วัคซีนโควิด-19 โควิด-19

มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ทดสอบวัคซีนป้องโควิด-19 แบบหลายสายพันธุ์

ทีมวิจัยเชื่อว่าจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า นานกว่า การกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิดเดียวกัน

Home / โควิด-19 / มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ทดสอบวัคซีนป้องโควิด-19 แบบหลายสายพันธุ์

ประเด็นสำคัญ

  • มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ในสหราชอาณาจักร ทดสอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับใช้ฉีดกระตุ้นในการป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์กลายพันธุ์แบบหลายสายพันธุ์เป็นครั้งแรก
  • โดยมีการทดสอบในมนุษย์เป็นครั้งแรก ของวัคซีนกระตุ้นที่ชื่อว่า จีอาร์ที-อาร์910 (GRT-R910)
  • ใช้ส่วนโปรตีนของทั้งที่เป็นโปรตีนหนาม และโปรตีนส่วนอื่นที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อย ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
  • คาดว่าจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และตอบสนองต่อเชื้อกลายพันธุ์ได้ดีกว่า การฉีดวัคซีนกระตุ้นชนิดเดียวกัน

มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และ Gritstone บริษัทผู้ผลิตยาในสหรัฐฯ ได้ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดกลายพันธุ์ แบบหลายสายพันธุ์ ผ่านการสนับสนุนจากระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ หรือ National Health Service (NHS)

โดยในโครงการ Gritstone’s CORAL program ได้ร่วมกันค้นคว้าวิจัยวัคซีน จีอาร์ที-อาร์910 (GRT-R910) ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด mRNA ที่เรียกว่า เป็นรุ่นที่ 2 โดยใช้การกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากการใช้ทั้งส่วนที่เป็นโปรตีนจากหนามของไวรัส ร่วมกับโปรตีนส่วนที่ไม่ใช่หนาม ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันพิเศษ (CD8+ T cells) ที่เป็นส่วนสำคัญในการตอบโต้ต่อเชื้อไวรัส ทำให้เชื้อไม่สามารถจับตัวกับเซลล์ของมนุษย์ได้

ซึ่งจะเป็นการช่วยในการเพิ่มศักยภาพให้กับร่างกายให้มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงขึ้นและนานขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงและผู้สูงอายุ

แอนดรูว์ อัลเลน ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Gritstone ระบุว่า วัคซีนชนิดนี้จะช่วยกระตุ้นการตอบสนอง ของ CD8+ T cells ที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับภูมิคุ้มกันในการตอบสนองกับเชื้อไวรัส และยาวนานขึ้น เนื่องจากชิ้นส่วนโปรตีนอย่างหนามของเชื้อไวรัส มีโอกาสในการเปลี่ยนแปลง หรือ หลบหลีกภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากวัคซีนได้

จึงได้ออกแบบวัคซีน GRT-R910 นี้มีศักยภาพในการต่อสู้กับเชื้อโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้ในหลายรูปแบบ หลายสายพันธุ์ โดยการใช้ชิ้นส่วนโปรตีนที่มีการกลายพันธุ์ได้ยาก ในวัคซีนด้วย

และจากกระบวนการที่เกิดขึ้น ทำให้ทีมวิจัยคาดว่า จะเป็นวัคซีนตัวแรกเป็นผลดีในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากกว่า การฉีดวัคซีนกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิดเดียวกัน

ทดลองในอาสาสมัคร 2 รายแรก

สำหรับวัคซีน GRT-R910 นี้ ได้เริ่มทดลองในมนุษย์แล้วเป็นครั้งแรก โดยฉีดให้กับอาสาสมัครจำนวน 2 ราย คือ แอนดรูว์ คลาร์ก อายุ 63 และเฮเลน คลาร์กอายุ 64 ปี ซึ่งทั้งสองรายเป็นคู่สามี-ภรรยา คู่แรกที่เข้ารับวัคซีนนี้

โดยแอนดรูว์ ระบุว่า ตนเองได้ลงทะเบียนกับ NIHR COVID-19 Vaccine ไว้ตั้งแต่ฤดูร้อนปีที่แล้ว ซึ่งหวังว่า ตนเองจะช่วยในการพัฒนาวัคซีนได้ และการทดสอบวัคซีน ก็จะต้องมีใครสักคนเป็นคนแรก และตนเองเชื่อมั่นในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังในการผลิตวัคซีนนี้ รวมถึงเชื่อว่า วัคซีนมีความจำเป็น

ภาพ – มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์

นอกจากนี้ แอนดรูว์ ยังเสริมว่า สำหรับตนเองและภรรยา ทั้งคู่เกษียณอายุแล้ว ดังนั้นการล็อกดาวน์จึงเป็นเรื่องง่าย และการเป็นส่วนเล็กๆ นี้ จะช่วยเปลี่ยนแปลงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

ทางด้านของเฮเลน คลาร์ก ภรรยา เคยเป็นเจ้าหน้าที่ใน NHS รวมถึงเคยร่วมในการวิจัยในฐานะพยาบาลมาก่อน ระบุว่า วัคซีนจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีอาสาสมัคร

ภาพ – มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์

สำหรับการทดสอบคาดว่า จะรับสมัครอาสาสมัคร 20 คน สำหรับการประเมินวัคซีน และน่าจะทราบผลการประเมินในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022 และนำไปสู่การทดลองทางคลินิกในระยะถัดไปในช่วงปลายปี 2022


ที่มา – มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์