ประเด็นสำคัญ :
- [ล่าสุด – 25 ต.ค 64 ]พบการติดเชื้อสายพันธุ์นี้ในประเทศไทย 1 ราย
- อินเดียรายงานการพบการกลายพันธุ์เพิ่มเติมในสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย – B.1.617.2)
- โดยมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง K417N ซึ่งเคยพบในสายพันธุ์เบต้า หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของสายพันธุ์แอฟริกาใต้
- ในตำแหน่งดังกล่าว พบว่า เกี่ยวข้องกับผลของการหลบเลี่ยงแอนตี้บอดี้ หรือภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ในเบื้องต้นคาดว่า จะมีผลต่อการรักษาในด้วยการใช้ “ค็อกเทลแอนติบอดี”
- ยังไม่ยืนยันประสิทธิภาพต่อวัคซีน
…
สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศอินเดียมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนยอดผู้ป่วยลดลง หลังที่เกิดการระบาดในระลอกที่ 2 และเกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยเฉพาะที่เรารู้จักกันดีคือ สายพันธุ์เดลต้า ( B.1.617.2 หรือสายพันธุ์อินเดีย) ที่มีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้เร็ว
ล่าสุดทางการอินเดียได้รายงานว่า พบการเปลี่ยนแปลงในสายพันธุ์เดลต้า ( B.1.617.2 หรือสายพันธุ์อินเดีย) ในบางส่วนทำให้ซึ่งในขณะนี้มีการตั้งชื่อเรียกว่า สายพันธุ์เดลต้า พลัส (Delta Plus) หรือ AY.1
…
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ในสายพันธุ์เดลต้า พลัส ที่มีการค้นพบและยืนยันล่าสุดเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยเบื้องต้นพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงของ โปรตีนตรงส่วนหนาม (spike protein) บนผิวของไวรัส โดยในการค้นพบแล้วในบางประเทศ เช่น อินเดีย แคนาดา รัสเซีย เนปาล สวิสเซอร์แลนด์ รวมถึงสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามในขณะนี้ ยังพบว่า ในเชื้อสายพันธุ์นี้ยังมีไม่มากนัก จึงยังคงต้องติดตาม/เฝ้าระวังต่อไป
สรุปเกี่ยวกับสายพันธุ์เดลต้า พลัสนี้
- เดลต้าพลัสเกิดขึ้นจากการพัฒนาของสายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2)
- จุดในจุดสำคัญที่พบเปลี่ยนแปลงคือ ตำแหน่งเดียวกับ K417N
- โดยตำแหน่งนี้ เคยมีพบการกลายพันธุ์มาก่อนใน สายพันธุ์เบต้า หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของสายพันธุ์แอฟริกาใต้ – B.1.351
…
อินเดียยกระดับสายพันธุ์เดลตา พลัส เป็น VoC
อินเดีย ยกระดับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า พลัส (B.1.617.2.1) ให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล หรือ Variant of Concern (VoC) แล้ว เนื่องจาก
- สามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็ว
- เกาะกับเซลล์ของปอดได้ดี
- ลดการตอบสนองของโมโนโคลนอล แอนติบอดี
(ง่ายๆ = สู้กับภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น)
สิ่งที่ต้องติดตาม-เฝ้าระวัง
ในการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์เดลต้า พลัสนี้ เกิดขึ้นในจุดสำคัญคือ K417N ในตำแหน่งเดียวกับสายพันธุ์เบต้า หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ซึ่งมีความทนทาน และหลบเลี่ยงแอนดิบอดี้ในร่างกายได้ดีกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ทำให้ส่งผลต่อการรักษา และการฉีดวัคซีนด้วยนั่นเอง
สายพันธุ์เดลต้าพลัส จึงมีหลักฐานที่คาดว่า จะมีความสามารถในการต่อต้านกับแอนตี้บอดี รวมถึงการรักษาโดยการใช้ “ค็อกเทลแอนติบอดี” (Antibody Cocktail) ซึ่งค็อกเทลแอนติบอดี เป็นการใช้ภูมิคุ้มกันชนิดโมโนโคลน 2 ชนิดที่สังเคราะห์ขึ้น ฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อดักจับไวรัสแทนแอนตี้บอดี้ หรือภูมิคุ้มกันปรกติของร่างกายมนุษย์
โดยในอินเดีย มีการใช้ค็อกเทลแอนติบอดี (Antibody Cocktail) อยู่ 2 ชนิดด้วยกันที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วย คือ Casirivimab และ Imdevimab
แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่พบว่า เชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวมีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้าเดิมอย่างชัดเจนมากนัก ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม
…
เกี่ยวกับวัคซีนป้องกัน
ในขณะเดียวกัน ในสายพันธุ์เดลต้าเดิมนั้น วัคซีนที่มีใช้ในประเทศอินเดีย อย่าง Covishield (AstraZeneca) และ Covaxin สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และยังมีประสิทธิภาพในการช่วยไม่ให้ป่วยหนักหรือเสียชีวิตได้ แต่สำหรับในสายพันธุ์เดลต้า พลัสชนิดนี้ ยังคงต้องมีการศึกษาต่อไป เนื่องจากการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ยังไม่ได้มีการจัดให้สายพันธุ์เดลต้า พลัส นั้นอยู่ในกลุ่มของสายพันธุ์ที่น่ากังวล ( Variant of Concerns – VoCs) แต่อย่างใด ทางการอินเดียยังคงจัดให้อยู่ในกลุ่มของสายพันธุ์ที่น่าสนใจ หรือ variant of interest