ประเด็นสำคัญ
- แนวโน้มการพบผู้ป่วยรายใหม่ ( RT-PCR) และ ATK มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานนี้
- แนวโน้มผู้เสียชีวิตยังทรงตัว โดยในวันนี้เสียชีวิตเพิ่ม 80 ราย
- อัตราการหายป่วย/กลับบ้าน กับผู้ป่วยรายใหม่ใกล้เคียงกัน
- อัตราการป่วยหนัก-ใช้ท่อช่วยหายใจลดลงจากเมื่อวานนี้
- ยอดผู้ป่วยรายใหม่ที่พบในเรือนจำ/ทัณฑสถานพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากลดลงไปเมื่อวานนี้
…
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานสถานการณ์สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยประจำวันนี้ ( 5 พ.ย. ) โดยสถานการณ์ในประเทศไทยวันนี้
ผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่
- พบผู้ป่วยเพิ่ม 8,148 ราย รวมสะสม 1,951,572 ราย
แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อในชุมชน 7,508 ราย, ในเรือนจำ 605 ราย, และมาจากตปท. 15 ราย - ยอดผู้ติดเชื้อเข้าข่ายจากการตรวจ ATK 3,848 ราย รวมสะสมทั้งหมด 285,881 ราย
ยอดผู้ป่วยรายใหม่จากการตรวจด้วย RT-PCR เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะการติดเชื้อในชุมชนที่มีเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับยอดการตรวจด้วย ATK ก็มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 4 พันราย จากระดับเดิมก่อนหน้านี้ที่อยู่ราว 2 พันกว่าราย
ในขณะที่การพบผู้ป่วยในเรือนจำ / ทัณฑสถาน กลับมาพุ่งอีกครั้งหลังจากที่ยอดลดลงเมื่อวานนี้เพียงวันเดียว จากระดับ 500 กว่าราย/วัน และดีดกลับมาในวันนี้ที่กว่า 600 ราย
ทำให้ยังคงต้องติดตามต่อไปว่า การติดเชื้อจะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องหรือไม่ หรือเป็นเพียงการพบคลัสเตอร์ที่เป็นกลุ่มก้อนบางจุดเท่านั้น
หายป่วยจากโควิด-19/ กลับบ้าน
สำหรับอัตราการหายป่วย-กลับบ้าน 8,238 ราย รวมหายแล้ว 1,834,730 ราย ยังคงอยู่ในระดับที่ 8 พันราย เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานเล็กน้อย
จำนวนผู้หายป่วยได้กลับบ้าน กับจำนวนผู้ที่เข้ารักษาตัวมีระดับใกล้เคียงกัน โดยในวันนี้ยอดผู้ป่วยในโรงพยาบาล กักตัวที่บ้าน/ชุมชน และในสถานที่อื่น ๆ เช่น สถานที่กักตัวของหน่วยงานฯ สถานประกอบการ มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยมีจำนวนผู้ที่ยังคงรักษาตัวอยู่ในขณะนี้ 97,300 ราย แบ่งเป็น
- อยู่ใน รพ. 42,813 ราย (เพิ่ม)
- รพ.สนาม 43,909 ราย (ลดลง)
- Home Isolation + Community Isolation 6,877 ราย (เพิ่ม)
- อื่น ๆ 3,871 ราย (เพิ่ม)
…
เสียชีวิต – อาการหนัก
ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มในวันนี้ 80 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 19,542 ราย เพิ่มสูงขึ้นกว่าเมื่อวานที่ผ่านมา ทำให้แนวโน้มการเสียชีวิตในขณะนี้อยู่ในระดับทรงตัว ซึ่งยังคงต้องเฝ้าระวังไม่ให้มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น
ส่วนจำนวนผู้ป่วยหนัก และผู้ที่ต้องใช้ท่อช่วยหายใจยังมีทิศทางขาลง โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและมีอัตราการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ในขณะที่ยอดผู้ป่วยหนักที่เข้ามาใหม่มีไม่มากนัก ทำให้แนวโน้มลดลง