ยีราฟ เสี่ยงสูญพันธุ์ ไซเตส

ไซเตสขึ้นทะเบียนยีราฟเป็นสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์

หลังจากมีการประชุมสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Conference) หรือที่รู้จักกันในชื่อ CITES ลงมติในวันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา เพื่อให้ปกป้องสายพันธุ์ ‘ยีราฟ’ ในฐานะสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นครั้งแรก โดยในที่ประชุมระบุว่า…

Home / NEWS / ไซเตสขึ้นทะเบียนยีราฟเป็นสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์

ประเด็นน่าสนใจ

  • การประชุมสัตว์ป่าโลกไซเตส ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์ มีมติขึ้นทะเบียนยีราฟเป็นสัตว์ป่าที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
  • ที่ประชุมมีมติให้ขึ้นทะเบียนยีราฟเป็นสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ 106 เสียงต่อ 21 เสียง
  • ที่ประชุมไซเตสเผยว่า ประชากรยีราฟในธรรมชาติเหลืออยู่ไม่กี่หมื่นตัวเท่านั้น

หลังจากมีการประชุมสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Conference) หรือที่รู้จักกันในชื่อ CITES ลงมติในวันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา เพื่อให้ปกป้องสายพันธุ์ ‘ยีราฟ’ ในฐานะสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นครั้งแรก โดยในที่ประชุมระบุว่า ประชากรยีราฟในธรรมชาติเหลืออยู่ไม่กี่หมื่นตัว

การขึ้นทะเบียนครั้งนี้จะเป็นการคุ้มครองยีราฟทั่วโลก ทำให้การซื้อขายชิ้นส่วนยีราฟทั้งเนื้อ หนัง กระดูก จะต้องได้รับอนุญาตและต้องไม่ใช่ชิ้นส่วนที่ได้มาจากการลักลอบล่าสัตว์ นอกจากนี้ ประเทศผู้อนุญาตจะต้องตรวจสอบความสมดุลของประชากรยีราฟก่อนการอนุญาตให้ส่งออก

จากมติในที่ประชุมดังกล่าว มีมติให้ขึ้นทะเบียนยีราฟเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ 106 ต่อ 21 เสียง ทำให้บางประเทศในแอฟริกันคัดค้านการขึ้นทะเบียนครั้งนี้เพราะประเทศเหล่านั้น มีประชากรยีราฟเพิ่มขึ้น และยกเหตุผลที่ว่า ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะระบุว่าการค้าขายชิ้นส่วนยีราฟเป็นสาเหตุของการลดจำนวนลง

ส่วนทางด้าน ไมนา ฟิลิป มูรูธิ จากมูลนิธิสัตว์ป่าแอฟริกัน เผยว่า ยีราฟกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงจะสูญพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกาตะวันออก ตะวันตก และแอฟริกากลาง ซึ่งประชากรยีราฟค่อย ๆ ลดลงถึง 40% ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาจากสาเหตุถิ่นที่อยู่อาศัยน้อยลง ไปจนถึงการค้าขายชิ้นส่วนยีราฟ และการถูกล่าเพื่อเอาเนื้อ  การล่าเพื่อความบันเทิง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้จำนวนยีราฟลดลง

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากทางฝั่งสหรัฐฯระบุว่า การค้าขายชิ้นส่วนยีราฟเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในยระหว่างปี 2006-2015 สหรัฐฯ นำเข้าชิ้นส่วนยีราฟกว่า 40,000 ชิ้น หรือเท่ากับยีราฟอย่างน้อย 3,751 ตัว นอกจากนี้อเมริกาคือตลาดชิ้นส่วนผิดกฎหมายของยีราฟที่ใหญ่ที่สุดอีกด้วย