สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์อินเดีย โควิด-19

วิทยาศาสตร์การแพทย์ สถานการณ์โควิด19 สายพันธุ์ต่าง ๆ ในไทย

พบสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) กว่า 90% ของผู้ติดเชื้อ / ต้องระวังสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) แพร่ได้เร็วกว่า

Home / โควิด-19 / วิทยาศาสตร์การแพทย์ สถานการณ์โควิด19 สายพันธุ์ต่าง ๆ ในไทย

ประเด็นน่าสนใจ

  • กรมวิทยาศาสตร์การแพทย แถลงการเฝ้าระวัง-ตรวจหาสายพันธุ์เชื้อโควิด-19
  • พบกว่า 90% ของการระลาดระลอกใหม่เป็นเชื้อสายพันธุ์อัลฟ่า (หรือชื่อเดิม สายพันธุ์อังกฤษ)
  • พบสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) ราว 6% แต่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง เพราะระบาดได้เร็วกว่า

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข วันนี้ (7 มิ.ย.) ได้มีการแถลงข่าวเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ในประเทศไทย ในช่วงการระบาดในระลอกใหม่นี้ โดยระบุว่า ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการถอดรหัสพันธุกรรมกว่า 30,000 รหัสพันธุกรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือกันของทุกประเทศในโลก เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบสายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 พร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการควบคุมการระบาดของโควิด-19

องค์การอนามัยโลกเปลี่ยนชื่อเรียก

จากที่ก่อนหน้านี้ จะมีการเรียกชื่อสายพันธุ์ต่างๆ ตามสถานที่ที่มีการค้นพบและรายงาน แต่จากที่ผ่านมาเมื่อเรียกตามชื่อดังกล่าวพบปัญหา เช่นที่ มีการเรียกเชื้อสายพันธุ์ไทย ทั้งๆ ที่ผู้ติดเชื้อ ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยเลย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ จึงได้มีการใช้จากความไม่เหมาะสมบางประกาศจึงได้มีการประกาศเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อให้เหมาะสมมากขึ้น ตามตัวอักษรกรีก

สำหรับในขณะนี้ มีการจัดกลุ่มของสายพันธุ์ต่าง ๆ ไว้ โดยมีกลุ่มสายพันธุ์ที่ถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงได้แก่

  • สายพันธุ์อัลฟ่า (สายพันธุ์อังกฤษเดิม , B.1.1.7)
  • สายพันธุ์เบต้า (สายพันธุ์แอฟริกาใต้เดิม, B.1.351)
  • สายพันธุ์แกมม่า (สายพันธุ์บราซิลเดิม , P.1)
  • สายพันธุ์เดลด้า (สายพันธุ์อินเดียเดิม, B.1.617.2)

พบเชื้อสายพันธุ์อัลฟ่า ระบาดมากสุดในขณะนี้

ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการตรวจค้นหาสายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้สามารถเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดได้ เช่นกรณีที่พบในพื้นที่อ.ตากใบ ที่มีการพบเชื้อสายพันธุ์เบต้า (หรือชื่อเดิมคือ สายพันธุ์แอฟริกาใต้) และสามารถควบคุมการแพร่ระบาดไว้ได้ และยังไม่พบการระบาดในพื้นที่อื่น

ในช่วงของการระบาดระลอกใหม่นี้ จากจำนวนตัวอย่างที่มีการตรวจหาสายพันธุ์ไป 3,964 ราย มีการค้นพบว่า สายพันธุ์เดิม หรือที่เรียกกันว่า สายพันธุ์ G ที่มีการระบาดตั้งแต่ครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีพบจำนวนไม่มากนัก เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อัลฟ่า (หรือชื่อเดิม สายพันธุ์อังกฤษ) ที่มีการพบในช่วงนี้มากที่สุด และเรียกได้ว่า มีการระบาดและพบเป็นส่วนใหญ่ในขณะนี้ คือ ราว 90%

แนวโน้มสายพันธุ์อินเดียเริ่มเพิ่มสูงขึ้น

ซึ่งในขณะนี้ เริ่มมีพบสายพันธุ์อื่น อย่างสายพันธุ์เดลต้า (หรือชื่อเดิม สายพันธุ์อินเดีย) ที่ในขณะนี้ตรวจแล้วกว่า 230 ราย หรือราว 6% ติดเชื้อในสายพันธุ์นี้ ซึ่งพบมากสุดในกรุงเทพฯ คือจำนวน 206 ราย

  • นนทบุรี 2 ราย
  • พิษณุโลก 2 ราย ซึ่งเดินทางจากพื้นที่หลักสี่ กทม. ไปยังพิษณุโลก
  • สระบุรี 2 ราย
  • อุดรธานี 17 ราย
  • อุบลราชธานี , บุรีรัมย์, สมุทรสงคราม จังหวัดละ 1 ราย

โดยมีการเชื่อมโยงกับจุดที่พบในพื้นที่หลักสี่และกระจายตัวไปในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งในกรณีที่อุดรธานี ยังคงอยู่ในระหว่างการสอบสวนและหาข้อสรุป ว่าเกี่ยวข้องกับเคสที่หลักสี่มาน้อยเพียงใด เพราะมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรม (บายศรีสู่ขวัญ) จึงมีการติดกันเป็นกลุ่มก้อน

ส่วนผลการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวพบว่า สายพันธุ์เดลต้า (หรือชื่อเดิม สายพันธุ์อินเดีย) มีความคล้ายคลึงและใกล้เคียงกับสายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้า (หรือชื่อเดิม สายพันธุ์อินเดีย) ในพื้นที่ของจังหวัดนราธิวาส และในประเทศมาเลเซีย, บังคลาเทศ

ยังกังวลการระบาดสายพันธุ์เบต้า

สำหรับที่ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เฝ้าระวังและจับตามองเป็นพิเศษ คือ สายพันธุ์เบต้า (ชื่อเดิม สายพันธุ์แอฟริกาใต้ / B.1.351) ซึ่งมีการพบในพื้นที่อ.ตากใบ รวมแล้ว 26 ราย ที่คาดว่าข้ามมาจากทางประเทศมาเลเซีย

อย่างไรก็ตาม ยังคงพบการระบาดในเฉพาะพื้นที่อ.ตากใบ และแม้ว่าจะมีการตรวจสายพันธุ์ในพื้นที่ใกล้เคียง แต่ยังไม่พบในพื้นที่อื่น ดังนั้นจึงยังต้องเฝ้าระวังต่อเนื่องต่อไป

ส่วนอีกตัวหนึ่งที่เฝ้าระวังอยู่เช่นกันคือ สายพันธุ์ B.1.524 ที่พบในประเทศมาเลเซีย และมีการพบในประเทศไทย ในพื้นที่นราธิวาสและปัตตานี จำนวน 10 ราย แต่เชื้อตัวนี้จะยังไม่มีความน่ากังวลอย่างใด

สำหรับสายพันธุ์เบต้า ที่มีการพบการติดเชื้อนั้น ได้มีการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อทั้งตัว ก็พบว่า

สิ่งที่ต้องเรียนรู้ และเฝ้าระวัง

สำหรับเชื้อนั้นมีความสามารถกลายพันธุ์ เพื่อให้ตัวมันเองสามารถดำรงอยู่ในโลกนี้ได้ เป็นธรรมชาติของเชื้อโรค ซึ่งสิ่งที่ประชาชนต้องเข้าใจคือ เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จะยังคงอยู่กับเราต่อไปอย่างแน่นอน เราต้องยอมรับว่า ไม่มีทางที่เราจะกำจัดไวรัสนี้ให้หมดไปจากโรคได้ ตัวของเชื้อไวรัสเอง มีความสามารถในการสืบพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว จึงมีโอกาสในการกลายพันธุ์ เกิดสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง

จากสายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบในเมืองอู่ฮั่น ไม่มีความสามารถในการกระจายเชื้อได้น้อย แต่เมื่อกระจายออกไป และแตกลูกหลานได้เร็วขึ้น กลายเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดได้เร็ว ขึ้น จนกระทั่งสายพันธุ์เดิม หายไปเกิดสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ระบาดได้เร็วขึ้น

ในไทยเอง ก่อนหน้านี้มีการพบสายพันธุ์ G เป็นจำนวนมาก แต่พอมีสายพันธุ์อัลฟ่า (สายพันธุ์อังกฤษเดิม , B.1.1.7) มีกลายเป็นสายพันธุ์ G แทบไม่พบเลย มาเป็นพบสายพันธุ์อัลฟ่า

ในขณะนี้ สายพันธุ์เดลด้า (สายพันธุ์อินเดีย) แพร่ได้เร็วกว่า สายพันธุ์อัลฟ่า (สายพันธุ์อังกฤษ) จึงมีความน่ากังวลได้มากกว่า ซึ่งในหลายประเทศก็กังวลกับการแพร่ระบาดของสายพันธุ์นี้

ในขณะที่สายพันธุ์เบต้า (ชื่อเดิม สายพันธุ์แอฟริกาใต้ / B.1.351) นั้นมีความน่ากังวลเรื่องของการลดประสิทธิภาพของวัคซีน แต่ก็มีการแพร่กระจายได้ไม่ดีเหมือนสายพันธุ์ สายพันธุ์เดลด้า (สายพันธุ์อินเดีย) หรือ สายพันธุ์อัลฟ่า (สายพันธุ์อังกฤษ) จึงยังพอมีโอกาสที่เรายังพอตั้งหลักได้ ทั้งการรักษาพยาบาลที่ระบบสาธารณสุขยังพอรับได้ วัคซีนสามารถเตรียมพร้อมพัฒนาต่อยอดได้ อย่างไรก็ตามก็วางใจไม่ได้

หากเทียบเคียงกับในของเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ผ่านมา พบว่า เชื้อโควิด-19 มีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าไข้หวัดใหญ่ ซึ่งถ้าในที่สุดแม้ว่าเชื้อไข้หวัดใหญ่จะมีการปลี่ยนแปลง แต่ระดับภูมิคุ้มกันหมู่ของคนเราก็จะพัฒนาไป สุดท้ายแล้วในอนาคตข้างหน้า โควิด-19 ก็จะเป็นในทิศทางเดียวกัน

แต่อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ ที่ยังเรายังต้องเฝ้าระวังตัวเอง ไม่เอาตัวเองไปเสี่ยงรับเชื้อ และการฉีดวัคซีนยังคงสามารถมีความจำเป็นในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่กันต่อไป