วันตรุษจีน วันตรุษจีน ปี 2566 เทศกาลตรุษจีน

วันตรุษจีน ปีใหม่ของชาวจีน สำคัญอย่างไร

วันอาทิตย์ ที่ 22 มกราคม 2566 นี้ ก็จะเข้าสู่เทศกาลตรุษจีน หรือวันปีใหม่ของชาวจีน สิ่งถือว่ามีความสำคัญมาก และเป็นทำเนียมที่ยึดถือกันมานาน ชาวจีนที่ทำงานอย่างหนักมาตลอดทั้งปี จะหยุดพักผ่อน ท่องเที่ยวในเทศกาลนี้ วันนี้เว็บไซต์ MThai จะพาทุกคนไปรู้จักกับเทศกาลตรุษจีน หรือวันตรุษจีน แบบเจาะลึก ว่ามีความสำคัญอย่างไร

Home / ไลฟ์สไตล์ / วันตรุษจีน ปีใหม่ของชาวจีน สำคัญอย่างไร

วันอาทิตย์ ที่ 22 มกราคม 2566 นี้ ก็จะเข้าสู่เทศกาลตรุษจีน หรือวันปีใหม่ของชาวจีน สิ่งถือว่ามีความสำคัญมาก และเป็นทำเนียมที่ยึดถือกันมานาน ชาวจีนที่ทำงานอย่างหนักมาตลอดทั้งปี จะหยุดพักผ่อน ท่องเที่ยวในเทศกาลนี้ วันนี้เว็บไซต์ MThai จะพาทุกคนไปรู้จักกับเทศกาลตรุษจีน หรือวันตรุษจีน แบบเจาะลึก ว่ามีความสำคัญอย่างไร

เทศกาลตรุษจีน หรือวันตรุษจีน วันเริ่มต้นปีใหม่ของชาวจีน ที่สืบทอดกันมาตามปฎิทินจีนโบราณ ที่เรียกว่าปฏิทินสุริยคติหรือปฏิทินจันทรคติ ประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เรียกได้เป็นศตวรรษ หรือราวๆ 100 กว่าปี ซึ่งวันตรุษจีนได้ถูกกำหนดตามปฏิทินจันทรคติที่อิงค์เรื่องของดวงจันทร์มาเป็นตัวกำหนดว่าวันตรุษจีนนั้นจะตรงกับวันไหน เพราะในแต่ละปีเทศกาลตรุษจีนจะไม่ตรงกัน และไม่ตรงกับปฏิทินสากลด้วย โดยมักจะอยู่ในช่วงปลายเดือนมกราคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และอีกชื่อเรียกหนึ่งของวันตรุษจีนนั้นก็คือ “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ”


เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ

เกิดจากความตั้งใจที่จะเฉลิมฉลองและการพบปะรวมญาติล้อมวงทานข้าวกันอย่างมีความสุข ในวันที่ประเทศจีนถูกปกคลุมไปด้วยหิมะ และไม่สามารถทำเกษตรได้ จึงเป็นเหตุจำเป็นที่ต้องหยุดพักและเปลี่ยนวันให้กลายเป็นวันเฉลิมฉลอง จัดสถานที่เตรียมอาหาร และไหว้เหล่าบรรดาบรรพบุรุษ บูชาไหว้เทพเจ้า ล้อมวงทานอาหาร รวมไปถึงการแจก ”อั่งเปา”

“อั่งเปาซองสีแดง” หรืออีกชื่อเรียกหนึ่งคือ “แต๊ะเอีย” ที่แปลว่าผูกเอว

โดยสมัยก่อนเหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็กๆ ซึ่งจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว ซึ่งอั่งเปาเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่ทุกคนทราบกันดีว่าจะต้องมีทุกครั้งในวันตรุษจีน ตามธรรมเนียมผู้ใหญ่ที่ผ่านการแต่งงานมาและทำงานมีรายได้ จะมอบซองสีแดงที่มีเงินจำนวนหนึ่งอยู่ข้างในให้กับเด็กๆ ที่มีอายุต่ำกว่า หรือยังไม่ได้ทำงาน พร้อมกล่าวสวัสดีปีใหม่ และเงินที่ใส่ในซองอั่งเปานั้น มักจะมีจำนวนเป็นเลขนำโชคของจีนนั่นคือเลข 8

และทำไมตรุษจีนจะต้องเป็นสีแดง

เพราะว่าสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของสี ที่เป็นสิริมงคล ความหมายของสีแดงนั้นคือ มีความสุข มีความโชคดี มีอายุที่ยืนยาว รวมถึงสีแดงเป็นสีที่มีพลังอำนาจที่สามารถขับไล่สิ่งอัปมงคลและสิ่งชั่วร้าย และภูตผีปีศาจทั้งหลาย นอกจากนี้สีแดงยังเป็นสัญลักษณ์แทนธาตุไฟ ที่สื่อถึงความเป็นมงคลและความเจริญรุ่งเรืองอีกด้วย

อาหารมงคลวันตรุษจีน

อาหารก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชาวจีนให้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เพราะการกินดีอยู่ดีเป็นเรื่องสำคัญในวันเริ่มต้นปีใหม่ ซึ่งในวันตรุษจีนประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่อาหารไปจนถึงเสื้อผ้า ซึ่งอาหารแต่ละอย่างจะมีความหมายที่แตกต่างกันไป อาหารค่ำนั้นต้องประกอบด้วยอาหารทะเล เช่น

  • กุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรืองและความสุข
  • เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี
  • สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี
  • จี้ไช่สาหร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความร่ำรวยมาให้
  • และขนมต้มหมายถึงบรรพชนอวยพร

ส่วนเสื้อผ้าชาวจีนจะเน้นสีแดงเป็นหลัก และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์


การไหว้เจ้าและบรรพบุรุษ

สิ่งสำคัญนั้นคืออาหาร เพราะหากจัดไม่ตรง ไม่ดี ก็อาจจะไม่มีโชคลาภเข้ามาก็ได้
โดยชาวจีนมักจัดเนื้อสัตว์ 3 หรือ 5 อย่าง รวมถึงอาหารแห้ง, อาหารเจ, ผลไม้, ขนมมงคล เตรียมไว้สำหรับการไหว้ โดยมีความเชื่อของอาหารแต่ละอย่าง ที่แตกต่างกันไป เช่น

  • เม็ดบัว มีความหมายถึงการมีลูกหลานที่เป็นชาย
  • เกาลัด มีความหมายถึงเงิน
  • ไก่ สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์
  • และการเตรียมอาหารจำนวนมาก ความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยของบ้าน

15 วันแห่งการฉลองตรุษจีน ในประเทศจีนจะแตกต่างกว่าในประเทศไทย ที่มีระบุไว้เพียงแค่ 3 วันเท่านั้น โดยแบ่งเป็นแค่วันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว แต่ที่ประเทศจีน จะถูกแบ่งออกเป็น 15 วัน

  • โดยวันแรกของปีใหม่ เป็นการต้อนรับเทวดาแห่งสวรรค์และโลก และหลายคนงดทานเนื้อในวันนี้ ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการต่ออายุ และนำมาซึ่งความสุขในชีวิตให้กับตน
  • วันที่สอง ชาวจีนจะไหว้บรรพชนและเทวดาทั้งหลาย และจะดีเป็นพิเศษกับสุนัขที่เลี้ยง โดยจะเลี้ยงดูให้ข้าวและอาบน้ำให้แก่มัน โดยเชื่อว่าวันที่สองนี้เป็นวันที่สุนัขเกิด
  • วันที่สามและสี่ เป็นวันของบุตรเขยจะต้องทำความเคารพแก่พ่อตาแม่ยายของตน
  • วันที่ห้า เรียกว่า พูวู ซึ่งวันนี้ทุกคนจะอยู่กับบ้านเพื่อต้อนรับการมาเยือนของเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย ในวันนี้จะไม่มีใครไปเยี่ยมใครเพราะจะถือว่าเป็นการนำโชคร้ายมาแก่ทั้งสองฝ่าย
  • วันที่หก ชาวจีนจะเดินทางไปเยี่ยมญาติพี่น้องเพื่อนฝูงของครอบครัว และไปวัดสวดมนต์เพื่อความร่ำรวย และความสุข
  • วันที่เจ็ด เป็นวันที่ชาวนานำเอาผลผลิตของตนออกมา ชาวนาเหล่านี้จะทำน้ำที่ทำมาจากผักเจ็ดชนิดเพื่อฉลอง
  • วันที่แปด ชาวฟูเจียนจะทานอาหารร่วมกันกับครอบครัวอีกครั้ง และเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนทุกคนจะสวดมนต์ของพรจาก เทียนกงเทพแห่งสวรรค์
  • วันที่เก้า จะสวดมนต์ไหว้และถวายอาหารแก่ เง็กเซียนฮ่องเต้
  • วันที่สิบถึงวันที่สิบสอง เป็นวันรวมญาติมาทานอาหารเย็น
  • วันที่สิบสาม หลังจากที่เฉลิมฉลองในการทานอาหารที่หลากหลายและอย่างเต็มที่แล้ว ก็เปลี่ยนมาทานข้าวธรรมดากับผักดองกิมกิ ถือเป็นการชำระล้างร่างกาย
  • วันที่สิบสี่ ควรเป็นวันที่เตรียมงานฉลองโคมไฟซึ่งจะมีขึ้น ในคืนของวันที่สิบห้าแห่งการฉลองตรุษจีน

ขนบธรรมเนียมเหล่านี้ได้ถูกสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และเดินทางกันมาเป็นศตวรรษ โดยการออกไปพบปะญาติ มิตรสหายในปีละครั้งจึงเป็นเหมือนการได้พักผ่อน หลังจากทำงานเกษตรมาตลอดทั้งปี

ดังนั้น “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” จึงถูกกำหนดให้เป็นวันสำคัญของชาวจีน และชาวต่างชาติเชื้อสายจีน ที่จะมารวมตัวกัน พบปะญาติมิตรสหาย นั่งทานข้าว เฉลิมฉลองในวันหยุดที่เรียกว่า “วันตรุษจีน”