ประเด็นน่าสนใจ
- หอพลังความร้อนจากดวงอาทิตย์ ในมณฑลกานซู่ ของจีน ที่มีการพัฒนาให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชม.
- โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 390 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งเฉพาะในช่วงกลางคืนสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 100 เมกะวัตต์
“โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์” หรือ “โรงกระจกแห่งทะเลทรายโกบี” ที่รับแสงอาทิตย์ยามกลางวันและขับเคลื่อนการทำงานยามกลางคืนด้วยเกลือหลอมเหลว ขนาด 100 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ห่างจากเมืองตุนหวงของมณฑลกานซู่ไปทางตะวันตกราว 20 กิโลเมตร ประกอบด้วยกระจกเฮลิโอสแตต (Heliostat) มากกว่า 12,000 บาน เรียงรายล้อมหอคอยดูดซับความร้อนสูง 260 เมตร ที่ตั้งตระหง่านอยู่กลางวง
…
ทิวแถวกระจกดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่กว่า 1.4 ล้านตารางเมตร สามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 390 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง (Kwh) ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 350,000 ตันต่อปี ถือเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์แบบเกลือหลอมเหลวขนาดใหญ่ที่สุดและมีหอคอยดูดซับความร้อนสูงสุดในประเทศ ทั้งยังสามารถผลิตพลังงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
…
การผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ถือเป็นเทคโนโลยีประยุกต์ใช้พลังงานที่เกิดขึ้นใหม่และมีศักยภาพในการเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าขั้นพื้นฐาน โดยโรงไฟฟ้าแห่งนี้ใช้ประโยชน์จากโครงข่ายไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพในการส่งออกพลังงานไปยังทั่วประเทศ
เกี่ยวกับการผลิตความร้อนโดยใช้ Heliostat
สำหรับหอพลังความร้อนจากดวงอาทิตย์ ถูกนำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีหอสูงที่รับพลังงานความร้อนจากกระจกจำนวนมาก ๆ ที่หันเข้ารับหาแสงแดด และสะท้อนแสงไปรวมกันที่บริเวณหอคอย ที่จะทำหน้าที่สะสมความร้อนที่เกิดขึ้น
ในช่วงแรกของการพัฒนาจะมีการใช้ความร้อนที่เกิดขึ้นไปทำให้น้ำร้อนจนกลายเป็นไอน้ำ เพื่อส่งไปปั่นกักหันไอน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งพบปัญหาเมื่อไม่มีแสดงอาทิตย์ระบบดังกล่าวจะไม่สามารถใช้การได้ จึงมีการพัฒนาในการเก็บความร้อนไปสะสมในเกลือหลอมเหลว ที่อมความร้อนได้ดีกว่า เพื่อนำความร้อนที่เกิดขึ้นไปผลิตกระแสไฟฟ้าต่อในช่วงกลางคืนที่ไม่มีแสงแดด
ที่มา – ซินหัว