ข่าวสดวันนี้ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

หอการค้าไทย ไม่เห็นด้วยขึ้นค่าแรงเป็น 400 บาท

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจความเห็น เกี่ยวกับนโยบายการปรับค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลในอัตรา 400-425 บาทต่อวันทั่วประเทศจากสมาชิกหอการค้า 76 จังหวัด รวมทั้งสมาชิกผู้ประกอบการทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ รวม 1,355 กลุ่มตัวอย่าง โดยผลสำรวจพบว่า…

Home / NEWS / หอการค้าไทย ไม่เห็นด้วยขึ้นค่าแรงเป็น 400 บาท

ประเด็นน่าสนใจ

  • หอการค้าไทยเผยผลสำรวจพบกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าแรงเป็น 400 บาท
  • เหตุผลชี้ว่า การขึ้นค่าแรงอาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ราคาสินค้าก็จะสูงขึ้นด้วย
  • นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงประเด็น หากการปรับค่าจ้างในช่วงนี้ ที่เศรษฐกิจซึมตัวจะส่งผลให้กำไรของเอกชนลดลงทันที

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจความเห็น เกี่ยวกับนโยบายการปรับค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลในอัตรา 400-425 บาทต่อวันทั่วประเทศจากสมาชิกหอการค้า 76 จังหวัด รวมทั้งสมาชิกผู้ประกอบการทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ รวม 1,355 กลุ่มตัวอย่าง โดยผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 93.9 กลุ่มตัวอย่างไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าแรงดังกล่าวเพราะจะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ และเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น

ดังนั้นหอการค้าไทย จึงเสนอต่อรัฐบาล โดยการปรับค่าแรงขั้นต่ำต้องยึดกลไกการพิจารณาคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างจังหวัดและคณะกรรมการค่าจ้างหรือไตรภาคี การพิจารณาจากทักษะฝีมือแรงงาน และขอให้มีการกำหนดใช้อัตราค่าจ้างแรกเข้าแทนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ทั้งนี้ หากมีการปรับค่าแรงของรัฐบาลจากวันละ 325 เป็น 400 บาท หรือขึ้นวันละ 75 บาท ถือว่าเป็นการปรับแบบก้าวกระโดด หรือสูงขึ้นร้อยละ 25-30 ซึ่งทำให้ค่าจ้างของไทยสูงสุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งสำคัญในอาเซียน เช่น มาเลเซีย ที่ขึ้นเพียงร้อยละ 10 และเวียดนามที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5

ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า หากการปรับค่าจ้างในช่วงนี้ ที่เศรษฐกิจซึมตัวจะส่งผลให้กำไรของเอกชนลดลงทันที ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้น เอกชน ต้องใช้เงินจ่ายค่าแรงที่เพิ่มขึ้นประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อเดือน แม้จะส่งผลระยะกลางให้กำลังซื้อปรับตัวดีขึ้น แต่จะส่งผลในระยะยาว ต่อการปรับลดคนงาน หรือชะลอการจ้างงาน และหันมาใช้เครื่องจักรแทน รวมถึงการลงทุนที่จะชะลอลงด้วย ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ให้ขยายตัวไม่ได้ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีให้โตได้ร้อยละ 5 ต่อปี