สัตว์น้ำ หอยมือเสือ ห้ามจับหอยมือเสือ

กรมอุทยานแห่งชาติฯ สั่งห้ามล่า-ขาย ‘หอยมือเสือ’ โทษหนักคุก 4ปี

วันนี้ (8 ก.ค.62) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เผยถึงสถานการณ์สัตว์น้ำอย่าง หอยมือเสือ ซึ่งเป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว เนื้อของหอยมือเสือโดยเฉพาะกล้ามเนื้อยึดเปลือก เป็นอาหารซึ่งมีราคาแพง เป็นที่นิยมบริโภคในหลายประเทศ เปลือกใช้ทำเครื่องใช้, เครื่องประดับ รวมทั้งไข่มุกซึ่งหอยมือเสือก็สามารถให้ได้เหมือนกัน…

Home / NEWS / กรมอุทยานแห่งชาติฯ สั่งห้ามล่า-ขาย ‘หอยมือเสือ’ โทษหนักคุก 4ปี

ประเด็นน่าสนใจ

  • กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สั่งห้ามล่า-ขาย ‘หอยมือเสือ’ โทษหนักคุก 4ปี
  • ’หอยมือเสือ’ เกือบอยู่ในข่ายสัตว์น้ำใกล้สูญพันธุ์

วันนี้ (8 ก.ค.62) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เผยถึงสถานการณ์สัตว์น้ำอย่าง หอยมือเสือ ซึ่งเป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว เนื้อของหอยมือเสือโดยเฉพาะกล้ามเนื้อยึดเปลือก เป็นอาหารซึ่งมีราคาแพง เป็นที่นิยมบริโภคในหลายประเทศ เปลือกใช้ทำเครื่องใช้, เครื่องประดับ รวมทั้งไข่มุกซึ่งหอยมือเสือก็สามารถให้ได้เหมือนกัน และเป็นไข่มุกที่มีราคาแพงกว่าไข่มุกปกติธรรมดา เนื่องจากมีขนาดใหญ่และหาได้ยากมาก

ส่วนหอยมือเสือขนาดเล็กนิยมนำมาเลี้ยงในตู้ปลาทะเลสวยงาม จึงทำให้หอยมือเสือถูกจับขึ้นมาใช้ประโยชน์มากจนเกินกำลังธรรมชาติจะทดแทนได้ทันในทุกแหล่งการแพร่กระจายจนกระทั่งอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ หรือบางชนิดถูกทำลายจนหมดไปจากบางแหล่ง จึงเป็นหนึ่งในจำนวนสัตว์น้ำที่ได้รับการขึ้นบัญชีในรายชื่อสัตว์และพืชที่ใกล้สูญพันธุ์หรือหายากในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ หรือ CITES และจัดอยู่ในบัญชีสัตว์สงวนและคุ้มครองประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ของกฎหมายไทย

ในน่านน้ำไทยพบหอยมือเสืออยู่ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบทั้งหมด 5 ชนิด จำนวนประชากรหอยมือเสือในน่านน้ำไทยในปัจจุบันมีเหลืออยู่ไม่มาก เนื่องจากหอยมือเสือมีแหล่งอาศัยอยู่ตามแนวปะการังที่มีระดับน้ำไม่ลึกเพราะต้องอาศัยแสงสว่างในการดำรงชีพเพื่อให้สาหร่ายซึ่งอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อสามารถสังเคราะห์แสงได้จึงทำให้หอยมือเสือถูกจับขึ้นมาได้ง่าย

ปัจจุบัน หอยมือเสือทุกชนิดได้มีการเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในประเทศไทย โดยชนิดแรกที่เพาะขยายพันธุ์ได้ คือ หอยมือเสือเล็บยาว (T. squamosa)[9] ส่วนชนิด หอยมือเสือยักษ์ (T. gigas) ที่เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดนั้นไม่สามารถเพาะได้เนื่องจากหาพ่อแม่พันธุ์ไม่ได้

หอยมือเสือ จัดเป็นหอยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความยาวเปลือกได้ถึง 100-120 เซนติเมตร น้ำหนักได้กว่า 200 กิโลกรัม และมีอายุยาวได้ถึง 100 ปีหรือมากกว่านั้น ขนาดเล็กสุดยาวเพียง 15 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตน้ำตื้นตามแนวปะการังของน่านน้ำแถบอินโด-แปซิฟิก

เขตน่านน้ำไทยแหล่งที่พบหอยมือเสือได้มากที่สุด คือ เกาะไข่ ในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร ที่สามารถพบหอยมือเสือได้หลายขนาดและหลากหลายสีในเขตแนวปะการังน้ำตื้นรอบ ๆ เกาะ โดยเป็นหอยมือเสือทั้งจากการเพาะขยายพันธุ์และขยายพันธุ์กำเนิดเองในธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากการอนุรักษ์

ขอบคุณ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช