AstraZeneca Johnson & Johnson Moderna วัคซีนโควิด-19 แคนาดา

แคนาดา อัปเดตรายงานประสิทธิภาพวัคซีน – อาการไม่พึงประสงค์

สรุปรายงานเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ - ประสิทธิภาพวัคซีน 2 ชนิดในแคนาดา รวม 4 ค่าย (Pfizer, moderna, AstraZeneca, Johnson&Johnson)

Home / โควิด-19 / แคนาดา อัปเดตรายงานประสิทธิภาพวัคซีน – อาการไม่พึงประสงค์

ประเด็นที่น่าสนใจ

  • การพบอาการไม่พึงประสงค์ ของวัคซีนคล้ายคลีงกับที่มีรายงานก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะในกลุ่มอาการที่พบได้บ่อย
  • ในแคนาดา ผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิด mRNA ( Pfizer, Moderna) ยังไม่พบอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ในระดับที่เกินอัตราส่วนปรกติ แต่รายงานพบในกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อย จำนวนไม่มากนัก และพบหลังการได้รับวัคซีนเข็มที่ 2
  • วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า มีรายงานการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ในอัตรา 1:73,000 โดส
  • ประสิทธิภาพของวัคซีน mRNA จะเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด หลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 แล้ว
  • ในขณะที่วัคซีน Astrazeneca จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากที่สุด ในเข็มแรก
  • วัคซีนของ Johnson & Jonhson จะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มได้ดี หลังจากรับวัคซีนไปแล้ว 29 วัน เนื่องจากเป็นวัคซีนแบบเข็มเดียว

คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านภูมิคุ้มกันแห่งชาติแคนาดา หรือ ( NACI ) รายงานคำชี้แจงของคณะกรรมการที่ปรึกษาล่าสุด เกี่ยวข้องกับการใช้งานวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในแคนาดา โดยในรายงานมีการเปรียบเทียบประสิทธิภาพวัคซีน และคำแนะนำต่าง ๆ ระหว่าง วัคซีนในกลุ่มของ mRNA อย่าง Pfizer และ Moderna กับวัคซีนในกลุ่ม viral vector อย่าง Astrazeneca และ Johnson & Johnson โดยสรุปดังนั้น

กรณีอาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย

อาการไม่พึงประสงค์ของผู้ที่ได้รับวัคซีนมีอัตราการพบอยู่ระหว่าง 1% – 10% ของผู้ที่ได้รับวัคซีน ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นอาการปวด – บวม บริเวณที่ได้รับวัคซีน อาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หนาวสั่น ปวดข้อ และมีไข้ต่ำๆ

  • วัคซีนในกลุ่ม mRNA ส่วนใหญ่มักพบหลักได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 12-15 ปี
  • ในขณะที่วัคซีน Astrazeneca อัตราการพบในผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มแรก มากกว่าเข็มที่ 2

กรณีอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่ปรกติ และพบได้น้อย

ในผู้ที่ได้รับวัคซีนทั้งแบบ mRNA ( pfizer, moderna ) และกลุ่ม Viral vector ( Astrazenca, Johnson & Johnson) พบว่า อัตราการพบอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่ใช่อาการปรกติ มีอัตราการพบราว 0.1% ขึ้นไป จนถึงน้อยกว่า 1% ของผู้ที่ได้รับวัคซีน

ในขณะที่อัตราการพบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง และพบได้น้อย อยู่ที่ราว 0.01% – 0.1% ของผู้ได้รับวัคซีน

ภาวะการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังรับวัคซีนโควิด-19 ชนิด Viral Vector

  • ภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่กระตุ้นการเกิดหลอดเลือดอุดตันจากภูมิคุ้มกันภายหลังได้รับวัคซีน (VITT) ในแคนาดา ประมาณการอัตราการเกิดภาวะดังกล่าวอยู่ที่ 1 : 73,000 โดส อย่างไรก็ตาม ในการสอบสวนเพิ่มเติมอาจจะสูงขึ้นเป็น 1:50,000โดส
  • ในขณะที่ในรายงานของสหราชอาณาจักร พบว่า ภาวะลิ่มเลือดอุดตันด้วยภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (TTS) ที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับวัคซีนของ Astrazenca ในเข็มที่ 2 อยู่ที ่1 : 600,000 ถึง 1 : 750,000 โดส

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหลังรับวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA

โดยอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหลังรับวัคซีนโควิด-19 มีรายงานก่อนหน้านี้ในระดับสากลจากทั้งในยุโรป, อิสราเอล และสหรัฐฯ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และอิสราเอล มีรายงานในกลุ่มผู้ชาย อายุระหว่าง 25-30 ปี หลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่ 2

สำหรับในแคนาดามีรายงานการพบผู้มีอาการไม่พึงประสงค์ในกลุ่มนี้ 106 ราย แบ่งเป็น

อาการไฟเซอร์โมเดอร์นา
หัวใจหยุดเต้น47
หัวใจล้มเหลว70
กล้ามเนื้อหัวใจตาย (หัวใจวาย)167
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ / เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ408
รวม6722

คำแนะนำในเรื่องของความปลอดภัย

รายงานระบุประเด็นของข้อในการพิจารณาใช้งานวัคซีนทั้งสองชนิดไว้โดยระบุว่า

วัคซีนชนิด mRNA
( Pfizer / Moderna)
วัคซีนชนิด Viral Vector
( AstraZeneca / Johnson & Johnson)
มีรายงานการแพ้รุนแรงที่พบได้ยาก หลังจากได้รับวัคซีน

ทั้งสองชนิดมีการพบอาการไม่พึงประสงค์บางอย่างที่พบได้ทั่วไป ราว10% ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวเป็นอาการเล็กน้อย – ปานกลาง และหายไปได้ในเวลาไม่กี่วัน

ผู้ที่มีอายุ 16 ถึง 55 ปี และวัยรุ่น อายุ 12 ถึง 15 ปี พบอาการไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น เป็นส่วนใหญ่

พบมากที่สุดคือ อาการปวดศีรษะ ราว65%, มีอาการหนาวสั่น 42% และมีไข้ 20%

อย่างไรก็ตาม ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง หรือการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนแต่อย่างใด

สำหรับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบนั้น มีรายงานการพบใน สหรัฐฯ และ อิสราเอล ซึ่งในแคนาดา มีอัตราการพบในระดับปรกติตามสัดส่วนประชากร

อย่างไรก็ตาม มีรายงานพบในกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อย จำนวนไม่มากนัก และพบหลังการได้รับวัคซีนเข็มที่ 2

(คล้ายคลึงกับรายงานในต่างประเทศที่พบหลังได้รับวัคซีนเข็มที่สองราว 4 วัน และมักพบในวัยรุ่น – วัยหนุ่มสาวมากกว่า)
ทั้งสองชนิดมีการพบอาการไม่พึงประสงค์บางอย่างที่พบได้ทั่วไป ราว10% ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวเป็นอาการเล็กน้อย – ปานกลาง และหายไปได้ในเวลาไม่กี่วัน

สำหรับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า มีรายงานการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

รายงานในระดับนานาชาติ คาดว่าอยู่ที่ราว 1 :26,000 – 1:100,000 ราย ของผู้ได้รับวัคซีนของแอสตร้าเซเนก้า สำหรับในแคนาดาพบว่า อยู่อัตรา 1 : 73,000 โดส

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการติดตามค้นหาสาเหตุเพิ่มเติมต่อไป อาจจะพบในอัตราส่วนที่สูงขึ้นได้

ประสิทธิภาพวัคซีน

ในรายงานฉบับนี้ ยังได้พูดถึงประเด็นของประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีใช้ในแคนาดาทั้งสองประเภทคือ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA และ ชนิด Viral Vector กับเชื้อกลายพันธุ์ ที่จัดในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวลไว้ด้วย โดยในเรื่องของประสิทธิภาพในการกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันได้ โดยสำหรับวัคซีนชนิด mRNA นั้น มีประสิทธิภาพกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันได้สูงที่สุดหลังจากได้รับวัคซีน โดสที่ 2 แล้ว ในขณะที่วัคซีน ชนิด Viral Vector สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีในเข็มแรก และอยู่ในระดับคงที่ หรือลดลงเล็กน้อย ในวัคซีนเข็มที่ 2

สำหรับวัคซีนของ Johnson & Johnson นั้นเป็นวัคซีนแบบที่ได้รับเพียงโดสเดียว พบว่า ระดับภูมิคุ้มกันจะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่ได้รับวัคซีนไปแล้ว 29 วัน

สายพันธ์กลายพันธุ์วัคซีนชนิด mRNA
( Pfizer / Moderna)
วัคซีนชนิด Viral Vector
( AstraZeneca / Johnson & Johnson)
สายพันธุ์อัลฟ่า ( B.1.1.7)มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการรุนแรงได้ดีมีประสิทธิภาพ 70.4% (รายงานในสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 81.5%)
สายพันธุ์เบต้า ( B.1.351)มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดอาการได้ 43% หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรก และเพิ่มขึ้นเป็น 88% หลังได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดอาการได้ 10.4% สำหรับการป้องการอาการป่วยเล็กน้อย – ปานกลาง
สำหรับ Johnson & Johnson ในแอฟริกาใต้ พบว่าป้องกันอาการป้องกันอาการปานกลาง-รุนแรง ได้ 64%
สายพันธุ์แกมมา ( P.1) และ เซต้า ( P.2)ข้อมูลไม่เพียงพอข้อมูลไม่เพียงพอ ( สำหรับ Johnson & Johnson ในบราซิล พบว่าป้องกันอาการป้องกันอาการปานกลาง-รุนแรง ได้ 68%)
สายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2)มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดอาการได้ 33.2% หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรก และเพิ่มขึ้นเป็น 87.9% หลังได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม(Astrazeneca ) มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดอาการได้ 32.9%% หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรก และเพิ่มขึ้นเป็น 59.8% หลังได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม

ที่มา – An Advisory Committee Statement (ACS) National Advisory Committee on Immunization (NACI)