ศบค.แถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันนี้ ซึ่งแนวโน้มยังคงพบผู้ป่วยอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มทรงตัว ส่วนใหญ่เป็นการพบการติดเชื้อในคลัสเตอร์เดิมที่มีการพบผู้ป่วยก่อนหน้าเป็นส่วนใหญ่ และยังคงเป็นการพบผู้ป่วยในพื้นที่กรุงเทพ-ปริมณฑล เป็นหลัก
สถานการณ์การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
จากที่ได้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชาชน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่นมา ในขณะนี้ ฉีดวัคซีนแล้ว 5.67 ล้านโดส เพิ่มขึ้นอีก 2.23 แสนโดส ทำให้ยอดรวมสะสมตั้งแต่ 7 มิ.ย. อยู่ที่ราว 1.45 ล้านโดส
อย่างไรก็ตามยอดยังไม่รวมในส่วนของเครือข่ายประกันสังคม อีกราว 1.4 แสนราย
สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ
- พบผู้ป่วยเพิ่ม 2,290 ราย รวมสะสม 189,828 ราย
- สำหรับผู้ป่วยรายใหม่พบในประชาชนทั่วไป 1,966 ราย พบในกลุ่มผู้ต้องขังในเรือนจำ/ทัณฑสถาน 294 ราย และเป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 30 ราย
- แนวโน้มการพบการติดเชื้อในเรือนจำหรือทัณฑสถานในขณะนี้มีการตรวจซ้ำ จึงยังคงมีรายงานการพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นบ้าง แต่เป็นจำนวนที่ไม่มากนัก
- หายป่วยเพิ่ม 5,711 ราย รวมหายแล้ว 144,998 ราย
- เสียชีวิตเพิ่ม 27 ราย รวมสะสม 1402 ราย
- คงเหลือรักษาตัว 43,428 ราย โดยรักษาตัวอยู่ใน รพ. 16,768 ราย และในรพ.สนาม 26,660ราย
- มีผู้ป่วยอาการหนัก 1,287 ราย และมีต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอีก 352ราย
ผู้เสียชีวิตวันนี้
- กทม. ยังพบเสียชีวิตสูงสุด 17 ราย
- โรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเสียชีวิต
- ส่วนใหญ่พบผู้เสียชีวิตได้รับเชื้อจากคนในครอบครัว ผู้ใกล้ชิด
แนวโน้มการระบาดของโควิด-19 ในประเทศ
- การพบผู้ป่วยในระบบเฝ้าระวัง / รพ. ยังทรงตัว
- การค้นหาเชิงรุก ยังคงพบติดเชื้อทรงตัวเช่นกัน
- ในเรือนจำ/ทัณฑสถาน มีแนวโน้มลดลง
การพบผู้ติดเชื้อจากตปท.
- มีผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากอินโดฯ 1 ราย ซึ่งเป็นเคสที่กักตัวอยู่บนเรือ ไม่ได้ขึ้นฝั่งแต่อย่างใด และเป็นกลุ่มก้อนเดิมที่เคยมีรายงานก่อนหน้านี้
- ผู้มาจากกัมพูชา 12 ราย โดยมี 8 รายที่จ.จันทบุรี โดยออกไปอย่างผิดกฎหมาย ก่อนถูกจับกุมส่งกลับประเทศไทยทั้งหมด 18 ราย ซึ่งได้มีการประสานงานและมีเจ้าหน้าที่ของไทยไปรับตัวกลับ ที่ด่านชายแดน ในจังหวัดจันทบุรี
- การลักลอบเข้าไทยยังคงมีอยู่ วันนี้พบอีก 208 ราย โดยยังคงมีการเฝ้าระวัง-จับกุมอย่างต่อเนื่อง
ย้ำ – หากผู้ใดพบเห็นการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ทำการตรวจสอบ ทั้งในกรณีของการลักลอบเข้ามา การให้ที่พักพิงกับผู้ลักลอบเข้าเมือง เป็นต้น
สถานการณ์โควิด-19 ในคลัสเตอร์ต่าง ๆ
- แนวโน้มการพบการติดเชื้อใน กทม. – ปริมณฑลยังคงสูง
- การพบผู้ป่วยรายงานผู้ป่วยเพิ่มต่อเนื่องในคลัสเตอร์เดิมเป็นส่วนใหญ่
- สมุทรปราการ พบคลัสเตอร์ใหม่ที่ รง.ส่งออกเสื้อถักไหมพรม 67 ราย
- นนทบุรี พบที่แคมป์ก่อสร้าง, ตลาดบางใหญ่ พบเพิ่ม 12 ราย
- นครปฐม พบคลัสเตอร์ใหม่ รง.ไก่ อ.สามพราน พบเพิ่ม 63 ราย
- สงขลา มีการพบติดเชื้อเพิ่มคลัสเตอร์ใหม่ 2 คลัสเตอร์ด้วยกันคือ
- ตลาดวชิรา อ.เมืองสงขลา พบติดเชื้อแล้ว 7 ราย
- โรงงานถุงมือยาง อ.สะเดา พบติดเชื้อแล้ว 19 ราย
- เพชรบุรี พบต่อเนื่องในกลุ่นก้อนแรงงานในโรงงานชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ซึ่งโดยรวมแล้วน้อยลง
- มีการพบคลัสเตอร์ใหม่ ในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ ที่ อ.เขาย้อย เพชรบุรี พบเพิ่ม 24 ราย
- จันทบุรี พบคลัสเตอร์ใหม่ ตลาดไทย-กัมพูชา อ.โป่งน้ำร้อน พบผู้ป่วยแล้ว 13 ราย
สถานการณ์โควิด-19 ในกทม. วันนี้
- พบเพิ่ม 3 คลัสเตอร์ รวมที่ต้องเฝ้าระวังทั้งหมด 78 คลัสเตอร์
- แคมป์ก่อสร้าง ที่หลักสี่ พบเพิ่ม 59 ราย
- ตลาดละลายทรัพย์ ที่เขตบางรัก พบติดเชื้อแล้ว 20 ราย เป็นผู้ค้า 13 ราย ตามเพิ่มพบติดเชื้อในครอบครัวอีก 7 ราย
- โรงงานเย็บผ้า ที่เขตภาษีเจริญ พบเพิ่ม 37 ราย
- ยังคงมีการตรวจติดตามในตลาดต่าง ๆ เพิ่มเติมให้ครบทั้ง 486 แห่ง ซึ่งตรวจแล้ว 406 แห่ง ยังไม่ผ่านเกณฑ์ 7 แห่ง
- ฝากปชช. ช่วยตรวจสอบตลาดที่ใช้บริการ หากพบพท.มีน้ำขังเฉอะแฉะ, กวาดเศษผักลงพื้นตลาด ฯลฯ สามารถแจ้งจนท.ที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมได้
- โดยในทุกจังหวัดยังคงมีการตรวจเฝ้าระวัง สุ่มตรวจต่อเนื่อง
มาตรการเกี่ยวกับการทำ Bubble & Seal ในกลุ่มแรงงาน
สำหรับการทำการดำเนินการตามมาตรการ Bubble & Seal ในกลุ่มแรงงาน สถานประกอบการ หรือ แคมป์คนงาน ยังคงมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในบางกรณี จึงได้มีการจัดทำคู่มือ รายละเอียด กฎเกณฑ์ และข้อกำหนดต่าง ๆ ซึ่งหากดำเนินการจัดทำเรียบร้อย ก็จะมีการแจ้งให้ผู้ประกอบการ ทราบอีกครั้งเพื่อทำความเข้าใจมาตรการต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
- Seal คือสำหรับที่พักคนงานและไซต์งานอยู่ที่เดียวกัน ก็จะปิดผนึกไว้ในพท.นั้นๆ
- Bubble คือสำหรับที่พัก และไซต์งานอยู่คนละที่ ซึ่งในรูปแบบนี้ ทำให้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกันอยู่บ้าง จึงได้ออกมาตรการรายละเอียดเพิ่มเติม
โดยมาตรการทำการ Seal นั้น ผู้ประกอบการ หรือผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ และไม่พบปัญหา แต่ยังคงพบปัญหาของการทำ Bubble ที่ยังคงมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่
- โดยจะต้องมีการควบคุมการเดินทาง/รับส่งพนักงาน
- มีการควบคุมโรคเฉพาะกลุ่ม ให้ตัดกลุ่มที่มีอาการป่วยออกไป
- ป้องกันไม่กระจายสู่ชุมชน
- มีการจัดดูแลในเรื่องปัจจัย 4
- มีแผน exit plan หลังครบ 28 วัน
โดยจะมีการกำหนดมาตรฐาน, ประกาศใช้มาตรการอย่างละเอียดอีกครั้ง ซึ่งหากออกมาตรฐาน กฎเกณฑ์อย่างละเอียดออกมาแล้ว จะทำให้ผู้ประกอบการ-จนท. เข้าใจมากขึ้น ในขณะเดียวกัน หากพบเห็นการไม่ปฏิบัติตาม ก็สามารถแจ้ง จนท. ได้เพื่อช่วยกันควบคุม/ป้องกันการระบาดต่อไป