ์บราซิล” และทั้งสองตัวนี้ มีผลต่อความประสิทธิภาพของวัคซีน
…
อย่างไรก็ตาม ในการค้นเชื้อกลายพันธุ์ ในอินเดีย ไม่ว่าจะเป็น Double Mutant หรือ Triple Mutant ก็ตาม ในขณะนี้ ข้อมูลการค้นพบยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้อย่างชัดเจนว่า เชื้อทั้งสองสายพันธุ์นี้ จะส่งผลกระทบมากน้อยเพียงใดกันแน่
แต่ในเบื้องต้นประเมินได้ว่า เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดที่มีโอกาสติดเชื้อได้มากขึ้น และสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของร่างกายเราได้
…
ทำไมเราถึงต้องกลัวการกลายพันธุ์
ในทุกครั้งของการกลายพันธุ์ของเชื้อ จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยจะส่งผลกระทบต่อ
- ความสามารถในการแพร่กระจาย
- ความรุนแรงของโรค
- ความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมคุ้มกัน ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน