สถานการณ์ภาพรวมในวันนี้
- ภาพรวมการระบาดยังคงเป็นไปในทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้น แม้วันนี้จะลดลงก็ตาม
- ยอดผู้ป่วยโควิด-19 จาก PCR ลดลง แต่ยังคงเกิน 1 หมื่นราย ส่วน ATK ลดลงเช่นกัน โดย PCR รวม ATK อยู่ที่ 14,297 ราย
- หายป่วยเพิ่มขึ้นเกือบ 9 พันราย สูงที่สุดในรอบกว่า 3 เดือน แต่ยังต่ำกว่ายอดผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่
- จำนวนผู้ที่เข้ารักษาตัวยังเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นกว่า 1 หมื่นรายใน สัปดาห์เดียว
- จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงจากเมื่อวานนี้ แนวโน้มยังทรงตัว เช่นเดียวกับอัตราการป่วยหนัก-ใช้ท่อช่วยหายใจ
…
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยประจำวันนี้ ( 8 ก.พ. 65 ) โดยยอดผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยวันนี้
ผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่
พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ 10,398 ราย รวมสะสม 2,517,869 ราย โดยอัตราการติดเชื้อ 13% ใน สำหรับการพบผู้ป่วยโควิด-19 ในขณะนี้แบ่งเป็น
- ผู้ติดเชื้อในชุมชน 10,177 ราย
- ในเรือนจำ 19 ราย
- มาจากตปท. 202 ราย
ยอดผู้ติดเชื้อเข้าข่ายจากการตรวจ ATK 3,899 ราย รวมสะสมทั้งหมด 469,090 ราย
ยอดผู้ป่วยโควิด-19 ในวันนี้ ลดลงจากเมื่อวานเล็กน้อย แต่ยังคงอยู่ในระดับเกิน 1 หมื่นราย แต่แนวโน้มการพบผู้ป่วยยังคงอยู่ในระดับที่เป็นไปในทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
กรุงเทพฯ – ปริมณฑล
กรุงเทพฯ +1,897 ราย สูงที่สุดในรอบตั้งแต่เดือน พ.ย. 64 เป็นต้นมา ในขณะที่สมุทรปราการยังทรงตัว นนทบุรีมีแนวโน้มขยับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยวันนี้ +578 ราย
ส่วนของสมุทรสาคร นครปฐม ปทุมธานี แนวโน้มลดลงต่ำกว่าในช่วง 14 วันก่อนหน้า
ต่างจังหวัด
หลายจังหวัดเริ่มมีรายงานพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น และต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า จะเป็นเพียงการพุ่งขึ้นในระยะสั้น จากการเจอคลัสเตอร์ใหม่ หรือจะเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในระยะยาว เช่น
- ชลบุรี +610 ราย แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
- นครราชสีมา +341 ราย พุ่งสูงขึ้นเกิน 300 รายอีกครั้ง
- เชียงใหม่ +212 รายและแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ไม่มีแนวโน้มชะลอตัว หรือลดลง
- สระบุรี +154 ราย แนวโน้มคล้ายเชียงใหม่คือ เพิ่มต่อเนื่อง ไม่ชะลอตัว
- สระแก้ว นครสวรรค์ พิษณุโลก สงขลา ตาก สกลนคร ตรัง แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
และมีหลายจังหวัดที่เพิ่มสูงในช่วงก่อนหน้านี้ เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลง เช่น ระยอง สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช ศรีสะเกษ อุบลฯ ลพบุรี แต่ยังต้องเฝ้าระวัง – รักษามาตรการป้องกันเพิ่มเติม เนื่องจากยังคงเป็นการลงในระยะสั้น ๆ จึงอาจจะยังกลับมาเพิ่มสูงขึ้นได้
ภาพรวมของสถานการณ์ในขณะนี้ สำหรับยอดผู้ป่วยรายใหม่ ยังคงอยู่ในระดับแนวเส้นสีเขียว หรือ เกิดการระบาดในระดับปานกลาง ที่กระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ไว้ ซึ่งระบบสาธารณสุข ยังคงสามารถรองรับได้
…
หายป่วยจากโควิด-19/ กลับบ้าน
ยอดผู้ป่วยโควิด-19 ในวันนี้ ที่หายป่วยและได้กลับบ้าน 8,922 ราย รวมสะสม 2,401,306 ราย
ยอดผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยและได้กลับบ้านในวันนี้ เพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดในรอบกว่า 3 เดือนที่ผ่านมา และแนวโน้มการหายป่วยยังคงเป็นไปในทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้น ในรูปแบบเดียวกับอัตราการพบผู้ป่วยรายใหม่
จากจำนวนผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการในระดับสีเขียว ซึ่งเมื่อครบกำหนดในการแยกกักตัว ก็จะสามารถกลับบ้านได้ ส่งผลให้อัตราการครองเตียงในผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ยาวนานเหมือนก่อนหน้านี้
แต่จากจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ยังคงมีจำนวนสูงกว่า ยอดผู้ที่หายป่วยและได้กลับบ้าน จึงยังคงมีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวสะสมเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือน ก.พ. 65 นี้ ที่แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยกำลังเพิ่มสูงขึ้น
โดยในขณะนี้ ยังคงมีผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังคงรักษาตัวอยู่อีกจำนวน 94,243 ราย ซึ่งเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ 83,014 ราย เพิ่มขึ้นราว 1.1 หมื่นราย ในระยะเวลา 7 วัน
ผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิต
จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 วันนี้ มีจำนวน 17 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 22,320 ราย
ยอดผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโควิด-19 ในขณะนี้ ยังมีแนวโน้มที่ทรงตัวอยู่ที่เฉลี่ย 19 ราย/วัน ยังไม่พุ่งสูงขึ้นตามแนวโน้มของยอดผู้ติดเชื้อแต่อย่างใด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมในขณะนี้ สามารถช่วยลดการเสียชีวิตได้
ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง และได้รับเชื้อจากคนใกล้ชิด หรือ คนรู้จักเป็นส่วนใหญ่
และอัตราการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุในขณะนี้ อยู่ที่ 66% จาก 12.7 ล้านคน และยังมีผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้เข้ารับวัคซีนอีกราว 4 ล้านราย ซึ่งในกลุ่มนี้ จึงมีความเสี่ยงต่อการป่วยหนักและเสียชีวิตได้มากกว่า
แนวโน้มของการเสียชีวิตจากโควิด-19 ในขณะนี้ ยังถือว่า อยู่ในระดับต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่วนหนึ่งจากเชื้อโควิด-19 ในสายพันธุ์โอมิครอน ที่พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสีเขียว และมีอาการเบากว่าสายพันธุ์เดลต้า รวมถึงความครอบคลุมของวัคซีนที่มีเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในเข็มที่ 3 ในขณะนี้ ฉีดไปแล้วกว่า 15.6 ล้านโดส หรือคิดเป็น 22.5% ของจำนวนประชากร ทำให้ช่วยลดอัตราการป่วยหนักหรือเสียชีวิตได้
แนวโน้มสถานการณ์ของผู้ป่วยที่มีอาการหนักและต้องใช้ท่อช่วยหายใจยังทรงตัว