พระพุทธรูป ปางถวายพระเพลิง เด่นเรื่องคุ้มครองชะตาจากโรคภัยไข้เจ็บ เคราะห์โศกทั้งปวง ด้วยความศรัทธา จึงมีการเข้ามาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะยามมีทุกข์
พระพุทธรูป ปางถวายพระเพลิง เด่นเรื่องคุ้มครองชะตาจากโรคภัยไข้เจ็บ เคราะห์โศกทั้งปวง ซึ่งประดิษฐาน ณ วัดราชคฤห์วรวิหาร แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูป ปางถวายพระเพลิง คือท่าบรรทมของพระพุทธองค์ ท่านอนหงายเกิดขึ้นหลังจากพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้ว
ตามความเชื่อความนับถือที่สืบต่อกันมาบ้าง ด้วยความศรัทธาเป็นการส่วนตัวบ้าง การเข้ามาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การสัมผัสได้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะในยามมีทุกข์ สำหรับคติความเชื่อของพุทธศาสนิกชน ที่เดินทางมากราบไหว้ขอพรจากพระเจ้าเข้านิพพาน และพระบรมศพนั้น ต่างเชื่อว่า เมื่อได้มากราบพระบาทของพระพุทธเจ้าแล้วอธิษฐานขอสิ่งที่ต้องการแล้วจะ สัมฤทธิผลทุกประการจึงทำให้มีพุทธศาสนิกชน และนักท่องเที่ยวแห่แหนเดินทางมากราบไหว้ขอพรจากพระเจ้าเข้านิพพาน และพระบรมศพ อย่างไม่ขาดสายตลอดทั้งปี
หลายตำราบอกว่าปางปรินิพพาน ต่างจากปางไสยาสน์ตรงที่พระหัตถ์ของพระองค์จะไม่ทรงชันพระเศียรตั้งขึ้น แต่จะแผ่ราบลงกับพื้น ซึ่งเป็นลักษณะทอดร่างวางขันธ์ดับ มุ่งสู่มหาปรินิพพาน ณ กุฎพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา เหล่าพุทธสาวกจัดพระพุทธสรีรศพด้วยการนำผ้าใหม่ซับด้วยสำลีห่อด้วยผ้าห้า ร้อยคู่ ก่อนอัญเชิญประดิษฐานยังรางเหล็กด้วยลักษณะบรรทมหงาย บนจิตกาธานที่เป็นไม้หอมล้วนเพื่อประกอบฌาปนกิจถวายพระเพลิง ตามความเชื่อพระพุทธรูปนี้ล่ำลือเชื่อถือกันมายาวนานว่าศักดิ์สิทธิ์นัก โดยเฉพาะในเรื่องคุ้มครองชะตาจากโรคภัยไข้เจ็บเคราะห์โศกทั้งปวง
อย่างไรก็ดีเดิมที พระพุทธรูป ปางถวายพระเพลิง นี้มีเรื่องราวก็มีอยู่ว่า พระพุทธรูป นี้มีอายุเก่าแก่มาแต่สมัยอยุธยา รัชกาลของพระเอกาทศรถ หรือพระองค์ขาว ช่วงหนึ่งบ้านเมืองมีโรคระบาด ทำให้มีผู้คนล้มตายกันไปมาก และบ้านเมืองยังขาดความสามัคคี ปรากฏความเดือดร้อนทุกข์เข็ญ เรียกว่า เป็นอาเพศ เมื่อการเป็นเช่นนี้เจ้าเมืองจึงไปกราบทูลปรึกษา พระเจ้าเอกาทศรถ แล้วขอคำแนะนำจากพระสังฆราช เมื่อท่านตรัสบอกให้โหรตรวจดู โหรว่าเพราะวางฤกษ์เสาหลักเมืองไม่ถูกต้อง ต้องแก้ดวงเมือง แล้วก็จัดหาฤกษ์ยามที่เห็นว่าดีเพื่อวางเสาหลักเมืองใหม่ พร้อมกับสร้างพระปางบรรทมหงายนี้ เพื่อเป็นการแก้ว่าให้ร้ายกลับกลายเป็นดีพอเจ้าเมืองธนบุรีพร้อมเหล่าประชา ชีแก้ดวงเมืองเช่นนี้แล้ว เมืองธนบุรีก็กลับอุดมสมบูรณ์ และเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมา ชาวบ้านชาวเมืองก็อยู่เย็นเป็นสุขพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ
ขอบคุณข้อมูลจาก อ . ตั้ม ศรีนเรศพยากรณ์