งานแต่งงาน บิ๊ก ศรุต งานแต่งงานดารา ปกป้องคนรัก ผู้หญิงอ้วน

กรณีศึกษา วิธีปกป้องคนรัก จากการถูกไซเบอร์บูลลี่ ของชายหนุ่มที่ทำเอาสาวๆ ปลื้มทั้งประเทศ

หลังจากที่มีภาพงานแต่งงานของดาราหนุ่ม บิ๊ก ศรุต เข้าพิธีแต่งงาน เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2562 ไปกับแฟนสาวนอกวงการ อุ้ม ชนัญพัชร หลังจากที่คบหาดูใจกันมานานถึง 7 ปี ก็กลายเป็นที่สนใจของผู้คนในโลกออนไลน์…

Home / แฟชั่น / กรณีศึกษา วิธีปกป้องคนรัก จากการถูกไซเบอร์บูลลี่ ของชายหนุ่มที่ทำเอาสาวๆ ปลื้มทั้งประเทศ

หลังจากที่มีภาพงานแต่งงานของดาราหนุ่ม บิ๊ก ศรุต เข้าพิธีแต่งงาน เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2562 ไปกับแฟนสาวนอกวงการ อุ้ม ชนัญพัชร หลังจากที่คบหาดูใจกันมานานถึง 7 ปี ก็กลายเป็นที่สนใจของผู้คนในโลกออนไลน์ แต่นั่นไม่ใช่เพราะภาพงานแต่งงานที่โรแมนติกงดงาม หากแต่กลายเป็นการพูดถึงเรื่อง รูปร่างของเจ้าสาว ที่กลายเป็นเรื่องสนุกปากให้ชาวเน็ตได้คอมเม้นต์กันอย่างกว้างขวาง..จนต้องหันกลับมาถามตัวเองว่า เรายังอยู่ในยุคที่ ผู้หญิงอ้วนคือตัวตลกให้ได้ล้อเลียนกันอยู่อีกหรือ??

เราเดินทางมาสู่ยุคศตวรรษที่ 21 แล้ว แต่ทำไม รูปร่าง หน้าตา ยังคงกลายเป็นฉากหน้าที่ผู้คน (บางกลุ่ม) มองเห็นเป็นสิ่งแรก หรือแม้แต่การเลือกจะทำร้ายผู้คนที่เราไม่รู้จัก ด้วยคำวิจารณ์เพียงเพราะความแตกต่างที่พวกเขามองเห็น

เขาสวยสำหรับผมเสมอ

บิ๊ก ศรุต กลายเป็นผู้ชายในฝันของหญิงสาวทั้งประเทศทันที เพราะหลังจากที่มีกระแสล้อเลียนภรรยาของเขา บิ๊ก ศรุต เลือกที่จะทำแค่เพียง ออกมาตอบอย่างยิ้มแย้มว่า “เขาสวยสำหรับผมเสมอ” พร้อมทั้งยังกล่าวถึงภรรยาว่า ขณะนี้เธอป่วยด้วยโรคไทรอยด์ จึงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เป็นหญิงสาวร่างเล็ก แต่ปัจจุบันน้ำหนักขึ้นไปกว่า 100กิโลกรัม และเธอก็มักจะบอกกับเขาเสมอว่าอาย ที่จะให้ใครเห็นว่า เขามีแฟนอ้วนแบบนี้ แต่สำหรับเขาแล้ว เธอยังคงสวยสำหรับเขาเสมอ และยังเล่าให้สื่อฟังอย่างสบายใจว่า ทุกวันนี้ก็ไปไหนมาไหนกันตามปกติ ผมไม่อายใครทั้งนั้น

ย้อนกลับไปเมื่อเมื่อปี 2017 Women Mthai เคยนำเสนอเรื่องราวของคู่รัก สาวอินโดกับหนุ่มโอปป้า อีกคู่ที่กลายเป็นที่สนใจได้รับการเข้าชมมากกว่า 3 แสนครั้ง

โดยเป็นเรื่องราวความรักของ สาวอินโดวัย 29 ปี เวร่า (Vera Nanda Putri) ที่ได้ไปพบรักกับหนุ่มเกาหลี จุน (Jun) นักกราฟฟิคดีไซเนอร์ แต่หลังจากทั้งคู่คบหากันก็มีคำวิจารณ์จากผู้คนรอบข้างถึงความแตกต่างกันในเรื่องของ รูปร่างหน้าตา ที่กลายเป็นที่พูดถึงอย่างสนุกปาก โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม


ภาพวินาทีที่ จุน คุกเข่าขอเธอแต่งงาน ต่อหน้าญาติผู้ใหญ่และครอบครัวเธอที่อินโดนีเซีย

อ่านเรื่อง >>ติ่งเกาหลีในวันนั้น คือสะใภ้เกาหลีในวันนี้ เรื่องจริงยิ่งกว่านิยาย ของคู่รัก สาวอินโดกับหนุ่มโอปป้า

Cyberbullying ไซเบอร์บูลลีอิง คือ การรังแกในรูปแบบยุคดิจิตอล โดยการใช้เครื่องมือสื่อสารเป็นเครื่องมือและเชื่อมต่อโดยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์

รศ.ดร.โธมัส กวาดามูซ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงปัญหาเรื่อง Cyberbullying ไว้ว่า

ปัญหา Cyberbullying ถือเป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่ต้องทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ไข โดยจากการวิจัยพบว่าเยาวชนไทย 1 ใน 3 เคยถูกรังแกในพื้นที่ออนไลน์ และอีกกว่า 70% เคยพบเห็นการรังแกดังกล่าว แต่ประเด็นดังกล่าวกลับถูกละเลยจากสังคม เนื่องจากมองว่าเป็นเรื่องเล่นๆ เป็นเรื่องไกลตัวที่อยู่แค่ในโลกออนไลน์ และไม่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งจริงๆ แล้ว ผลการวิจัยหลายชิ้นทั้งในและต่างประเทศ ต่างก็ชี้ถึงผลที่รุนแรงของ Cyberbullying ว่ามีผลต่อการดำเนินชีวิตในโลกแห่งความจริง เช่น ทำให้รู้สึกเครียด ไม่อยากไปโรงเรียน ผลการเรียนลดลง ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า และในบางกรณีอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย และที่สำคัญข้อมูลจะถูกกระจายออกไปในโลกออนไลน์อย่างรวดเร็ว และมีโอกาสที่จะถูกแชร์ซ้ำ วิพากษ์วิจารณ์ไม่หยุด ง่ายๆ เพียงปลายนิ้วมือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อสภาพทางจิตใจ และการใช้ชีวิตของคนที่ถูกกระทำอย่างประมาณไม่ได้

เด็กและเยาวชนคือกำลังสำคัญ ที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมดีขึ้นได้ เราจึงสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้เยาวชน ซึ่งกำลังจะกลายเป็นทั้งผู้กระทำและเหยื่อของความรุนแรงออนไลน์ ให้รู้เท่าทันสื่อ สามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญเยาวชนต้องสามารถลุกขึ้นมาใช้สื่อในมือพวกเขา ในการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ Cyberbullying จากมุมมองของพวกเขาให้สังคมได้รับรู้ เพื่อสร้างให้เกิดความตระหนักในประเด็นปัญหานี้ และสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมต่อไป

ที่มางานวิจัยจาก www.sh.mahidol.ac.th/gsh/th/5266