สถานการณ์โควิด-19 โควิด-19 ไทย

โควิด-19 ไทย ระลอก 3 ยังไม่เห็นจุดพีค ดาดสัปดาห์หน้าแตะหมื่น/วัน

สำหรับการระบาดในระลอกที่ 3 นี้ยังคงมองไม่เห็นจุดพีคของการระบาด

Home / โควิด-19 / โควิด-19 ไทย ระลอก 3 ยังไม่เห็นจุดพีค ดาดสัปดาห์หน้าแตะหมื่น/วัน

สถานการณ์โควิด-19

  • แนวโน้มการระบาดระลอกที่ 3 ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • จากการคาดการณ์พบว่า หาตัวเลขการพบผู้ป่วยรายใหม่ต่อวัน ยังเป็นไปในทิศทางนี้ อีกราว 12 วัน ประเทศไทยจะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันแตะ 1 หมื่นราย

สำหรับสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยในขณะนี้ ยอดผู้ป่วยล่าสุดวันนี้ ( 8 ก.ค. 64 ) พบผู้ป่วยเพิ่มอีกว่า 7,058 ราย รวมสะสม 308,230 ราย ซึ่งสำหรับสถานการณ์ในขณะนี้เรียกได้ว่า ประเทศไทยยังคงอยู่ในระลอกที่ 3 ที่ยังคงระบาดต่อเนื่องและมีแนวทางของการระบาด

ซึ่งหากดูกราฟของการการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่ 11 ม.ค. 63 ที่ประเทศไทยพบผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกจากนักท่องเที่ยวหญิงชาวจีน ที่เดินทางมามายังประเทศไทย และมีการตรวจคัดกรองพบที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ระลอกที่ 1 (เม.ย. – พ.ค. 64)

สำหรับในการระบาดในระลอกแรกของไทยหลังจากที่พบผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทยแล้ว นำไปสู่การเชื้อมายังคนไทยและเกิดการติดเชื้อภายในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยในการระบาดระลอกแรกเริ่มต้นในช่วงราวเดือน 12 มีนาคม 63 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อนถึงจุดพีคในช่วงเดือนเมษายน 63 และค่อยๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เหลือระดับหลักหน่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 รวมระยะเวลาราว 1เดือน

ซึ่งเซื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่2019 ที่พบในช่วงของการะบาดระลอกแรก คือเป็นเชื้อสายพันธุ์แรกจากเมืองอู่ฮั่นของจีน

ระลอกที่ 2 ( ธ.ค. 63 – มี.ค. 64 )

ในช่วงเวลาหลังจากผ่านระลอกแรกไปแล้ว สถานการณ์โควิด-19 ยอดผู้ป่วยรายใหม่ต่อวันของไทยไม่มากนัก ก่อนที่จะมาเจอกับการระบาดในระลอกที่ 2 จากกลุ่มคนที่ลักลอบเดินทางกลับจากเมียนมา เนื่องจากมีการระบาดของโควิด-19 ในเมียนมา ทำให้คนไทยที่ไปทำงานในฝั่งเมียนมาเดินทางกลับประเทศไทย โดยผ่านทางช่องทางธรรมชาติ และมีการเดินทางกระจายไปในหลายจังหวัดในประเทศ ทำให้เกิดการระบาดต่อเนื่องในช่วงเดือน ธ.ค. 63 – ม.ค. 64 รวมถึงการพบการระบาดในคลัสเตอร์ตลาดกลางกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร

ซึ่งการระบาดในระลอกนี้ พบเชื้อในกลุ่มคนไทยที่ลักลอบมาจากเมียนมา รวมถึงคลัสเตอร์ตลาดกลางกุ้งนั้น เป็นเชื้อสายพันธุ์ G ที่คาดว่า มาจากฝั่งประเทศเมียนมา และนำเชื้อเข้ามาระบาดในประเทศจากกลุ่มคนไทยและแรงงานเมียนมา ผ่านช่องทางธรรมชาติ

โดยผ่านจุดสูงสุดในช่วงต้นเดือน ก.พ.64 และลดลงเรื่อยๆ รวมระยะเวลาราว 2 เดือน

ระลอกที่ 3 ( เม.ย. 64 – ปัจจุบัน)

สถานการณ์ในระลอกปัจจุบัน ที่มีการพบการติดเชื้อต่อเนื่องมาจากก่อนหน้า ทำให้อัตราการพบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ เพิ่มสูงขึ้นเพิ่มเติมขึ้นจนถึงปัจจุบัน และแนวโน้มยังคงเป็นการพบผู้ติดเชื้อต่อเนื่องขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจุดเริ่มต้นของพบการระบาดในคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อ ต่อเนื่องจากระลอกที่ 3 ที่เพิ่งลดจำนวนลงได้ไม่นาน

โดยเชื้อที่พบการระบาดในระลอกนี้ พบเป็นเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟา (หรือชื่อเดิม สายพันธุ์อังกฤษ) มีความใกล้เคียงกับเชื้อที่พบในประเทศกัมพูชา

แต่การระบาดในระลอกที่ 3 นี้แม้ว่าจะมีรายงานการระบาดของการติดเชื้อในวันที่ 17 พ.ค. 64 พบผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มมากที่สุด คือ 9,635 ราย ซึ่งเป็นวันที่มีรายงานยอดผู้ติดเชื้อในเรือนจำและทัณฑสถาน จึงอาจจะเรียกได้ว่า เป็น Spike ที่พุ่งขึ้นมาแล้วก็หายไป

และสถานการณ์ในขณะนี้ จึงจะเห็นว่า การระบาดยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงเรียกได้ว่า สถานการณ์การระบาดยังคง “มองไม่เห็นจุดสูงสุด” ซึ่งนั่นหมายความว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จะยังคงเพิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องไปอีก และยังมองไม่เห็นว่า “จุดสูงสุด” จะถึงเมื่อไหร่

ดังนั้นจากข้อมูลที่มีทั้งหมด จะเห็นว่า ในช่วงราว 2 สัปดาห์ล่าสุด แนวโน้มของการพบผู้ป่วยรายใหม่ต่อวันเริ่มเป็นแบบเอกซ์โพเนนเชียล ที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเรื่อยๆ ทั้งในภาพรวมของประเทศ และในกรุงเทพฯ ซึ่งหากเป็นไปตามการณ์นั้นจะพบว่า อีกราว 12 วัน ประเทศไทยจะพบกับจำนวนผู้ป่วยมากกว่า 1หมื่นรายต่อวัน

แต่ก็ยังไม่มีอะไรการันตีว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะสูงสุดเมื่อไหร่ ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ของสายพันธุ์เดลตา ที่มีการพบผู้ป่วยในกรุงเทพ เพิ่มขึ้น โดยรายงานล่าสุดของ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ได้รายงานผลการตรวจหาสายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ในกรุงเทพ พบว่า สายพันธุ์เดลต้ามีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากจำนวน 700 กว่าตัวอย่างในช่วงเดือนที่ผ่านมา พบผู้ป่วยแล้ว 70% เนื่องจากเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา สามารถติดกันได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อัลฟา

แนวโน้มอัตราเสียชีวิต

สิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ จะเห็นว่า เมื่อมีการพบผู้ป่วยเพิ่มมากสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระลอกที่ 3 มีแนวโน้มการเสียชีวิตสูงมากกว่า ระลอกที่ผ่านมา ๆ มา และยิ่งหากจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นก็จะส่งผลต่ออัตราการองรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลมากยิ่งขึ้น และหากถึงจุดระบบสาธารณสุขไม่สามารถรองรับ อัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านี้อีกหลายเท่าตัว