ข่าวสดวันนี้ สถาบันพระปกเกล้า สร้างมัสยิดในชุมชนพุทธ

สถาบันพระปกเกล้าจัดเสวนา ปัญหาการสร้างมัสยิดในชุมชนพุทธที่ จ.น่าน

วันที่ 25 กรกฎาคม ที่สถาบันพระปกเกล้า ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ ๑ (ปสม.๑) สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดการสนทนากลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่อง “ดุลยภาพระหว่างสิทธิมนุษยชนกับสิทธิชุมชน: กรณีศึกษาการสร้างศาสนสถาน” ณ…

Home / NEWS / สถาบันพระปกเกล้าจัดเสวนา ปัญหาการสร้างมัสยิดในชุมชนพุทธที่ จ.น่าน

ประเด็นน่าสนใจ

  • สถาบันพระปกเกล้าจัดเสวนาหาทางออกปัญหาการสร้างศาสนสถาน หลังพบมีปัญหาการสร้างมัสยิดในชุมชนพุทธใน จ.น่าน
  • นักวิชาการชี้กฎหมายไม่ใช่ทางออก ชี้ต้องพูดคุย-ใช้เวลา และการยอมรับจากชุมชน
  • นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้ากำลังรวบรวมรายละเอียดเพื่อเสนอต่อหลักสูตรเพื่อหาข้อสรุปเป็นทางออกของความขัดแย้งต่อไป

วันที่ 25 กรกฎาคม ที่สถาบันพระปกเกล้า ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ ๑ (ปสม.๑) สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดการสนทนากลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่อง “ดุลยภาพระหว่างสิทธิมนุษยชนกับสิทธิชุมชน: กรณีศึกษาการสร้างศาสนสถาน” ณ ห้องภูวนาถประชาธิปก โดยมีผู้เข้าร่วม อาทิ ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ คณะกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดร.ผกาวดี สุพรรณจิตวนา ประธานศูนย์ศึกษาสิทธิมนุษยชน ความขัดแย้งและสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

นาวาอากาศเอกหญิง ดร.ชญาดา เข็มเพชร นักศึกษา ปสม.1 กล่าวในฐานะผู้ดำเนินรายการว่า สิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชนถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่สิทธิมนุษยชนถูกขับเคลื่อนมานานมากกว่า เราได้คำนึงถึงสองสิทธิจึงได้ศึกษาเรื่องการสร้างศาสนสถานในพหุวัฒนธรรมเพื่อนำเสนอแนวทางถึงการอยู่ร่วมกันได้ โดยยกกรณีศึกษาการสร้างศาสนสถานเป็นสำคัญ และใช้การศึกษาเชิงคุณภาพและลงพื้นที่ จ.น่าน ซึ่งมีกรณีขัดแย้งของการสร้างศาสนสถานระหว่างศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม เนื่องจากชาวพุทธในพื้นที่ต่อต้านการสร้างมัสยิด เราจึงจำเป็นต้องหาข้อสรุปเพื่อหาทางออกระหว่างสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นปัจเจกกับสิทธิของชุมชน

ดร.ผกาวดี กล่าวว่า ต้องร่วมกันหาทางออกและหาจุดสมดุลที่ทำให้ความแตกต่างอยู่ร่วมกันได้ ตนศึกษาเรื่องนี้มาสามสี่ปีโดยเฉพาะในภาคเหนือ โดยพูดคุยกับทั้งศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธว่าทำไมชาวบ้านถึงต่อต้านการสร้างมัสยิด ซึ่งจากการศึกษาในประเทศไทยและงานวิจัยต่างประเทศพบตรงกันว่าการสร้างความพึ่งพากันทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการพึ่งพากันในสังคมจะทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันเกิดขึ้นได้อย่างถาวร และสิ่งสำคัญที่จะเป็นหลักที่ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันได้จะต้องมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีความเป็นผู้นำสูง หากจะสร้างมัสยิดในพื้นที่การปฏิสัมพันธ์ในชุมชนๆนั้นจะต้องมีความพร้อมสูงในการที่จะรับอัตลักษณ์อื่นเข้ามา การที่เราเลือก จ.น่าน เพราะคนทั่วไปมองว่าเป็นเมืองพุทธร้อยเปอร์เซ็นต์แต่ในความจริงมีศาสนาที่หลากหลาย

ดร.ผกาวดี กล่าวต่อว่า วิวาทะประเด็นแรกคือคนไทยมีสิทธิที่จะสร้างศาสนสถานทุกศาสนาได้ตามกฎหมายแต่ชุมชนดั้งเดิมจะยอมให้สร้างหรือไม่เป็นประเด็นที่สำคัญ เพราะเรื่องของพระราชบัญญัติการก่อสร้างอาคารจะมีการผ่อนผันที่ใช้เป็นศาสนสถานยกเว้นว่าไม่ต้องขออนุญาต แสดงว่าชาวบ้านที่ต้องการส้รางศาสนสถานก็ทำเรื่องไปตามกฎหมายแต่ไม่ต้องไปขออนุญาตชุมชนหรือไม่ต้องขออนุญาตจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเหมือนกันทุกศาสนา เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวบ้านจึงเกิดคำถามว่าทำไมไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมและในที่สุดก็เกิดการต่อต้านการส้รางมัสยิดเหมือนที่เกิดขึ้นในบางพื้นที่ของ จ.น่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ตนได้เข้าไปทำการศึกษา

ดร.ผกาวดี กล่าวด้วยว่า จากการศึกษาพบว่ามีชาวบ้านใน จ.น่าน นับถือศาสนาอิสลามจำนวน 64 คน แต่อยู่กันอย่างกระจายตัวเป็นการอยู่ดั้งเดิมมาประมาณ 30-40 ปี เมื่อต้องการสร้างมัสยิดก็ได้ยื่นขอก่อสร้างจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในกรณีนี้ไม่มีคณะกรรมการอิสลามจังหวัดน่านจึงได้ขออนุญาตจากจังหวัดเชียงราย จากนั้นจึงซื้อที่ดินใน จ.น่านเพื่อดำเนินการก่อสร้าง แต่ชาวบ้านก็ไม่ยินยอมแม้ว่าจะซื้อที่ดินมาอย่างถูกต้อง โดยชาวบ้านบอกว่าจะสร้างมัสยิดไม่ได้เพราะไม่มีชุมชนมุสลิมมาก่อนดั้งเดิม ปัญหาวิวาทะเหล่านี้จึงเกิดขึ้น เราจึงมาคิดว่าแนวทางที่จะสร้างดุลยภาพระหว่างสิทธิมนุษยชนสากลโดยเฉพาะในเรื่องของการนับถือศาสนากับสิทธิของชุมชนจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

นางประกายรัตน์ กล่าวว่า มีการร้องเรียนเกี่ยวกับประเด็นนี้มาที่คณะกรรมการสิทธิฯจำนวนมากทั่วประเทศทั้งการสร้างวัดและสร้างมัสยิด ซึ่งคณะกรรมการสิทธิฯก็ใช้วิธีการไกล่เกลี่ยจนบางคดีไปถึงศาลปกครองและบางคดีก็ไปสู่ศาลยุติธรรม ตนเห็นว่าทางออกที่ดีที่สุดคือการได้พูดคุยและทำความเข้าใจกันหากยึดเรื่องสิทธิเพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหา ที่สำคัญไม่ควรบังคับให้ชุมชนยอมรับ บางเจรจาให้เกิดการยอมรับต้องใช้เวลาในการพูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

ด้าน ศ.ดร.บรรเจิด กล่าวว่า ความขัดแย้งลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแต่ในไทยเท่านั้นแต่ยังเกิดขึ้นมากในยุโรป ในความเป็นจริงไทยจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ดีประเทศหนึ่งของโลกมีการจัดการมาตั้งแต่โบราณ ทั้งนี้สิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชนไม่ได้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง สิทธิมนุษยชนคือเสรีภาพในความเชื่อแต่การปฏิบัติตามความเชื่อมันมีข้อจำกัดต้องตั้งประเด็นว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร คงไม่ใช่ประเด็นของกฎหมายแต่เป็นมิติว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร การส้รางศาสนสถานมีข้อยกเว้นทางกฎหมายเป็นมิติที่เปิดกว้างของกฎหมายแต่ก็ควรได้รับความเห็นชอบจากชุมชนด้วย ทั้งนี้แนวทางปฏิบัติขิงรัฐในกรณีที่เกิดตงามขัดแย้งรัฐไม่ควรใช้อำนาจเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่รับเปิดรับฟังความคิดเห็นของชุมชนจะต้องใช้หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วย

“ความขัดแย้งไม่ใช่ประเด็นของศาสนากับศาสนา แต่เป็นเรื่องการกระทบวิถีชีวิตปกติ ซึ่งไม่ใช่เรื่องของกฎหมาย แต่เป็นเรื่องการดำรงอยู่ จำนวนคนไม่น่าเป็นประเด็นในการพิจารณาสร้างศาสนสถาน ไม่เช่นนั้นพุทธศาสนาก็ไปเผยแผ่ในต่างประเทศไม่ได้ แต่ขึ้นอยู่กับการยอมรับของชุมชนมากที่สุด” ศ.ดร.บรรเจิด กล่าว

ทั้งนี้ในเวทีเสวนายังได้เชิญผู้นำศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ และชาวบ้านในพื้นที่ จ.น่าน มาร่วมเวทีด้วยพร้อมกับแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง โดยกลุ่มนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้ากำลังรวบรวมรายละเอียดเพื่อเสนอต่อหลักสูตรเพื่อหาข้อสรุปเป็นทางออกของความขัดแย้งต่อไป