ชุดไทย นางทุงษะเทวี นางสงกรานต์ 2562 นุ่น-วรนุช เครื่องประดับโบราณ

เรียบแต่เลอค่า นุ่น วรนุช ยืนหนึ่งเรื่องชุดไทย ในเครื่องทองโบราณ มูลค่า 100 ล้าน

น้อยแต่มาก นุ่น วรนุช ภิรมย์ภักดี กับขบวนแห่นางทุงษะเทวี นางสงกรานต์ปี 2562 ขบวนแห่วัฒนธรรมไทยทางเรือ สมัยอยุธยา ที่จัดขึ้น The Iconic Songkran Festival 2019…

Home / แฟชั่น / เรียบแต่เลอค่า นุ่น วรนุช ยืนหนึ่งเรื่องชุดไทย ในเครื่องทองโบราณ มูลค่า 100 ล้าน

น้อยแต่มาก นุ่น วรนุช ภิรมย์ภักดี กับขบวนแห่นางทุงษะเทวี นางสงกรานต์ปี 2562 ขบวนแห่วัฒนธรรมไทยทางเรือ สมัยอยุธยา ที่จัดขึ้น The Iconic Songkran Festival 2019 ไอคอนสยาม มหัศจรรย์เจ้าพระยา มหาสงกรานต์ กับเสียงกล่าวถึงชุดไทยในงานนี้ ว่าทำไมสาวนุ่นถึงดูแต่งน้อย ชุดดูธรรมดา ดูเบามากกกกกก เรียบง่ายสุดๆ

นุ่น วรนุช
นุ่น วรนุช ภิรมย์ภักดี

แต่สำหรับความเป็น นุ่น วรนุช แล้ว เธอยืนหนึ่งเรื่องชุดไทย ไม่ว่าใส่ชุดไหนก็เอาอยู่ และที่สำคัญ ทำให้เราได้รับรู้ถึงคุณค่าของเรื่องราว เครื่องประดับไทยโบราณ ที่สวยสะดุดตา ที่สาวนุ่นได้ยอมรับว่าเป็นบุญมาก ที่มีโอกาสได้สวมใส่ในงานนี้ ทำให้รู้เลยว่าชุดที่เราเห็นว่ามีความธรรมดานั้น แท้จริงแล้ว คุณค่าและความงามในตัวของชิ้นงานนั้นประเมินค่ามิได้เลย

ขบวนแห่นางทุงษะเทวี นางสงกรานต์ปี 2562 ขบวนแห่วัฒนธรรมไทยทางเรือ สมัยอยุธยา

ชุดไทย แรงบันดาลใจจากภาพวาดนางทุงษะเทวี
เหมือนจริงๆ

เหมือนในภาพวาดมากจริงๆ เหมือนหลุดออกมาจากวรรณคดีไทย

ชุดไทยโบราณ ห่มสะไบแพรจีบ สีอมส้มเหมือนดอกทับทิม ซึ่งสไบใช้สีเรียบ เพื่อช่วยขับให้เครื่องทรงดูโดดเด่น นุ่งผ้ายกทอง สีแดงกล่ำ ราวกับผลมะเดื่อ / ชุดไทย โดย อาจารย์ วีรธรรม ตระกูลเงินไทย

นุ่งผ้ายกทอง ชั้นสูงแบบโบราณ โดย อาจารย์ วีรธรรม ตระกูลเงินไทย
ดูแลการแต่งกายโดย ครูไก่ ดร.สุรัตน์ จงดา และ น้องอาร์ท ภวัต จันทร์ดารักษ์

อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ครูศิลป์ของแผ่นดิน ผู้สืบสานงานหัตถศิลป์ไทย มรดกทางวัฒนธรรม หัวหน้ากลุ่มทอผ้าไหมยกทองจันทร์โสมา บ้านท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการอนุรักษ์ และฟื้นฟูการทอผ้ายกทองชั้นสูงแบบโบราณ

เครื่องประดับไทยโบราณ
อันทรงคุณค่า เรียบง่ายแต่ประเมินค่ามิได้

เครื่องทองโบราณอันทรงคุณค่า เก่าแก่งดงามยิ่ง
ดูขลังเหมือนสตรีชั้นสูงในวังจริงๆ

เครื่องประดับโบราณที่พี่ นุ่น วรนุช ภิรมย์ภักดี ใส่เดินเฉิดฉาย ในขบวนแห่นางสงกรานต์ เป็นที่พูดถึง เป็นอย่างมากในด้านคุณค่า เรื่องราว และความเก่าแก่โบราณ มาแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งกว่าเครื่องทรงแต่ละชิ้น จะได้มารวมอยู่ในที่เดียวกันนั้น คุณ พุทธพงษ์ ต้องใช้เวลารอมานานหลายปี กว่าจะรวมเครื่องทองชิ้นนี้เข้าด้วยกัน

งานช่างศิลป์สมัยโบราณ วิจิตรงดงามมาก เป็นบุญตาที่ได้เห็นยิ่งนัก

เครื่องประดับนี้ มีที่มา?

สร้อยพระศอ (สร้อยคอ) ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผู้ครอบครองล่าสุดคือหม่อมกอบแก้ว หม่อมท่านไม่มีทายาท แต่เป็นแม่อุปถัมภ์ของเจ้ากอแก้ว ตอนนี้คุณโจ๊ก พุทธพงษ์ เพียรเจริญ ( นักสะสมเพชรเเละอัญมณีโบราณสุดล้ำค่า ) เป็นผู้ครอบครองสร้อยเส้นนี้และยังครอบครองมงกุฏเพชรของเจ้ากอแก้ว ( Thairoyalfamily )

พระรูป พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ –
สร้อยพระศอ (สร้อยคอ)

พระรูป พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์ต้นราชสกุล “อาภากร” ฉลองพระองค์อย่างโบราณราชประเพณี โดยทรงรับหน้าที่ “โยงพระภูษา” ในการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ อรรควรราชกุมาร (สิ้นพระชนม์ ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๓๐), พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ (สิ้นพระชนม์ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๓๐), สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร นริศรราชกุมารี กรมพระเทพนารีรัตน์ (สิ้นพระชนม์ ๒๗ สิงหาคม ๒๔๓๐), สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (สิ้นพระชนม์ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๓๐) ซึ่งจัดขึ้นในคราวเดียวกัน ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ *สร้อยพระศอ(สร้อยคอ) ปัจจุบันเก็บรักษาโดยคุณพุทธพงษ์ เพียรเจริญ (Thairoyalfamily)

ภาพจากหนังสืออนุสรณ์เจ้ากอแก้ว ประกายกาวิล ณ เชียงใหม่
ยิ่งมองยิ่งขนลุก อินเนอร์พี่นุ่น จัดเต็มเหมือนหญิงไทยสมัยโบราณตัวจริง
เครื่องประดับมงกุฎเพชร สร้อยเพชร เข็มขัดทองประดับเพชรจริง เครื่องทองโบราณอันทรงคุณค่าสมัยรัชกาลที่ 5 มูลค่า 100 ล้านบาท
เจ้าของผู้ครอบครองเครื่องประดับไทยโบราณ คือ คุณ พุทธพงษ์ เพียรเจริญ

คุณพุทธพงษ์ เพียรเจริญ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า
ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์ ข้าหลวงในพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏฯ เคยเล่าไว้ว่า อัญมณีเหล่านี้แม้จะเป็นสิ่งมีค่ามีราคา แต่ในความรู้สึกของเจ้านายสมัยนั้น ค่าหรือราคาของอัญมณีเหล่านั้น มิได้มีมากไปกว่าค่าของคน ทรงแบ่งปันแจกจ่ายให้เป็นความสวยงามแก่ผู้ที่อยู่ใกล้ชิด หรือเป็นรางวัลแก่ผู้ที่ทำความดี (mgronline.com)

“คุณค่าของ “ของเก่า” ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านสงคราม ผ่านการเปลี่ยนแปลงมามากมาย ซึ่งเหมือนเราซื้อเวลา เราไม่สามารถย้อนกลับไป ณ. เวลานั้นได้อีกแล้ว เพราะฉะนั้น เงินที่ซื้อไปนั้น ถือว่าน้อยมาก ถ้าเทียบกับคุณค่าของ ของเก่า”

– พุทธพงษ์ เพียรเจริญ –

เพราะ ของดีและทรงคุณค่า…!!! ย่อมมีที่มาเสมอ

เรียบเรียงโดย : Women MThai