คดีจับหอยมือเสือ รายการ The Law of Jungle หอยมือเสือ

กรมอุทยานฯ เผย! คดีจับหอยมือเสือ รายการเกาหลีออกนอกพื้นที่ขออนุญาตถ่ายทำ

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ชี้แจงถึงกรณีที่สื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ ได้มีการเผยแพร่คลิปและภาพการจับหอย มือเสือซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2562 นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า…

Home / NEWS / กรมอุทยานฯ เผย! คดีจับหอยมือเสือ รายการเกาหลีออกนอกพื้นที่ขออนุญาตถ่ายทำ

ประเด็นน่าสนใจ

  • กรมอุทยานแห่งชาติฯ ชี้แจงกรณีการแจ้งความดำเนินคดีรายการ The Law of Jungle จับหอยมือเสือ ชี้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พบมีการออกนอกพื้นที่ขออนุญาตถ่ายทำรายการ
  • อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เห็นว่าการกระทําดังกล่าวเป็นความผิด จึงได้จัดทําบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา และดําเนินคดี

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ชี้แจงถึงกรณีที่สื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ ได้มีการเผยแพร่คลิปและภาพการจับหอย มือเสือซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์

ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2562 นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ชี้แจงดังนี้

1. กรมการท่องเที่ยว มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอนุญาตสร้างภาพยนตร์ ประเภท รายการโทรทัศน์ เรื่อง “Law of the Jungle” ในราชอาณาจักร เรียนถึง กรรมการผู้จัดการบริษัท เดอะ ซิกซ์ เอลลิ เม้นท์ จํากัด แจ้งว่ามีมติอนุญาตให้สร้างภาพยนตร์ ประเภทรายการโทรทัศน์ เรื่อง “Law of the Jungle” ใน ราชอาณาจักร

ตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติ ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ในการเข้าไปถ่ายทําในพื้นที่ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมทั้งการใช้โดรน ของให้ผู้ประสานงานการถ่ายทําแจ้งขออนุญาต รวมทั้งต้องระมัดระวังไม่ให้ การถ่ายทําส่งผลกระทบ หรือทําลายภูมิทัศน์ในบริเวณสถานที่ถ่ายทําและไม่รบกวนการ ดํารงชีวิตของสัตว์ป่าในพื้นที่ดังกล่าว

2. กรมการท่องเที่ยว มีหนังสือขอความอนุเคราะห์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณาอนุญาตให้คณะถ่ายทําเข้าไปถ่ายทําในพื้นที่บริเวณหาดเจ้าไหม เกาะ แหวนและเกาะมุก ในวันที่ 29 มีนาคม และ 2-3 เมษายน 2562 และขอความอนุเคราะห์จัดส่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกํากับดูแลการถ่ายทําให้เป็นไปตาม เนื้อหาที่ได้รับอนุญาต โดยไม่ทําให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่ประเทศไทย

3. เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2562 กรมอุทยานแห่งชาติฯ มีหนังสือแจ้งกรรมการผู้จัดการบริษัท เดอะ ซิกซ์ เอลลิเม้นท์ จํากัด ว่า อนุญาตให้เข้าไปถ่ายทําในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม โดยให้บริษัทชําระค่าธรรมเนียม สําหรับการถ่ายทํา อัตราวันละ 4,000 บาท จํานวน ๔ วัน เป็นเงิน 16,000 บาท

รวมทั้งค่าบริการสําหรับบุคคล และยานพาหนะ โดยให้ชําระค่าบริการดังกล่าวเพียงครั้งเดียวในระหว่างที่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายทําในเขตอุทยาน แห่งชาติ และค่ากํากับดูแลการถ่ายทําสําหรับเจ้าหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ พร้อมทั้งปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและ ระเบียบด้วย และได้มอบหมายให้ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เป็นผู้แทนไปกํากับดูแลการถ่ายทําตามกําหนด

  • บริเวณหาดเจ้าไหม วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2562
  • บริเวณเกาะมุก วันอังคารที่ 2 และวันพุธที่ 3 เมษายน 2562
  • บริเวณเกาะแหวน วันจันทร์ที่ 1 เมษายน และวันพุธที่ 3 เมษายน 2562

4. ในช่วงระยะเวลาการถ่ายทํา ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ควบคุมกํากับดูแลตามที่กรมอุทยานแห่งชาติฯสั่งการ อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ไม่ปรากฏว่าคณะผู้ถ่ายทําได้กระทําความผิดตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด ยกเว้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2562 คณะผู้ถ่ายทําแจ้งว่า จะทําการถ่ายทําใน บริเวณอ่าวสบาย เกาะแหวน และถ้ำมรกต โดย

  • ช่วงเช้า จนกระทั่งถึงช่วงบ่าย คณะถ่ายทําได้ดําเนินการถ่ายทําบริเวณอ่าวสบาย โดยมี เจ้าหน้าที่ควบคุมการถ่ายทํา
  • คณะถ่ายทําจํานวน 2 คน ไปทําการถ่ายทําในบริเวณเกาะแหวน หลังจากนั้นช่วงบ่ายได้ เกิดพายุลมแรง ทําให้คณะถ่ายทําแจ้งยกเลิกการถ่ายทําบริเวณถ้ำมรกต โดยจะขอเลื่อนการถ่ายทําไปเป็นวันที่ 2 เมษายน 2562 และหลังจากนั้นมิได้มีการแจ้งกับทางเจ้าหน้าที่อุทยานว่าจะไปถ่ายทําที่ใดอีก
  • จากข้อมูลซึ่งทางอุทยานฯได้สอบถามกับคนขับเรือที่ปรากฏอยู่ในสื่อ แจ้งว่า ได้ไปรับ คณะถ่ายทําที่บริเวณอ่าวสบาย ในวันที่มีคลื่นลมแรง เพื่อนําไปยังบริเวณอ่าวโต๊ะอุดัง (บริเวณที่เกิดเหตุ) โดยที่มิได้มี การแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่อุทยานได้รับทราบ หลังจากนั้นผู้ขับเรือได้นําคณะกลับมาส่งยังอ่าวสบาย

5. เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562 สื่อโซเชียลโดยผู้ใช้เฟสบุ๊ค นามว่า Bussaba Wanlapatith ได้ส่ง คลิปให้ทางอุทยานตรวจสอบ ว่ามีการจับสัตว์น้ำชนิดหอยมือเสือมาเผยแพร่ในโซเชียล

6. อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ได้ตรวจสอบและพิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นการกระทําความผิด กฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่า จากพฤติการณ์ที่ปรากฏเป็นการกระทําต่อหอยมือเสือ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม กฎกระทรวงที่กําหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. ๒๕๔๖ ประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ ลําดับที่ ๑๑

จากการกระทําดังกล่าวมีความผิดตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ มาตรา ๒๖ (๓) นําสัตว์ ออกไปหรือกระทําด้วยประการใดๆให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ และความผิด พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดล่า หรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง

เว้นแต่เป็นการกระทําโดยทางราชการที่ ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๒๖, มาตรา ๑๙ ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของ สัตว์ป่าสงวน หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กําหนดตาม มาตรา ๑๗ ที่ได้มาจาก การเพาะพันธุ์หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว

และโดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีแลต้องปฏิบัติตามข้อกฎกระทรวงและ เงื่อนไขที่กําหนดไว้ในใบอนุญาต มาตรา ๒๑ ห้ามมิให้ผู้ใดเก็บ ทําอันตรายหรือมีไว้ครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง”

อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เห็นว่าการกระทําดังกล่าวเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ และ พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงได้จัดทําบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา และดําเนินคดี ที่ สภ.กันตัง เพื่อดําเนินคดีตามกฎหมายต่อไป