ฉีดวัคซีน วัคซีนโควิด-19 เป็นประจำเดือน

ผู้หญิงเป็นประจำเดือน ฉีดวัคซีนโควิด19 ได้ไหม

อีกประเด็นที่สาวๆยังสับสนถึงเรื่องของการที่ ผู้หญิงเป็นประจำเดือน สามารถ ฉีดวัคซีนโควิด19 ได้ตามปกติหรือไม่ มีคำอธิบายมาฝากเพื่อลดความกังวลใจ

Home / แฟชั่น / ผู้หญิงเป็นประจำเดือน ฉีดวัคซีนโควิด19 ได้ไหม

อีกหนึ่งประเด็นที่สาวๆยังสับสนในข้อมูลถึงเรื่องของการที่ ผู้หญิงเป็นประจำเดือน สามารถเข้ารับการ ฉีดวัคซีนโควิด19 ได้ตามปกติหรือไม่นั้น เราได้รวบรวมคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันเพื่อไขข้อสงสัยและลดความกังวลใจมาให้ได้ติดตามกันค่ะ

ผู้หญิงที่มีประจำเดือนหรือกำลังจะมีประจำเดือน สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ตามปกติ แต่ในกรณีที่คุณผู้หญิงที่เป็นประจำเดือนแล้วมีอาการปวดท้องประจำเดือนมากและจำเป็นต้องกินยาแก้ปวดประจำเดือน หรือ ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs (หรือยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ NSAIDs หรือ เอ็นเสด) เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) , พอนสแตน (PONSTAN) , แอสไพริน (Aspirin) เป็นต้น ถ้าจำเป็นต้องรับประทานยาในกลุ่มนี้แนะนำให้หลีกเลี่ยงการรับประทานยาก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด19 ซึ่งยาแก้ปวดกลุ่มนี้อาจทำให้ผลข้างเคียงการเกิด ลิ่มเลือด และเลือดออกไม่หยุดได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงได้มากที่สุดให้งดยาแก้ปวดกลุ่มนี้ไปก่อน

หรือสำหรับในกรณีที่ผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือน มีอาการอื่นๆร่วมด้วยนอกเหนือจากอาการปวดท้อง เช่น ปวดหัวไมเกรน และจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดไมเกรน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วยาในกลุ่มแก้ปวดไมเกรน เช่น Ibuprofen, Naproxen, Celecoxib, Etoricoxib จัดอยู่ในกลุ่มยาลดการอักเสบที่ไม่ไช่สเตียรอด์ (NSAIDs) เช่นกัน จึงควรหลีกเลี่ยงการกินยากลุ่มนี้ แต่ยังสามารถรับประทานยาแก้ปวด พาราเซตามอล แทนได้

สำหรับในกรณีที่กินยาแก้ปวดประเภท พาราเซตามอล ทั่วไป สามารถกินได้ตามปกติและสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ตามปกติ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องผลกระทบใดๆ

กล่าวโดยสรุปคือ ผู้หญิงเป็นประจำเดือน สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด19 ได้ตามปกติ
แต่ในกลุ่มผู้หญิงที่กินยาลดปวดประจำเดือนกลุ่ม NSAIDs ให้งดกินยาประเภทนี้ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน แต่ยังสามารถใช้ยา พาราเซตามอลแก้ปวดแทนได้

ยาใดบ้างที่จัดเป็น NSAIDs (เอ็นเสด) อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์

ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs หรือเอ็นเสด) มีมากมาย เช่น แอสไพริน (aspirin หรือ acetyl salicylic acid), ไอบูโพรเฟน (ibuprofen), ไดโคลฟีแน็ก (diclofenac), นาพร็อกเซน (naproxen), ไพร็อกซิแคม (piroxicam), เมล็อกซิแคม (meloxicam), เซเลค็อกสิบ (celecoxib), เอทอริค็อกสิบ (etoricoxib)

https://pharmacy.mahidol.ac.th/