9 เทคนิค วิธีป้องกันไฟไหม้บ้าน ฉบับเชิงรุก รับรองไม่หมดตัวแน่!

หน้าร้อนย่างกรายมาเยือนไทยอย่างเต็มรูปแบบแล้ว แถมยังเกิดเหตุเพลิงไหม้กันแทบทุกวัน จะดีกว่าไหม ถ้าเราจะศึกษาเทคนิค วิธีป้องกันไฟไหม้บ้าน ฉบับเชิงรุก ในแบบคนรู้จักวางแผน ไม่ประมาทในการใช้ชีวิตกันให้ดีเสียก่อน ที่เหตุการณ์มันจะเกิด เพราะคำเล่าที่เขากล่าวขานกันมาช้านานว่า “โจรปล้นบ้าน 10 ครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้บ้านครั้งเดียว” นั้น…

Home / DECOR / 9 เทคนิค วิธีป้องกันไฟไหม้บ้าน ฉบับเชิงรุก รับรองไม่หมดตัวแน่!

หน้าร้อนย่างกรายมาเยือนไทยอย่างเต็มรูปแบบแล้ว แถมยังเกิดเหตุเพลิงไหม้กันแทบทุกวัน จะดีกว่าไหม ถ้าเราจะศึกษาเทคนิค วิธีป้องกันไฟไหม้บ้าน ฉบับเชิงรุก ในแบบคนรู้จักวางแผน ไม่ประมาทในการใช้ชีวิตกันให้ดีเสียก่อน ที่เหตุการณ์มันจะเกิด เพราะคำเล่าที่เขากล่าวขานกันมาช้านานว่า “โจรปล้นบ้าน 10 ครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้บ้านครั้งเดียว” นั้น ไม่ใช่คำพูดเล่นๆ ลอยๆ เลยค่ะ

เครื่องตรวจจับควัน

1.ติดตั้ง เครื่องตรวจจับควัน 
เครื่องตรวจจับควัน ( smoke detector ) ทำงานจากการวัดความโปร่งแสงโดยเครื่องจะมีหัวส่งแสงชึ่งอาจเป็นชนิดอินฟราเรด หรือ แบบแอลอีดีก็ได้พูดง่ายๆ คือมีแหล่งกำเนิดแสงอ้างอิง และ อีกฝั่งหนึ่งจะเป็นตัวเซ็นเซอร์วัดแสง โดยในสภาวะปกติ แสงจะสามารถทะลุผ่านอากาศมายังหัวรับแสงซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น โฟโต้ทรานซิสเตอร์ แต่เมื่อมีควันหรือ ไฟไหม้ อนุภาคของควันไฟ จะบดบังทำให้เกิดสภาวะทึบหรือไม่โปร่งแสง ดังนั้นระบบก็จะสามารถบอกได้ว่าตอนนี้เกิดไฟไหม้ได้ ดังนั้น การทำงานของเครื่องจึงไม่ซับซ้อนเหมือนเครื่องวัดแก๊สรั่ว

ซึ่งมีข้อดี คือ ตรวจจับไฟฟ้าได้เร็วเพราะเมื่อเกิดไฟไหม้ครั้งแรกๆ จะเกิดควันไฟก่อนหลังจากนั้นจึงจะเกิดก่ารเผาไหม้หรือติดไฟลุกลาม ดังนั้นเครื่องจะเตือนไม่เหตุหรือแจ้งเหตุได้เร็วกว่า แบบตรวจจับความร้อน Heat Detector
เราจะสังเกตเห็นว่าเป็นเครื่องนี้หรือเปล่า ดูง่ายๆ จะมีหลอด LED กะพริบ ตลอดเวลา หากมีหลอดแต่ไม่กะพริบ อันนี้ระบบอาจเสีย

ส่วน ข้อเสีย คือ มีราคาแพง โดยปกติจะประมาณ 4 เท่าของ Heat Detector  และยังมีโอกาสเกิด fault alarm ได้ง่าย แถมยัง มีข้อจำกัดในการติดตั้งบางพื้นที่ เช่น ห้องครัว , ห้องหรือบ้านที่อยู่บริเวณทะเล เป็นต้น

หมายเหตุ : ควรเช็คสภาพการใช้งาน และตรวจสอบแบตเตอรี่ เป็นประจำอย่างน้อย ทุกๆ 3 – 4 เดือน

2. ติดตั้งเครื่องตัดไฟ
เครื่องตัดไฟ หรือ เซฟทีคัท เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกบ้านที่เรามองข้ามไม่ได้เลยค่ะ เมื่อไฟฟ้าภายในบ้านเกิดลัดวงจรหรือ มีปัญหาขึ้นมา เจ้าเครื่องนี้จะช่วยตัดการจ่ายกระแสไฟฟ้าในทันที ช่วยให้เจ้าของบ้านเบาใจกับปัญหาไฟไหม้บ้านไปได้เปลาะหนึ่งค่ะ

ถังดับเพลิง

3.ติดตั้งถังดับเพลิงในบ้าน
นี่ก็ของใช้จำเป็นอันดับหนึ่งของบ้านค่ะ ไม่ได้มีไว้ประดับบ้าน แต่มีไว้ใช้ป้องกันและรักษาชีวิตและทรัพย์สินของเราให้ปลอดภัย ควรติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่ฉวยออกมาใช้งานได้ง่าย ไม่มีอะไรมาตั้งบัง โดยต้องเป็นจุดที่สมาชิกทุกคนในบ้านรับรู้ว่าถังดับเพลิงตั้งอยู่ตรงนี้นะ นอกจากนี้ยังต้องคอยเช็ควันหมดอายุ และศึกษาวิธีการใช้งานถังดับเพลิงให้เป็นอีกด้วยนะคะ

เบอร์โทรฉุกเฉิน

4.จัดเก็บเบอร์โทรฉุกเฉินไว้ในสมาร์ทโฟนโดยตั้งค่าเป็น Emergency  call หรือ ติดเบอร์ไว้ในจุดที่เห็นได้ชัดเจน
เบอร์โทรฉุกเฉิน เช่น เบอร์โทรสถานีดับเพลิง สถานีตำรวจ และเบอร์โทรโรงพยาบาลใกล้บ้าน ควร จัดเก็บเบอร์โทรฉุกเฉินไว้ในสมาร์ทโฟนโดยตั้งค่าเป็น Emergency  call ในมือถือแต่ละเครื่องของสมาชิกภายในบ้าน รวมถึง เขียนติดไว้ในจุดที่ทุกคนในบ้านสามารถเห็นได้ชัดเจน อาจดูเล็กน้อยแต่นี่เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเมื่อเกิดเหตุจริงๆ จะฉุกละหุก ลนลาน จนอาจหาเบอร์ไม่เจอ เพื่อความสะดวกติดไว้บนกำแพงให้เห็นเด่นๆ กันไปเลยค่ะ

ไฟไหม้

5.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง
จากไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน ทั้งการเข้าครัวทำอาหาร การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ การสูบบุหรี่บนเตียง หรือ บนโซฟา การวางสิ่งของที่เป็นวัตถุไวไฟไว้ใกล้ปลั๊กไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ เตาไฟ หรือ แม้แต่การปล่อยปละละเลยให้เด็กๆ เล่นไฟ ก็เป็นสาเหตุของไฟไหม้บ้าน กันมาแล้วนักต่อนักค่ะ ดังนั้น ก่อนเข้านอน และ ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง ควรเช็คความเรียบร้อยของ เตาแก๊ส ปลั๊กไฟ และ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ว่าปิดหรือถอดปลั๊กแล้วจริงๆ ควรตรวจสอบสภาพสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าก่อนใช้ทุกครั้งว่าชำรุดหรือไม่ หากมีสวนในบ้านก็หมั่นคอยเก็บกวาดใบไม้แห้งให้เรียบร้อย หรือ หากละแวกบ้าน มีพื้นที่รกร้าง ก็มักจะมีคนนำขยะมาทิ้ง อย่าคิดว่าไม่ใช่บ้านเรา เพราะขยะเหล่านั้นอาจเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี หมั่นคอยสังเกต ขอความร่วมมือจากชุมชนหรือ กรรมการหมู่บ้านเพื่อคอยดูแลไม่ให้ใครนำขยะมาทิ้ง หรือ จุดไฟเผาหญ้า เพราะอาจก่อให้เกิดไฟไหม้ลุกลามได้ แถมยังเป็นการทำลายสภาพแวดล้อมที่ดีในชุมชนอีกด้วย

ชั้นวางของ

6.จัดวางของใช้สำคัญๆ ในจุดที่หยิบง่าย
กุญแจบ้าน ,กุญแจรถ กระเป๋าสตางค์ ควรจัดเก็บให้เป็นที่เป็นทาง หยิบสอยได้ง่าย และไม่เปลี่ยนตำแหน่ง โดยสมาชิกทุกคนในบ้านควรต้องรับรู้จุดวางสิ่งของเหล่านี้ร่วมกัน เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขันจะได้ช่วยกันหนีออกมาได้ทันถ่วงที

ตู้เซฟธนาคาร

7. แบ่งสรรจัดเก็บทรัพย์สินไว้นอกบ้านบ้าง
การแบ่งจัดเก็บทรัพย์สินสำคัญๆ บางส่วนไว้ในตู้เซฟธนาคาร เป็นการวางแผนการชีวิตอย่างรอบคอบอีกทางหนึ่งค่ะ หากเกิดเหตุร้ายขึ้นมาจริงๆ อย่างน้อยๆ เราก็ยังเหลือทรัพย์สินไว้ติดตัวได้บ้างนะคะ

8. ทำประกันอัคคีภัย 
เหตุไฟไหม้ ไม่เกิดขึ้นเป็นดีที่สุด แต่อนาคตใครเลยจะรู้ได้ โจรปล้น 10 ครั้ง ยังไม่เท่าไฟไหม้บ้านเพียงครั้งเดียว ที่หายวับไปไม่เหลืออะไรให้เราอีกเลย การทำประกันอัคคีภัยไว้ก็สร้างความอุ่นใจให้กับเราและคนในครอบครัวได้มากขึ้น หากเกิดเหตุร้ายก็ยังคงมีความช่วยเหลือไว้ให้เราและครอบครัวอุ่นใจได้บ้าง

ผูกมิตรเพื่อนบ้าน

9. ผูกมิตรกับเพื่อนบ้านไว้
เป็นมิตร ดีกว่ามีศัตรู เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงนี่เป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยเป็นหูเป็นตาให้ได้ยามเจ้าของบ้านมีเหตุให้จำเป็นต้องไม่ได้อยู่บ้านเป็นเวลานาน ทั้งเรื่องฟืนไฟ ทั้งเรื่องโจรขโมย หรือ เหตุการณ์ร้ายแรงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ภายในบ้านค่ะ

หมายเหตุ  : เมื่อยามเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง สิ่งที่มักจะเกิดติดตามมาก็คือไฟไหม้ เนื่องมาจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือถึงแก๊สระเบิด จึงควรให้ความใส่ใจในเรื่องอัคคีภัยนี้เอาไว้ด้วยค่ะ