WHO วัคซีนโควิด-19 องค์การอนามัยโลก โควิด-19

WHO เตือน EU ยอดเสียชีวิตจากโควิด-19 อาจเพิ่มขึ้นอีก 7 แสนราย ใน มี.ค. 65

จากการติดเชื้อเพิ่มขึ้น การฉีดวัคซีนลดลง การผ่อนคลายมาตรการ การละเลยมาตรการส่วนบุคคล

Home / โควิด-19 / WHO เตือน EU ยอดเสียชีวิตจากโควิด-19 อาจเพิ่มขึ้นอีก 7 แสนราย ใน มี.ค. 65

ประเด็นสำคัญ

  • องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ในภูมิภาคยุโรป คาดการณ์ว่า ยุโรปอาจจะมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 รวมทั้งหมดราว 2.2 ราย ในวันที่ 1 มีนาคม 2565
  • หรือเพิ่มขึ้นอีกกว่า 7 แสนรายในระยะเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือน
  • ปัจจัยเสี่ยงมาจากการฉีดวัคซีนที่น้อยลง, การผ่อนคลายมาตรการ, การไม่รักษามาตรการส่วนบุคคล
  • ระบุ หากปชช. สวมหน้ากากเมื่อต้องออกนอกบ้าน จาก 48% เป็น 53% จะช่วยลดผู้เสียชีวิตได้อีกกว่า 1.6 แสนราย

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ในภูมิภาคยุโรปได้ออกมาเตือนสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในทวีปยุโรป หลังจากยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ยังพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยเกือบ 4,200 ราย/วัน จากเดิมที่อยู่ราว 2,100 ราย/วัน เมื่อเดือนกันยาที่ผ่านมา

ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทะลุ 1.5 ล้านรายไปแล้วจาก 53 ประเทศในภูมิภาคยุโรป โดยได้มีการคาดการณ์ความรุนแรงของการติดเชื้อที่จะเพิ่มสูงขึ้น โดย WHO คาดว่า สถานะของเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลจะเพิ่มจำนวนขึ้นจนเข้าสู่ภาวะตึงตัวอย่างมากใน 25 ประเทศ และเตียงผู้ป่วยอาการหนัก หรือไอซียู เข้าสู่ภาวะตึงตัวอย่างมากใน 49 ประเทศ จาก 53 ประเทศในยุโรป ในช่วงวันที่ 1 มี.ค. 2565 และยอดผู้เสียชีวิตสะสมเพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 2.2 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นอีกกว่า 7 แสน ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนข้างหน้า

ดร. Hans Henri P. Kluge ผู้อำนวยการ WHO ประจำภูมิภาคยุโรป ระบุว่า เพื่อที่จะสามารถใช้ชีวิตร่วมกับโควิด19 ได้ การใช้แนวทาง “vaccine plus” คือการเพิ่มการเข้าถึงวัคซีนให้ได้มากขึ้นในเข็มปรกติ ร่วมกับการให้วัคซีนเข็มกระตุ้น รวมถึงมาตรการป้องกันในการใช้ชีวิตประจำวันตามปรกติของประชาชนด้วย เช่น การสวมหน้ากาก ล้างมือ ระบายอากาศ รักษาระยะห่าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และลดการสูญเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น

ปัจจัยที่ทำให้อัตราการติดเชื้อพุ่ง

รายงานขององค์การอนามัยโลก ประจำภูมิภาคยุโรป ได้รายงาน 3 สาเหตุหลักที่ทำให้การระบาดในทวีปยุโรปเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ

การระบาดของสายพันธุ์เดลต้า

ซึ่งในยุโรปมีการระบาดของสายพันธุ์กลายพันธุ์เดลต้า ที่เป็นสายพันธุ์หลักในขณะนี้ เนื่องจากความสามารถในการแพร่ะระบาดมากกว่าสายพันธุ์อื่น ซึ่งไม่มีประเทศใดในยุโรปเลยเลยที่มีรายงานการติดเชื้อในสายพันธุ์อื่น ๆ สูงเกิน 1%

การผ่อนคลายมาตรการ

ในช่วงที่ผ่านามีการผ่อนคลายมาตรการ เนื่องจากหลายประเทศเห็นว่า โควิด-19 ไม่ได้เป็นปัญหารุนแรง จึงทำให้มีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การสวมหน้ากา การรักษาระยะห่าง การรวมกลุ่ม ซึ่งในขณะนี้ยุโรปกำลังเผชิญกับอากาศหนาวเย็นขึ้น ทำให้ผู้คนรวมตัวกันในบ้าน หรือสถานที่อื่น ๆ มากยิ่งขึ้น

ผู้คนจำนวนมากยังไม่ฉีดวัคซีน

จำนวนของการเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด19 มีจำนวนลดลง และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเหล่านี้จึงกลายเป็นช่องทางนำไปสู่การระบาดของเชื้อไวรัส ซึ่งในกลุ่มประเทศในยุโรปขณะนี้ อัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อยู่ที่ราว 67.7% ของจำนวนประชากรทั้งหมด

ย้ำมาตรการส่วนบุคคล – วัคซีนกระตุ้น

สำหรับในการป้องกันโควิด-19 นั้น เครื่องมือที่สำคัญในการป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิตนั่นคือการฉีดวัคซีนที่จะช่วยรักษาชีวิตประชาชนได้อีกนับแสนราย ลดจำนวนผู้ป่วยที่จะต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งจะช่วยลดภาระงานในระบบสาธารณสุขได้อย่างมาก

โดย WHO ได้ย้ำว่า การฉีดวัคซีนมีความจำเป็นอย่างมาก และควรมีการฉีดวัคซีนกระตุ้นให้กับกลุ่มผู้เสี่ยงต่าง ๆ เช่น กลุ่มผู้สูงาอยุ บุคลากรทางการแพทย์ นอกจากนี้กมรใช้มาตรการป้องกันส่วนบุคคล เช่นการสวมหน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่าง การเลี่ยงการร่วมกลุ่ม จะช่วยลดความเสี่ยงได้มากขึ้น

ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า ในขณะนี้ผู้คนราว 48% ในภูมิภาคยุโรป สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกจากบ้าน ซึ่งหากประชาชนร่วมกันสวมหน้ากากอนามัยให้ได้มากขึ้นเป็น 53% โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ จะช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตได้อีกกว่า 160,000 ราย เมื่อถึงวันที่ 1 มี.ค. 2565

นอกจากนี้ การที่ยุโรปกำลังอยู่ในช่วงฤดูหนาว ทำให้มีการรวมตัวกันในอาคาร ในบ้านมากขึ้น จึงควรระมัดระวังความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้วย การแยกกักตัว การตรวจหาเชื้อ จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้มากขึ้น


ที่มา – https://www.euro.who.int/en/media-centre/sections/press-releases/2021/the-who-european-region-could-hit-over-2-million-covid-19-deaths-by-march-2022.-we-can-avoid-reaching-this-grim-milestone-by-taking-action-now