โควิด-19 วันนี้ โควิด-19 ไทย

สถานการณ์โควิด-19 ในไทยวันนี้ (11 ม.ค.)

ประเด็นสำคัญ ยอดผู้ป่วยรายใหม่ลดลงจากเมื่อวานที่ผ่านมา แต่แนวโน้มการพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เป็นไปตามการคาดการณ์ในระดับที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คาดว่า อาจจะมีผู้ป่วยในเพิ่มได้ถึง 2 หมื่นรายในช่วงเดือน ก.พ. ที่จะถึงนี้ จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ยังคงสูงกว่า จำนวนผู้ที่หายป่วย เนื่องจากเป็นการระบาดในระลอกใหม่ ยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่ายอดผู้หายป่วย-ได้กลับบ้านจะขยับสูงขึ้น อัตราการเสียชีวิตยังคงต่ำอยู่ต่อเนื่อง…

Home / โควิด-19 / สถานการณ์โควิด-19 ในไทยวันนี้ (11 ม.ค.)

ประเด็นสำคัญ

  • ยอดผู้ป่วยรายใหม่ลดลงจากเมื่อวานที่ผ่านมา แต่แนวโน้มการพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
  • เป็นไปตามการคาดการณ์ในระดับที่พบผู้ป่วยมากที่สุด
  • คาดว่า อาจจะมีผู้ป่วยในเพิ่มได้ถึง 2 หมื่นรายในช่วงเดือน ก.พ. ที่จะถึงนี้
  • จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ยังคงสูงกว่า จำนวนผู้ที่หายป่วย เนื่องจากเป็นการระบาดในระลอกใหม่ ยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่ายอดผู้หายป่วย-ได้กลับบ้านจะขยับสูงขึ้น
  • อัตราการเสียชีวิตยังคงต่ำอยู่ต่อเนื่อง

ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยประจำวันนี้ ( 11 ม.ค. 65 ) โดยยอดผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยวันนี้

ผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่

พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ 7,133 ราย รวมสะสม 2,284,609 ราย แบ่งเป็น

  • ผู้ติดเชื้อในชุมชน 6,677 ราย
  • ในเรือนจำ 45 ราย
  • มาจากตปท. 411 ราย

ส่วนผู้ที่เข้าข่ายติดเชื้อจาก ATK 1,545 ราย รวมสะสม 392,329 ราย

สถานการณ์การระบาดในขณะนี้ แนวโน้มการพบผู้ป่วยยังคงแกว่งตัวขึ้นลงตามการพบการระบาดในคลัสเตอร์ต่าง ๆ ซึ่งคลัสเตอร์ที่พบมากที่สุดในขณะนี้ เป็นคลัสเตอร์ที่พบในประวัติการเดินทางไปใช้บริการร้านอาหารกึ่งผับ, สถานบันเทิง เป็นกลุ่มก้อนใหญ่ พบได้ในหลายจังหวัด เช่น ขอนแก่น, บุรีรัมย์ พะเยา นนทบุรี โคราช นครปฐม น่าน ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด อุบลฯ และยังคงมีการพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ส่วนคลัสเตอร์จากงานเลี้ยง สังสรรค์ในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ก็เริ่มพบมากขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจากที่เป็นการเลี้ยงสังสรรค์ในกลุ่มเพื่อน บางส่วนเชื่อมโยงจากคลัสเตอร์สถานบันเทิง-ร้านอาหารกึ่งผับ ทำให้มีแนวโน้มขยับเพิ่มขึ้น

ภาพรวมสถานการณ์จึงยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามเส้นแนวคาดการณ์ไว้กรณีที่เป็นสถานการณ์ที่พบผู้ป่วยมากที่สุด ซึ่งนช่วงเดือน ก.พ. ที่จะถึงนี้ ยอดผู้ป่วยต่อวันอาจจะแตะอยู่ที่ 2 หมื่นราย/วันอีกครั้ง

[EDITOR NOTE] สำหรับยอดในวันนี้ ถือเป็นวันที่ 6 วันหลังเทศกาลปีใหม่ และอยู่ในช่วงพ้นระยะฟักตัวของเชื้อ 3-7 วัน ดังนั้นคาดว่า ยอดน่าจะยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสุดสัปดาห์นี้ สำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อโดยตรงจากการไปรับเชื้อมาโดยตรง (หรือที่เราเรียกกันว่า “วงแรก”) และในช่วงสัปดาห์หน้า จะเข้าสู่ภาวะของการระบาดสู่คนใกล้ชิด เพื่อนร่วมงาน ญาติ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ยอดผู้ป่วยพุ่งสูงขึ้นไปอีกในช่วงกลางเดือน ม.ค. 65 เป็นต้นไป

หายป่วยจากโควิด-19/ กลับบ้าน

ยอดผู้ป่วยโควิด-19 ในวันนี้ ที่หายป่วยและได้กลับบ้าน 3,612 ราย รวมสะสม 2,197,479 ราย เพิ่มสูงขึ้นกว่า 1 พันราย มาอยู่ที่ระดับ 3 พันกว่ารายแล้ว

แต่อย่างไรก็ตามอัตราการพบผู้ป่วยโควิด-19 ยังคงสูงกว่า จำนวนผู้ที่หายป่วยอีกกว่า 3 พันราย ทำให้จำนวนผู้ที่เข้ารักษาตัวในสถานพยาบาล-สถานบริการ มีเพิ่มสูงขึ้น โดยในขณะนี้มีผู้ป่วยที่ยังคงรักษาตัวอยู่ที่ 61,974 ราย แบ่งเป็น

  • อยู่ใน รพ. 34,284 ราย
  • รพ.สนาม 23,851 ราย
  • Home Isolation + Community Isolation 3,000 ราย
  • อื่น ๆ 840 ราย

โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนามมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

มาตรการการรักษาในขณะนี้

สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเบา จะเน้นการรักษาโดยการกักตัวที่บ้าน หรือ แยกกักในชุมชน เพื่อลดภาระของระบบโรงพยาบาล สถานพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก

ดังนั้นกรณีที่พบเชื้อด้วยการตรวจ ATK ด้วยตนเอง ให้แยกกักตัวจากผู้อื่น ติดต่อผ่านช่องทางของ 1330 หรือ ไลน์แอด สปปสช. หรือ คอลเซ็นต์เตอร์ในแต่ละจังหวัด เพื่อเข้ารับการประเมิน โดยหากไม่มีอาการ จะให้แยกรักษาตัวที่บ้าน แต่หากไม่สะดวกจะใช้การแยกกักตัวในชุมชน

ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินว่า มีอาการ ก็จะถูกส่งตัวไปรักษาในโรงพยาบาลต่อไป

ผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิต

จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 วันนี้ มีจำนวน 12 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 21,850 ราย ยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับ 10 กว่าราย ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามเฝ้าระวังต่อไป เนื่องจากกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ, ผู้มีโรคเรื้อรัง ยังมีอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ได้รับวัคซีน

เนื่องจากในขณะนี้ ยังคงมีผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนอีกเป็นจำนวนมาก ที่เป็นประชาชนทั่วไป ซึ่งจะกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการหนัก หรืออาการรุนแรง รวมถึงเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ดังนั้นคำแนะนำจึงควรเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ได้เร็วที่สุด เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันไม่ให้ป่วยหนัก หรือเสียชีวิต

โดยในวันนี้ ยอดผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ลดลง 3 ราย ในขณะที่ผู้ที่ต้องใช้ท่อช่วยหายใจลดลงอีก 2 ราย

และแม้ว่า โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนจะมีอาการเบากว่า สายพันธุ์เดลต้า แต่หลายประเทศเริ่มเห็นยอดของผู้ป่วยที่มีอาการ ผู้ป่วยอาการหนักที่เข้ารักษาตัวในไอซียู เป็นกลุ่มที่ไม่มีประวัติได้รับวัคซีนเพิ่มมากขึ้น และกำลังส่งผลกระทบต่ออัตราการรองรับผู้ป่วยในระบบสาธารณสุข เนื่องจากการระบาดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้น ๆ