ประเด็นสำคัญ
- [2 ม.ค. ] ภาพรวมสถานการณ์ในขณะนี้
- จำนวนผู้ป่วยยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในหลายประเทศและกลายเป็นสายพันธุ์หลักของการระบาดแล้ว และหลายประเทศเชื่อว่า ในช่วงต้นปี 2565 สายพันธุ์โอมิครอนจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของการระบาดทั่วโลก
- ไทย พบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนคลัสเตอร์หลักยังคงเป็นคลัสเตอร์กาฬสินธุ์ จับตาคลัสเตอร์อื่น ๆ ที่เชื่อมโยง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
- ประเด็นที่เป็นเรื่องดี
- หลายประเทศยังคงรายงานไปในทิศทางเดียวกันคือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการเบา ไม่จำเป็นต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล
- รายงานวิจัยในหลายประเทศระบุตรงกันว่า เชื้อลงปอดได้น้อยลงกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้
- ผลการศึกษาในอังกฤษ พบว่า ผู้ได้รับวัคซีน 3 โดส ช่วยลดความเสี่ยงเข้ารพ.ได้ 81% ในขณะที่ผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 โดส ลดความเสี่ยงได้ 65% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน
- ประเด็นที่น่ากังวล คือ
- ในประเทศไทยพบว่า ผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนหลายราย ผลการตรวจหาเชื้อครั้งแรกที่เดินทางถึงประเทศไทย ไม่พบเชื้อ แต่จะตรวจพบใน 2-3 วันให้หลัง
- ในไทย พบหลายเคสในหลายจังหวัดเชื่อมโยงกับการสังสรรค์ การใช้บริการในสถานบันเทิง
- การติดเชื้อที่เกิดขึ้นได้เร็ว ส่งผลให้มีผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น แม้ผู้ป่วยมีอาการเบา แต่หากติดกันเป็นจำนวนมากในระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการรองรับผู้ป่วยของสถานพยาบาลได้
- รายงานการพบผู้ป่วยในกลุ่มเด็กเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในหลายประเทศ
…
สถานการณ์โควิด-19 โอมิครอนในไทย
จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในประเทศไทย ในขณะนี้ตัวเลขที่เป็นทางการยังอยู่ที่ 1,551 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ แต่สถานการณ์ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี แนวโน้มการพบการติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากพบคลัสเตอร์ใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคอีสาน
ในขณะที่ทางสาธารณสุข ระบุว่า ได้มีการเตรียมพร้อมรับมือกับการระบาดที่จะเกิดในช่วงหลังปีใหม่นี้ไว้ ซึ่งในหลายพื้นที่พบว่า ได้มีการตรวจเยี่ยม และสำรวจจำนวนเตียงต่าง ๆ เพื่อเตรียมการรองรับการระบาดไว้แล้ว
ระยอง รายงานพบแล้ว 6 ราย ติดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน
สาธารณสุขจังหวัดระยองรายงานการพบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนจำนวน 6 ราย ซึ่งทั้งหมดไม่มีอาการุนแรงแต่อย่างใด
- หญิงไทย อายุ 27 ปี อาชีพพนง.บริษัท อยู่ใน ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง
- ชายไทย อายุ 21 ปี อาชีพพน.บริษัท อยู่ใน ต.มะขามคู่ อ.เมืองระยอง
- ชายชาวสวีเดน อายุ 54 ปี พักอยู่ที่ ต.เพ อ.เมืองระยอง
- หญิงไทย อายุ 35 ปี อยู่ที่ ต.เพ อ.เมืองระยอง
- หญิงไทย อายุ 32 ปี อยู่ที่ ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง
- หญิงไทย อายุ 18 ปี อยู่ที่ ต.นิคมพัฒนา อ.นิคมพัฒนา
ซึ่งในขณะนี้ผู้ป่วยท้งหมดเข้รับการรักษาอยู่ในสถานพยาบาลแล้ว รวมถึงผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้งหมดอยู่ในระหว่างการกักตัว
ลำปาง พบเพิ่ม 1 ราย
จังหวัดลำปางรายงานพบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในจังหวัด เพิ่มอีก 1 ราย รวมเป็น 3 รายแล้ว โดยในรายล่าสด เป็นผู้ป่วยชาย อายุ 29 ปี ทำงานในจังหวัดเชียงใหม่ และได้เดินทางกลับบ้านมาในช่วงปีใหม่ ภายหลังเพื่อนได้โทรแจ้งว่า ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน จึงได้ประสานงานกับทางโรงพยาบาลแม่เมาะ เพื่อขอรับการตรวจหาเชื้อโควิด-19
ซึ่งผลตรวจ PCR ยืนยันพบเชื้อ และเป็นสายพันธุ์โอมิครอนเช่นกัน สำหรับผู้ป่วยรายนี้ ไม่มีอาการป่วยแต่อย่างใด และนอกจากนี้ เมื่อเดินทางจากเชียงใหม่ถึงบ้านในอ.แม่เมาะแล้ว ยังได้กักตัวเองที่บ้าน ทำให้ไม่มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงแต่อย่างใด
อุบลฯ รายงานพบผู้ป่วยสายพันธุ์โอมิครอน 2 คลัสเตอร์
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุบลราชธานี รายงานสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดอุบลฯ พบว่า ในขณะนี้ มีรายงานการพบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนใน 2 คลัสเตอร์ด้วยกันคือ
- คลัสเตอร์ร้านเอกมัย มีผู้ป่วยทั้งหมด 535 ราย (+53) ซึ่งสุ่มตรวจพบเป็นสายพันธุ์โอมิครอน 12 ราย (+3)
- คลัสเตอร์ร้านแสนคำ มีผู้ป่วยแล้วทั้งหมด 36 ราย (+9) สุ่มตรวจพบติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 3 ราย (+3)
โดยทั้งสองคลัสเตอร์มีความเชื่อมโยงกัน เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มแรกจากร้านเอกมัย มาเที่ยวและใช้บริการที่ร้านแสนคำ ซึ่งทำให้มีพนักงานในร้าน และผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น
จันทบุรี พบผู้ป่วยสายพันธุ์โอมิครอน 3 ราย
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี รายงานพบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน 3 ราย ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่ติดเชื้อในประเทศ โดยในขณะนี้รักษาตัว มีอาการไม่รุนแรง
ในขณะนี้ได้ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเข้ารับการตรวจหาเชื้อและกักตัวแล้ว ส่วนไทม์ไลน์กำลังอยู่ในระหว่างการสรุปรายละเอียดอีกครั้ง
ชลบุรี ระบุ บางละมุงอัตราการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนสูงถึง 81%
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี ระบุ ผลการสุ่มตรวจสายพันธุ์โควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี พบว่า อัตราการพบเชื้อเพิ่มสูงขึ้น โดยจากการการค้นหาเชิงรุก บริเวณตลาด tree town ในวันที่ 30 ธันวาคม 2564 ตรวจ ATK 255 คน ผลบวก 36 คน อัตราพบเชื้อ 14.12 % ในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตรวจ ATK คน ผลบวก 31 คน อัตราพบเชื้อ 15.12 % และ ขณะนี้ 19.00 น วันที่ 1 มกราคม ได้ตรวจ ATK ไปแล้ว 264 คน ผลบวก 67 คน อัตราพบเชื้อ 25.38 %ซึ่งจะมีประวัติไปเที่ยว walking street ด้วยจำนวนหนึ่ง จะเห็นว่า มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้การสุ่มตรวจหาสายพันธุ์ โอไมครอน ในอำเภอบางละมุง จากการสุ่ม 79 ราย พบสายพันธุ์โอไมครอน 64 ราย เดลต้า 9 ราย ตัวอย่างสุ่มไม่มีคุณภาพ 6 ราย ซึ่งพบสายพันธุ์โอไมครอนไม่ต่ำกว่า 81 %
ตรังพบเพิ่ม 1 ราย มาจากตปท.
ตรังรายงานพบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มอีก 1 ราย เป็นนักท่องเที่ยวชาวสวีเดน ที่เดินทางมาประเทศไทยพร้อมครอบครัว อีก 5 คนด้วยกัน
- 23 ธ.ค. – เดินทางจากเฮลซิงกิ มายังกระบี่ พร้อมครอบครัว ด้วยสายการบินฟินแอร์
- 24 ธ.ค. – ถึงสนามบินกระบี่ เข้าระบบ Test & Go / เข้าพัก โรงแรมในกระบี่ 1 คืน ระหว่างรอผลตรวจ PCR ในไทย / ผลตรวจ PCR ไม่พบเชื้อ
- 24 ธ.ค. – เดินทางด้วยรถของโรงแรม / ขึ้นเรือหางยาวไปเกาะกระดาน
- 24 – 28 ธ.ค. – พักอยู่ที่รีสอร์ทที่เกาะกระดาน / ตรวจ ATK ในวันที่ 5 ของการเดินทาง พบผลเป็นบวก
- 29 ธ.ค. – เข้ารับการรักษาที่ รพ.วัฒนแพทย์ จ.ตรัง / มีอาการไอ เจ็บคอ ไม่มีไข้ / ผล ATK ซ้ำที่ รพ. ยืนยันพบเชื้อ / เก็บตัวอย่างตรวจ PCR พบเชื้อ / ส่งต่อตรวจสายพันธุ์
- 31 ธ.ค. – พบเป็นสายพันธุ์โอมิครอน
ซึ่งได้มีการแจ้งประสานกับทางสายการบิน ค้นหาผู้สัมผังเสี่ยงสูงบนเครื่องเพิ่ม ส่วนครอบครัวในขณะนี้ กำลังอยู่ในระหว่างการกักตัว ทางด้านของพนักงานที่โรงแรม จากการสอบสวนโรคพบเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ รวมถึงผู้ขับเรือด้วยเช่นกัน ให้เฝ้าระวังอาการ 14 วัน
นครศรีธรรมราช พบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนรายแรก
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช รายงานพบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน รายแรของจังหวัด โดยรายงานเบื้องต้นระบุว่า เป็นหญิง อายุ 26 ปี เดินทางจากกรุงเทพฯ เพื่อมาที่อ.สิชล
โดยก่อนการเดินทางได้มีการตรวจ ATK ไม่พบเชื้อ มาถึงที่อ.สิชลในวันที่ 29 ธ.ค. ซึ่งต่อมามีอาการไข้หวัด จึงได้มีการตรวจ ATK ซ้ำ ผลตรวจไม่ชัดเจน จึงเข้าตรวจที่ รพ.สิชลซ้ำอีกครั้ง โดยผลยืนยันพบเชื้อโควิด-19
…
ยอดผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ในประเทศไทย
อัปเดตล่าสุด 6 ม.ค. 65 – 08.00 น. รายจังหวัด ซึ่งในขณะนี้ ยอดสะสมในขณะนี้ 2,338 ราย
(กำลังทยอยอัปเดตข้อมูลรายจังหวัด)
จังหวัด | จำนวนผู้ป่วย |
---|---|
กรุงเทพฯ | 676 |
กาฬสินธุ์ | 233 |
ชลบุรี | 204 |
ร้อยเอ็ด | 180 |
ภูเก็ต | 175 |
สมุทรปราการ | 117 |
มหาสารคาม | 103 |
สุราษฎร์ธานี | 59 |
ชัยภูมิ | 55 |
นนทบุรี | 47 |
อุดรธานี | 44 |
หนองคาย | 40 |
เชียงใหม่ | 35 |
ขอนแก่น | 31 |
สุรินทร์ | 23 |
🔺️ประจวบคีรีขันธ์ | 21 |
อุบลราชธานี | 21 |
ระยอง | 20 |
หนองบัวลำภู | 18 |
เลย | 18 |
ตราด | 18 |
นครราชสีมา | 17 |
สกลนคร | 17 |
บุรีรัมย์ | 12 |
นครพนม | 11 |
สุพรรณบุรี | 11 |
สระแก้ว | 10 |
กระบี่ | 9 |
บึงกาฬ | 9 |
เพชรบุรี | 8 |
เชียงราย | 7 |
มุกดาหาร | 7 |
สกลนคร | 7 |
ตรัง | 6 |
🔺️อำนาจเจริญ | 5 |
ลำพูน | 5 |
จันทบุรี | 5 |
นครศรีธรรมราช | 5 |
🔺️สุโขทัย | 4 |
สมุทรสาคร | 4 |
ปัตตานี | 4 |
พิษณุโลก | 4 |
ฉะเชิงเทรา | 3 |
ลำปาง | 3 |
🔺️สมุทรสงคราม | 2 |
🔺️สงขลา | 2 |
สระบุรี | 2 |
ปทุมธานี | 2 |
ชุมพร | 2 |
ระยอง | 2 |
อยุธยา | 2 |
อุตรดิตถ์ | 2 |
สตูล | 1 |
ศรีสะเกษ | 1 |
กาญจนบุรี | 1 |
แม่ฮ่องสอน | 1 |
ยโสธร | 1 |
พิจิตร | 1 |
นครปฐม | 1 |
สุโขทัย | 1 |
เพชรบูรณ์ | 1 |
…
สถานการณ์โลก : 2 ธ.ค.
- สหรัฐฯ นักวิจัยคาดว่า สหรัฐฯ จะเผชิญการระบาดหนักขึ้นในช่วงกลางเดือน ม.ค. 65 เป็นต้นไป และระบบสาธารณสุขของสหรัฐฯ ก็จะตึงเครียดอีกครั้งจากจำนวนผู้ป่วยจำนวนมาก แม้ว่าแอฟริกาจะรายงานผู้ป่วยที่ต้องเข้ารพ.ไม่มากก็ตาม แต่จากจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ที่ยังไม่รับวัคซีนในสหรัฐฯ ที่มีจำนวนมาก จึงเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นไม่ได้
ในขณะที่นิวยอร์ก พบผู้ป่วยเพิ่มอีกว่า 8.5หมื่นคน ทำสถิติสูงสุดอีกครั้ง และคาดว่าจะสูงขึ้นอีกหลังจากผ่านพ้นงานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ เช่นเดียวกับอีกในหลาย ๆ เมืองในสหรัฐฯ
- ฝรั่งเศส รายงานยอดผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มอีก 219,126 ราย ซึ่งนับเป็นวันที่ 4 แล้วที่ฝรั่งเศสพบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่เกิน 2 แสนราย/วัน ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมในขณะนี้ ทะลุ 10 ล้านรายแล้ว และถือเป็นประเทศที่ 6 ที่มีผู้ป่วยโควิด-19 สะสมเกิน 10 ล้านราย
ทำให้รัฐบาลฝรั่งเศส มีคำสั่งให้เด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะตั้งแต่พรุ่งนี้ (3 ม.ค.) เป็นต้นไป เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่จะต้องสวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่สาธารณะด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทางการฝรั่งเศสประกาศปรับลดเวลาการกักตัว ผู้ป่วยเหลือ 5-7 วัน จากเดิมที่กำหนดไว้ 10 วัน
- อิสราเอล รายงานระบุว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ในสายพันธุ์โอมิครอน มีอาการป่วยและต้องเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่า ผู้ป่วยในสายพันธุ์เดลต้า แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่ควรที่จะยกเลิกข้อกำหนด หรือมาตรการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดเพิ่มสูงขึ้นได้
- อินเดีย หลังพบผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้น แต่ทางการอินเดียระบุว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และยังไม่มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อในสายพันธุ์โอมิครอนรายใด ต้องให้ออกซิเจนแต่อย่างใด ซึ่งแตกต่างจากสายพันธุ์เดลต้าอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม อินเดียได้มีการเตรียมพร้อม โดยเฉพาะเตียงผู้ป่วยสำหรับเด็กไว้เพิ่มเติม เนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อได้เพิ่มมากขึ้น
…
…
รายงานการพบผู้ติดเชื้อในประเทศต่าง ๆ (เฉพาะยืนยันสายพันธุ์แล้ว)
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 4 ม.ค. 65 – 08.00 น.
ประเทศ/เขตการปกครอง | สะสม | เปลี่ยนแปลง |
---|---|---|
🇬🇧 ️สหราชอาณาจักร | 246,780 | |
🇩🇰 ️เดนมาร์ก | 57,125 | +2,509 |
🇺🇸 ️สหรัฐอเมริกา | 33,120 | +4404 |
🇩🇪️ เยอรมนี | 30,325 | +13,577 |
🇳🇴️ นอร์เวย์ | 16,312 | +4,184 |
🇨🇦 ️แคนาดา | 14,139 | |
🇦🇹 ️ออสเตรีย | 7,144 | +4,850 |
🇫🇷 ฝรั่งเศส | 5,591 | +649 |
🇪🇪️ เอสโตเนีย | 2,497 | |
🇮🇱 ️อิสราเอล | 2,090 | +349 |
🇦🇺 ️ออสเตรเลีย | 1,946 | +235 |
🇮🇳️ อินเดีย | 1,892 | +152 |
🇿🇦 ️แอฟริกาใต้ | 1,894 | |
🇸🇬️ สิงคโปร์ | 1,813 | +187 |
🇸🇮️ สโลวีเนีย | 1,418 | |
🇰🇷️ เกาหลีใต้ | 1,318 | +111 |
🇪🇸 ️สเปน | 882 | +176 |
🇧🇪เ️บลเยียม | 828 | +42 |
🇸🇪 ️สวีเดน | 817 | +28 |
🇯🇴️ จอร์แดน | 802 | |
🇨🇭️ ️สวิตเซอร์แลนด์ | 781 | |
🇯🇵️ ญี่ปุ่น | 750 | +55 |
🇨🇱 ️ชิลี | 684 | +52 |
🇱🇻️ ลัตเวีย | 644 | +187 |
🇮🇹 ️อิตาลี | 565 | +13 |
🇳🇱 เนเธอร์แลนด์ | 537 | +46 |
🇦🇷️ อาร์เจนตินา | 454 | |
🇱🇧️ เลบานอน | 433 | |
🇧🇼 ️บอตสวานา | 382 | |
🇲🇽 ️เม็กซิโก | 368 | +114 |
🇵🇪️ เปรู | 309 | |
🇵🇹 ️โปรตุเกส | 302 | |
🇱🇺️ ลักแซมเบิร์ก | 223 | +168 |
🇹🇷️ ตุรกี | 221 | +21 |
🇧🇲 ️หมู่เกาะเบอร์มิวดา, UK | 212 | |
🇧🇷️ บราซิล | 211 | |
🇮🇸 ️ไอซ์แลนด์ | 200 | |
🇮🇷️ อิหร่าน | 194 | +35 |
🇫🇮️ ฟินแลนด์ | 172 | |
🇮🇩️ อินโดนีเซีย | 152 | +16 |
🇮🇪 ️ไอร์แลนด์ | 144 | |
🇬🇮️ ยิบรอลตาร์ | 122 | |
🇷🇺️ รัสเซีย* | 103 | |
🇭🇰 ️ฮ่องกง | 102 | +7 |
🇨🇺️ คิวบา | 92 | +20 |
🇷🇴 ️โรมาเนีย | 92 | |
🇳🇿️ นิวซีแลนด์ | 91 | +1 |
🇹🇼️ ไต้หวัน* | 88 | +26 |
🇳🇬️ ไนจีเรีย | 83 | |
🇵🇸️ ปาเลสไตน์* | 77 | |
🇰🇭️ กัมพูชา* | 75 | +6 |
🇵🇰️ ปากีสถาน | 75 | |
🇱🇹️ ลิธัวเนีย | 74 | |
🇵🇱️ โปแลนด์ | 72 | +26 |
🇨🇿 ️สาธารณรัฐเช็ก* | 69 | |
🇬🇭️ กาน่า | 66 | |
🇲🇾️ มาเลเซีย | 64 | +2 |
🇨🇾️ ไซปรัส | 63 | |
🇭🇺️ ฮังการี | 61 | |
🇬🇪️ จอร์เจีย | 56 | |
🇨🇴️ โคลัมเบีย | 51 | +26 |
🇿🇼 ซิมบับเว | 50 | |
🇬🇫 ️เฟรนช์เกียนา️ | 49 | |
🇱🇰️ ศรีลังกา* | 48 | |
🇿🇲 ️แซมเบีย* | 46 | |
🇺🇾️ อุรุกวัย | 44 | |
🇰🇾️ หมู่เกาะเคย์แมน | 44 | |
🇰🇪️ เคนยา | 38 | |
🇲🇼️ มาลาวี | 34 | |
🇲🇹️ มอลต้า | 34 | |
🇬🇷 ️กรีซ* | 33 | |
🇪🇨️ เอกวาดอร์* | 29 | |
🇲🇦️ โมรอกโก* | 28 | |
🇵🇦️ ปานามา | 26 | |
🇸🇳 ️เซเนกัล * | 26 | |
🇺🇬 ️ยูกันดา* | 25 | |
🇻🇳️ เวียดนาม* | 24 | +4 |
🇨🇬 ️คองโก | 21 | |
🇫🇷 ️เรอูว์นียง, ฝรั่งเศส* | 20 | |
🇸🇰️ สโลวาเกีย | 18 | |
🇳🇦 ️นามิเบีย | 18 | |
🇨🇷️ คอสตาริกา* | 18 | |
🇲🇿️ โมซัมบิก | 17 | |
🇦🇴 ️แองโกลา | 16 | |
🇩🇿️ แอลจีเลีย* | 16 | |
🇹🇹️ ทรินิแดด | 15 | +3 |
🇨🇳️ จีน* | 15 | |
🇱🇮 ️ลิกเตนสไตน์* | 14 | |
🇲🇺 ️มอริเชียส* | 14 | |
🇬🇳️ กินี | 14 | |
🇵🇭️ ฟิลิปปินส์ | 14 | +4 |
🇰🇼️ คูเวต* | 13 | |
🇧🇬️ บัลแกเรีย | 12 | |
🇧🇩 ️บังคลาเทศ* | 10 | |
🇧🇦 ️บอสเนีย | 10 | |
🇲🇻️ มัลดีฟส์* | 10 | |
🇹🇳 ️ตูนีเซีย* | 10 | |
🇴🇲️ โอมาน* | 9 | |
โคโซโว | 9 | |
🇲🇪️ มอนเตเนโกร | 8 | |
🇧🇳️ บรูไน | 8 | |
🇭🇷️ โครเอเชีย | 8 | |
🇻🇪️ เวเนซุเอลา | 7 | |
🇺🇦️ ยูเครน* | 6 | |
🇷🇼️ รวันดา | 6 | |
🇹🇬️ โตโก | 5 | |
🇧🇾️ เบลารุส | 4 | |
🇶🇦️กาตาร์* | 4 | |
🇲🇲 ️เมียนมา | 4 | |
🇪🇬️ อียิปต์* | 3 | |
🇳🇵️ เนปาล* | 3 | |
🇵🇾 ️ปารากวัย | 3 | |
เซนต์คิตส์และเนวิส | 2 | |
🇱🇾️ ลิเบีย | 2 | |
🇫🇯️ ฟิจิ* | 2 | |
🇧🇫️ บูร์กินา ฟาโซ | 2 | |
เซนต์วินเซนต์&เกรนาดีนส์ | 1 | |
🇧🇧️ บาร์เบโดส | 1 | |
🇨🇩 ️สาธารณรัฐคองโก* | 1 | |
🇦🇼 ️อารูบา* | 1 | |
🇸🇦️ ซาอุดิอาระเบีย* | 1 | |
🇦🇪 ️สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์* | 1 | |
🇦🇱️ แอลเบเนีย | 1 | |
🇸🇱 ️เซียราลีโอน* | 1 | |
🇧🇭️ บาห์เรน | 1 | |
🇲🇰️ มาเซโดเนีย | 1 | |
🇯🇲️ จาไมกา | 1 | |
🇷🇸️ เซอร์เบีย | 1 | |
🇹🇿️ แทนซาเนีย | 1 | |
🇩🇴 ️โดมินิกัน | 1 | |
🇨🇼️ กูราเซา | 1 | |
ไทย | 1,780 |
ทำให้ยอดในขณะนี้เป็นยอดการตรวจเฉพาะที่ตรวจสายพันธุ์เท่านั้น
* ผู้ป่วยที่พบเป็นผู้ที่เดินทางนำเชื้อเข้าประเทศ ( Imported Case )