โควิด-19 วันนี้ โควิด-19 ไทย โควิดวันนี้

ประเมินสถานการณ์โควิด-19 วันนี้ (17 ม.ค.)

สถานการณ์ภาพรวมในวันนี้ ยอดผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่จาก PCR และผู้เข้าข่ายติดเชื้อโควิด-19 จาก ATK วันนี้รวมกันต่ำกว่า 1 หมื่นราย แนวโน้มเริ่มลดลง อัตราการพบผู้ป่วยที่เชื่อมโยงกับคลัสเตอร์ร้านอาหารกึ่งผับ-สถานบันเทิงเริ่มลดลง ส่วนการพบในสถานที่ทำงาน สถานประกอบการ ในพื้นที่กรุงเทพ…

Home / โควิด-19 / ประเมินสถานการณ์โควิด-19 วันนี้ (17 ม.ค.)

สถานการณ์ภาพรวมในวันนี้

  • ยอดผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่จาก PCR และผู้เข้าข่ายติดเชื้อโควิด-19 จาก ATK วันนี้รวมกันต่ำกว่า 1 หมื่นราย แนวโน้มเริ่มลดลง
  • อัตราการพบผู้ป่วยที่เชื่อมโยงกับคลัสเตอร์ร้านอาหารกึ่งผับ-สถานบันเทิงเริ่มลดลง ส่วนการพบในสถานที่ทำงาน สถานประกอบการ ในพื้นที่กรุงเทพ ปริมณฑล มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • จำนวนผู้เสียชีวิตวันนี้ 13 ราย สูงขึ้นจากเมื่อวานที่ผ่านมา แต่แนวโน้มยังคงทรงตัวอยู่ในระดับเฉลี่ย 10 กว่าราย/วัน
  • อัตราการป่วยหนัก-ใช้ท่อช่วยหายใจ วันนี้เพิ่มสูงขึ้น แนวโน้มยังทรงตัว แต่ยังต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อในกลุ่มผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือครบโดสเกิน 4 เดือน โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงสูง ที่อาจจะทำให้มีการป่วยหนักเพิ่มขึ้น

ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยประจำวันนี้ ( 17 ม.ค. 65 ) โดยยอดผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยวันนี้

ผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่

พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ 6,929 ราย รวมสะสม 2,331,414 ราย แบ่งเป็น

  • ผู้ติดเชื้อในชุมชน 6,713 ราย
  • ในเรือนจำ 7 ราย
  • มาจากตปท. 209 ราย

ยอดผู้ติดเชื้อเข้าข่ายจากการตรวจ ATK 1,740 ราย รวมสะสมทั้งหมด 404,794 ราย

สถานการณ์การพบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่จากการตรวจด้วยวิธี RT-PCR มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งจากภาพรวมสถานการณ์เริ่มทรงตัวและลดลงเล็กน้อย แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังในการระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จากการติดเชื้อในสถานประกอบการ โรงงานต่าง ๆ ที่อาจจะกลายเป็นการนำเชื้อกลับเข้าสู่ชุมชนหรือครอบครัวได้อีกระลอก

โดยในขณะนี้จำนวนผู้ป่วยในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าช่วงสัปดาห์ก่อน จากการพบการติดเชื้อเพิ่มในกลุ่มผู้ที่เดินทางจากต่างจังหวัดกลับมาทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการกลับจากภูมิลำเนา หรือ การเดินทางกลับจากท่องเที่ยว ส่วนภาพรวมของคลัสเตอร์ร้านอาหารกึ่งผับ สถานบันเทิงลดลงต่อเนื่อง

[EDITOR NOTE] สำหรับยอดในวันนี้ ถือเป็นวันที่ 6 วันหลังเทศกาลปีใหม่ และอยู่ในช่วงพ้นระยะฟักตัวของเชื้อ 3-7 วัน ดังนั้นคาดว่า ยอดน่าจะยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสุดสัปดาห์นี้ สำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อโดยตรงจากการไปรับเชื้อมาโดยตรง (หรือที่เราเรียกกันว่า “วงแรก”) และในช่วงสัปดาห์หน้า จะเข้าสู่ภาวะของการระบาดสู่คนใกล้ชิด เพื่อนร่วมงาน ญาติ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ยอดผู้ป่วยพุ่งสูงขึ้นไปอีกในช่วงกลางเดือน ม.ค. 65 เป็นต้นไป

หายป่วยจากโควิด-19/ กลับบ้าน

ยอดผู้ป่วยโควิด-19 ในวันนี้ ที่หายป่วยและได้กลับบ้าน 5,255 ราย รวมสะสม 2,227,266 ราย

จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยและได้กลับบ้าน ยังคงมีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากการที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการเบา และเข้ารับการรักษาครบตามกำหนด จึงทำให้เริ่มมียอดผู้ป่วยที่หายป่วยและได้กลับบ้านเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าจำนวนผู้หายป่วยและได้กลับบ้าน จึงยังคงมีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในระบบสะสมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่ ยังเป็นการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล สถานบริการ และโรงพยาบาลสนามเป็นหลัก

ส่วนการรักษาตัวในสถานที่อื่น ๆ เช่นสถานที่กักตัวในสถานบริการ สถานประกอบการ หน่วยงานต่าง ๆ ยังคงทรงตัวและมีจำนวนไม่มาก

โดยในขณะนี้มีผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังคงรักษาตัวอยู่ในระบบบริการอีก 82,210 ราย

– อยู่ใน รพ. 45,771 ราย
– รพ.สนาม 30,0528 ราย
– Home Isolation + Community Isolation 5,287 ราย
– อื่น ๆ 624 ราย

ผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิต

จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 วันนี้ มีจำนวน 13 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 21,938 ราย ซึ่งยอดเพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานที่ผ่านมา แต่ยังอยู่ในทิศทางที่ทรงตัวในระดับ 10 กว่ารายต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนม.ค. 2565

โดยเมื่อวานที่ผ่านมามีรายงานการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน รายแรกในประเทศไทย เป็นหญิง อายุ 86 ปี มีประวัติการได้รับวัคซีนไฟเซอร์ครบ 2 โดสแล้วตั้งแต่เมื่อกว่า 4 เดือนก่อน ซึ่งกลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตยังคงเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีโรคเรื้อรังเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต เป็นต้น

ซึ่งกลุ่มเสี่ยงสูงต่าง ๆ ยังคงมีความเสี่ยงในการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ โดยจำนวนผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยังมีอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้ในกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว รองลงมาคือผู้ที่ได้รับวัคซีนครบนานเกิน 4 เดือน

สำหรับผู้ป่วยอาการหนักในวันนี้ เพิ่มขึ้น 24 ราย รวมเป็น 533 ราย ในขณะที่ผู้ป่วยที่ต้องใช้ท่อช่วยหายใจก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

ทำให้แนวโน้มในขณะนี้มีผู้ป่วยอาการหนัก และใช้ท่อช่วยหายใจอยุ่ในระดับที่ทรงตัว เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดังนั้นการเข้ารับวัคซีน ทั้งเข็มแรก หรือ เข็มกระตุ้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการลดอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิต