ZyCoV-D วัคซีนป้องกันโควิด-19 วัคซีนโควิด-19 อินเดีย โควิด-19 ไซคอฟดี

ไซคอฟดี (ZyCoV-D) วัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด DNA ตัวแรกในโลก

ประเด็นสำคัญ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ไซคอฟดี เป็นวัคซีนตัวแรกของที่ได้ DNA ในการผลิต สามารถใช้ได้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้น จนถึงวัยผู้ใหญ่ ฉีดจำนวน 3 โดส โดยใช้เครื่องฉีดเข้าสู่ผิวหนัง ไม่ได้ใช้เข็มฉีดแบบเดิม…

Home / โควิด-19 / ไซคอฟดี (ZyCoV-D) วัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด DNA ตัวแรกในโลก

ประเด็นสำคัญ

  • วัคซีนป้องกันโควิด-19 ไซคอฟดี เป็นวัคซีนตัวแรกของที่ได้ DNA ในการผลิต
  • สามารถใช้ได้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้น จนถึงวัยผู้ใหญ่
  • ฉีดจำนวน 3 โดส โดยใช้เครื่องฉีดเข้าสู่ผิวหนัง ไม่ได้ใช้เข็มฉีดแบบเดิม
  • ประสิทธิภาพอยู่ที่ 66.6%
  • ผู้ผลิตระบุว่า เก็บที่ 25 องศาฯ ได้นาน 3 เดือน

ประเทศอินเดียได้มีการอนุมัติการใช้งานฉุกเฉินวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตัวใหม่ มีชื่อว่าไซคอฟดี (ZyCoV-D) จากไซดัส คาดิลลา (Zydus Cadila) ซึ่งถือเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด DNA ตัวแรกของโลก โดยสำนักงานควบคุมยาของอินเดีย ได้อนุมัติใช้งานได้ในประเทศ และกลายเป็นวัคซีนตัวแรกของอินเดีย ที่จะอนุมัติให้ใช้ในกลุ่มของวัยรุ่น อายุตั้งแต่ 12 ปี ขึ้นไปได้

วัคซีน DNA ต่างจาก mRNA ยังไง

สำหรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง Pfizer, Moderna ที่ทั้งสองตัวนั้นเป็นวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้ชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด- 19 (mRNA) จากส่วนของปุ่มหนามของเชื้อไวรัส (Spike protein) มาสังเคราะห์เป็น S-spike mRNA ซึ่งเป็นเหมือนชุดคำสั่งในกระตุ้นให้มีการสร้างปุ่มหนามของไวรัสขึ้น

เมื่อร่างกายได้รับวัคซีนชนิด mRNAก็จะทำให้มีการผลิตโปรตีนที่เป็นส่วนของปุ่มหนามไวรัสขึ้น ร่วมกับมีการสร้างโปรตีนในส่วนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Antigen) ทำให้ร่างกายรู้จักและมีภูมิคุ้มกัน ในการป้องกันร่างกายของเราจากเชื้อโควิด-19

ในขณะที่วัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด DNA ก็มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันตรงที่ DNA จะเป็นสารพันธุกรรมหลักนิวเคลียสของเซลล์ (nucleus) และเมื่อนำ DNA มาผลิตวัคซีน เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายของคนเราแล้ว จะเกิดการกระตุ้นให้มีการสร้าง mRNA ขึ้นมา และตัว mRNA นี้ก็จะกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันตามมา

สรุปความต่างกันระหว่างวัคซีน DNA กับ mRNA คือ

  • วัคซีน mRNA เมื่อฉีดเข้าไปร่างกายจะถูกตุ้นให้มีการสร้าง/เพิ่มจำนวนโปรตีนที่เป็นส่วนของปุ่มหนาม (ตาม mRNA ต้นแบบ) ควบคู่กับ ภูมิคุ้มกัน
  • วัคซีน DNA เมื่อฉีดเข้าไปแล้ว ร่างกายก็จะถูกกระตุ้นให้มีการสร้าง mRNA ก่อนและมีการสร้างภูมิคุ้มกันตามมา

[ เพิ่มเติม ] โดยตามปรกติร่างกายของคนเรา หรือสิ่งมีชีวิตจะมีทั้ง DNA และ RNA อยู่ด้วยกัน ในการส่งต่อข้อมูลพันธุกรรม โดย DNA และ RNA มีความคล้ายคลึงกันในหลายส่วนทีเดียว แต่ก็ไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด มีความต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น DNA เป็นสายคู่ ส่วน RNA เป็นสายเดียว, เบส ที่มีเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น

วัคซีนไซคอฟ-ดี

สำหรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไซคอฟดี นั้นเป็นวัคซีนที่ใช้พลาสมิดดีเอ็นเอ ( Plasmid DNA) ที่มีลักษณะเป็นวงแหวนมาผลิตเป็นวันซีน ซึ่งข้อดีของการใช้ DNA ในการผลิตวัคซีนโควิด19 นั้น ทำให้มีความคงทนมากกว่า mRNA ซึ่งทำให้สามารถเก็บรักษาได้ง่ายกว่า โดยวัคซีนไซคอฟดี สามารถเก็บรักษาภายใต้อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส และทางผู้ผลิตยังระบุด้วยว่า สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ได้นานสูงสุด 3 เดือนอีกด้วย

ซึ่งจะช่วยในการเรื่องของการจัดเก็บและกระจายวัคซีนได้ง่ายขึ้น

วัคซีน ZyCoV-d นี้ เป็นวัคซีนชนิดไร้เข็ม หรือวัคซีนที่ใช้วิธีฉีดผ่านเครื่อง PharmaJet Tropis เพื่อให้น้ำยาเข้าไปในผิวหนัง ซึ่งเครื่องนี้ ถูกระบุว่า สามารถฉีดวัคซีนได้เร็วขึ้น เนื่องจากขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์ที่น้อยกว่า รวมถึงไม่สร้างความเจ็บปวดเหมือนกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อเหมือนในวิธีทั่วไป (ดูคลิป)

เครื่อง PharmaJet Tropis ที่เป็นอุปกรณ์ฉีดยาแบบไร้เข็ม

ประสิทธิภาพของวัคซีน ไซคอฟดี

ในการทดลองทางคลินิกของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ ZyCoV-D นั้น เป็นวัคซีนที่จะมีการฉีดจำนวน 3 โดส ด้วยกัน ซึ่งในผลการทดสอบทางคลินิก มีประสิทธิภาพในประชากรวัยผู้ใหญ่ อยู่ที่ 66.6% จากจำนวนอาสาสมัคร 28,000 คนทั่วประเทศ และไม่พบผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการะดับปานกลาง-หนัก หลังจากที่ได้รับวัคซีนในเข็มที่ 3 แล้ว โดยทางผู้ผลิตระบุว่า สำหรับการป้องกันการติดเชื้อรุนแรงนั้น จะเริ่มได้ผลดีเมื่อฉีดวัคซีนในเข็มที่ 2 ไปแล้ว และในเข็มที่ 3 จะเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกัน ต่อการเสียชีวิต

ในการทดลองทางคลินิก ไม่พบอาการที่เป็นผลข้างเคียงที่รุนแรงหลังจากได้รับวัคซีน รวมถึงไม่มีผู้เสียชีวิตจากการได้รับวัคซีนไซคอฟดี

ซึ่งถือเป็นวัคซีนตัวที่ 5 ที่ได้รับการอนุมัติใช้ในประเทศ โดยก่อนหน้านี้ทางการอินเดีย ได้มีการอนุมัติใช้งานวัคซีน Covishield ( AstraZeneca ที่ผลิตในอินเดีย), Covaxin ของBharat Biotech, Sputnik V และ Moderna

แต่นอกจากนี้ วัคซีน ZyCoV-D ถือเป็นวัคซีนตัวแรกในอินเดีย ที่มีการอนุมัติให้ใช้ในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยก่อนหน้านี้ จะมีเพียงวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติใช้งานฉุกเฉิน สำหรับกลุ่มประชาชนอายุ 18 ปี ขึ้นไปเท่านั้น โดยในการทดลองได้มีการใช้งานวัคซีนกับกลุ่มอาสาสมัคร อายุ 12-18 ปี จำนวน 1,000 ราย และพบว่า วัคซีนมีความปลอดภัยในการใช้งานกับกลุ่มของเด็กได้

ป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้หรือไม่?

สำหรับวัคซีนไซคอฟดี ที่มีการผลิตออกมานั้น ทางผู้ผลิตระบุว่า ประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ในระดับสูงพอที่จะป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ เช่นสายพันธุ์เดลต้าที่กำลังระบาดไปทั่วโลกในขณะนี้ได้ แม้ว่าผลการทดสอบประสิทธิภาพอยู่ที่ 66.6% ซึ่งต่ำกว่า วัคซีนชนิด mRNA อย่างไฟเซอร์ก็ตาม

โดยในขณะนี้ทางผู้ผลิตระบุว่า จะยังคงพัฒนาต้นแบบให้สามารถต่อสู้กับเชื้อโควิด-19 ในสายพันธุ์ต่าง ๆ

กำหนดเริ่มใช้งาน

แม้ว่าทางการอินเดียจะมีการอนุมัติให้มีการใช้งานฉุกเฉินในประเทศได้แล้ว แต่ทางผู้ผลิตยังจำเป็นต้องเตรียมพร้อมในการผลิตวัคซีนจำนวนมาก โดยคาดว่า ในราว 45-60 วันก็จะมีวัคซีนใช้งานกันภายในประเทศอินเดีย และจะมีการขยายโรงงานผลิตเพิ่มขึ้นให้สามารถเพิ่มกำลังผลิตได้สูงขึ้นภายในสิ้นปีนี้อีกด้วย

แต่การผลิตวัคซีนในชนิด DNA นั้นสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก และสามารถผลิตได้อย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับวัคซีนชนิด mRNA

ดังนั้น แม้ว่าจะมีการอนุมัติใช้งานแล้วก็ยังคงต้องรอการผลิตในจำนวนมากอีกระยะหนึ่ง และนั่นหมายความว่า หากประเทศไทยจะสั่งเข้ามา ก็จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายเดือนทีเดียว

ที่มา

  • https://www.thelancet.com/journals/eclinm/article/PIIS2589-5370(21)00300-X/fulltext
  • https://pharmajet.com/
  • https://www.zyduscadila.com/