น้ำมนต์ กับความเชื่อในการรักษาโรค นั้น จริงๆแล้ว ก็มีมานานคู่กับคนไทย ไม่ว่าจะไปทำบุญที่ไหน วัดไหน ก็มักจะให้หลวงพ่อ หลวงพี่ รด น้ำมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคล หรือ ถ้ามีโรคภัยไข้เจ็บอยู่ก็จะนำ น้ำมนต์ หลวงพ่อกลับมาอาบ มาดื่ม อีกด้วย
น้ำมนต์ คือ น้ำที่ได้ผ่านพิธีทำ น้ำมนต์ ปกติจะสำเร็จด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์ ในงานพิธีมงคลต่างๆ หรือการเสกของพระภิกษุ หรือ คฤหัสถ์ ผู้ทรงวิทยาคุณ ซึ่งก็คือ ผ่านการทำสมาธิ ที่แน่วแน่ และพระปริตร ที่เป็นมนต์ทางศาสนา มาแล้ว นั่นเอง
น้ำมนต์ นิยมนำมาอาบ หรือดื่ม หรือประพรมที่ศีรษะ ประพรมภายในบ้าน บริเวณบ้าน ป้ายร้านค้า เป็นต้น นี่เป็นความหมายของ น้ำมนต์ จากพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัดของพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ ผู้จัดทำส่วนใหญ่จะนำ น้ำมนต์ จากพระอารามหลวง 75 จังหวัด มาเทผสมรวมกัน ซึ่ง น้ำมนต์ ที่ขึ้นชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ นอกเหนือจากพระอารามหลวง ทั้ง 75 จังหวัดแล้ว ยังมีอีก 2 แห่ง คือ
1. น้ำมนต์ ศักดิ์สิทธิ์ จากเศียรหลวงพ่อทองสุข วัดตูม (พระอารามหลวง) อยู่ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ตามตำนานกล่าวว่า …สมเด็จพระนเรศวรใช้ น้ำมนต์ วัดตูม ชุบพระแสง และเป็นอารามที่ประกอบพิธีปลุกเสกเครื่องพิชัยสงคราม มาแต่ครั้งสมัยอยุธยา
2. น้ำมนต์ จากเศียรหลวงพ่ออุ่นเมือง วัดน้ำฮูม อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ตามตำนานกล่าวว่า …พระเกศา พระสุพรรณกัลยา บรรจุอยู่ในสถูปวัดน้ำฮูมแห่งนี้
คติความเชื่อเรื่อง น้ำมนต์ นั้น นอกจากความเป็นสิริมงคลสำหรับผู้ประพรม อาบและดื่มแล้ว ยังมีคติความเชื่อ ที่ว่าด้วย น้ำมนต์ ยังนำสิริมงคล และความสวัสดีมีโชคมาให้ ตลอดถึงกำจัด ปัดเป่าสิ่งอัปมงคล อันตราย และภัยพิบัติต่างๆ ได้ เช่น กรณีของ น้ำมนต์ เสือกินน้ำ ซึ่งเป็นตำรับการทำ น้ำมนต์ ของพระครูปลัดปริยัติวรวัฒน์ หรือหลวงพ่อบุญเลิศ เจ้าอาวาสวัดปราโมทย์ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ซึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดจากพระธุดงค์รูปหนึ่งเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว
ขอบคุณภาพจาก news.nipa watparsomdej1.com