วันฮาโลวีน

ประวัติ วันฮาโลวีน Halloween 31 ตุลาคม ของทุกปี

ประวัติ วันฮาโลวีน ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม ประเทศทางตะวันตกจะแต่งกายเป็นภูตผีปีศาจออกไปงานฉลองกัน

Home / CAMPUS / ประวัติ วันฮาโลวีน Halloween 31 ตุลาคม ของทุกปี

ฮาโลวีน เป็นงานฉลองในคืนวันที่ 31 ตุลาคม ประเทศทางตะวันตก เด็กๆ จะแต่งกายเป็นภูตผีปีศาจพากันชักชวนเพื่อนฝูงออกไปงานฉลอง ส่วนกิจกรรมประจำเทศกาลก็จะมีการเล่น ทริค ออ ทรีท มีการแต่งตัวเป็นผีไปร่วมงานปาร์ตี้ เล่นเกมทดสอบความกล้า เล่นรอบกองไฟ ผจญภัยในสถานที่สยองขวัญ เล่นพิเรน อ่านเรื่องสยองขวัญ และชมภาพยนต์สยองขวัญ มีการประดับประดาแสงไฟ และที่สำคัญคือแกะสลักฟักทองเป็นโคมไฟ เรียกว่า แจ๊ก-โอ’-แลนเทิร์น (jack-o’-lantern)

ประวัติ วันฮาโลวีน Halloween

การฉลองวันฮาโลวีนนิยมจัดกันในสหรัฐอเมริกาไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร แคนาดา และยังมีในออสเตรเลีย กับนิวซีแลนด์ด้วย รวมถึงประเทศอื่นในทวีปยุโรปก็นิยมจัดงานวันฮาโลวีนเพื่อความสนุกสนาน มีจุดกำเนิดมาจากเทศกาลของชาวเซลติคโบราณ ซึ่งรู้จักในชื่อ Samhain มีที่มาจากชาวไอริชโบราณ ถือกันว่า เป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน ซึ่งชาวบริตอนโบราณก็มีประเพณีคล้ายกันนี้ เรียกว่า Calan Gaeaf เทศกาล Samhain นั้น มีขึ้นเพื่อฉลองจุดสิ้นสุดของช่วงสว่างแห่งปี และเข้าสู่ช่วงมืดของปี ทั้งยังถือกันว่าเป็นวันปีใหม่ของชาวเซลติคอีกด้วย

เทศกาลนี้ ชนบางกลุ่มก็ใช้ชื่อว่า เทศกาลแห่งความตาย (Festival of the dead) ชาว เซลท์ โบราณเชื่อว่าเป็นวันที่โลกนี้ และโลกหน้า โคจรมาอยู่ใกล้กันมากที่สุด ทำให้เหล่าวิญญาณ (ทั้งที่มีอันตรายและไม่มีอันตราย) สามารถผ่านเข้าออกได้อย่างอิสระ ซึ่งวิญญาณของบรรพบุรุษที่เคารพจะได้รับการต้อนรับกลับบ้าน ในขณะที่วิญญาณร้ายจะถูกขับไล่ โดยมีความเชื่อกันว่าการที่จะสามารถขับไล่วิญญาณร้ายได้นั้น สามารถทำได้ด้วยการสวมชุดและหน้ากากผี ซึ่งมีจุดประสงค์คือการแฝงตัวเป็นวิญญาณร้ายซะเอง เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย ในสก๊อตแลนด์ ผู้ชายวัยรุ่นจะแต่งตัวเลียนแบบผีด้วยการสวมชุดขาว สวมหน้ากาก สวมผ้าคลุมหน้า หรือทาหน้าเป็นสีดำ

Samhain ยังเป็นเทศกาลวันแห่งการตุนอาหารไว้สำหรับฤดูหนาว และมีการเล่นรอบกองไฟในหลายพื้นที่ ไฟและแสงสว่างประเภทอื่นจะถูกดับลง และบ้านแต่ละหลังจะจุดไฟในเตาโดยใช้เชื้อไฟจากกองไฟ ส่วนกระดูกของสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร จะถูกโยนเข้าไปในเปลวเพลิงนี้ บางครั้ง กองไฟ 2 กองจะถูกจุดไว้ข้าง ๆ กัน แล้วผู้คนกับสัตว์ที่เลี้ยงไว้เป็นอาหารจะเดินวนระหว่างสองกองไฟ ถือเป็นพิธีการชะล้าง

ที่มาของชื่อ วันฮาโลวีน Halloween

คำว่า ฮาโลวีน (Halloween) เดิมทีนั้นสะกดเป็น ฮันโลวีน, ฮัลโลวีน, ฮาโลวีน เป็นคำย่อของคำว่า Hallows’ (ฮอลโลว, ฮาโลว) Even (อีเว้น) และคำว่า e’en ก็เป็นคำย่อของคำว่า even ซึ่งย่อมาจากคำว่า evening (ค่ำ) ซึ่งเป็นคำที่มีรากคำมาจากภาษาอังกฤษโบราณ ปัจจุบันเป็นที่รู้จักในชื่อ วันอีฟ ออฟ ออลเซ็นต์ ซึ่งตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายน

สัญลักษณ์/เครื่องหมาย วันฮาโลวีน Halloween

ในวันฮาโลวีนอีฟ ชาว เซลท์ โบราณจะแขวนโครงกระดูกไว้ตรงธรณีหน้าต่าง เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความตาย ประเพณีนี้มีจุดกำเนิดในยุโรป จะมีการแกะสลักโคมไฟจากหัวผักกาด เพราะมีความเชื่อว่าหัวเป็นส่วนที่มีพลังที่สุดของร่างกาย ประกอบไปด้วยจิตวิญญาณและภูมิความรู้ ซึ่งชาวเซลท์ จะใช้ส่วนหัวของผักมาขับไล่วิญญาณร้าย

ประเพณี/การเล่น ทริค ออ ทรีท (Trick-or-treat) และการแต่งกาย

ในสหรัฐอเมริกาคือการละเล่นอย่างหนึ่งที่เด็กๆ เฝ้ารอคอย ในวันฮาโลวีนตามบ้านเรือนจะตกแต่งด้วยโคมไฟฟักทองและตุ๊กตาหุ่นฟางที่เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประเพณีเก็บเกี่ยว (Harvest) ในช่วงเดียวกันนั้น แต่ละบ้านจะเตรียมขนมหวานที่ทำเป็นรูปเม็ดข้าวโพดสีขาวเหลืองส้มในเม็ดเดียวกัน เรียกว่า Corn Candy และขนมอื่นๆไว้เตรียมคอยท่า


แอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ BALANCE COSME WASH ME

แอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ Balance Cosme Wash Me (บาลานซ์ คอสเม่ วอชมี) ขนาด 450 มล. แพค 3 ขวด

ราคา 660 บาท


เมื่อถึงเวลายามเย็นถึงดึก เด็กๆ จะแต่งตัวแฟนซีเป็นภูติ ผี แม่มด หรือ นางฟ้า ไปเคาะประตูพร้อมกับตะเกียงฟักทอง (ฟักทองที่แกะสลักเป็นรูปหน้าปิศาจแล้วใส่โคมไฟในนั้น, Jack o’ Lantern) แล้วก็พูดกับเจ้าของบ้านว่า “trick or treat” ถ้าเจ้าของบ้านบอกว่า “treat” จะได้ความหมายว่า “เลี้ยง” หรือประมาณว่า ฉันยอมแพ้แล้ว เอาลูกกวาดไปเถอะ โดยจำนวนลูกกวาดแล้วแต่ความพอใจของเจ้าของบ้าน ถ้ามาก ก็คือเด็กๆ แต่งตัวได้ถูกใจ แต่ถ้าน้อย คือ เด็กๆ แต่งตัวได้แย่ในสายตาของคนคนนั้น แต่ถ้าพูดว่า “trick” หรือ “หลอก” ก็แปลว่า ฉันไม่ยอม เด็กๆ ก็จะหาทริกมาหลอกเจ้าของบ้าน หลังจากนั้น เจ้าของบ้านก็จะให้ลูกกวาด และไม่ว่าเจ้าของบ้านจะพูดว่าอย่างไร ก็จะจบด้วยเสียงหัวเราะ และเด็กๆ ก็จะได้ลูกกวาด

ชาวไอริชและอังกฤษได้ทำตามประเพณีดั้งเดิมของแจ็ค โดยนำเทียนหรือหลอดไฟเป็นอาทิ ใส่ลงในหัวผักกาด มันฝรั่ง และหัวเทอร์นิพ แต่ที่อเมริกา ฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงใช้หัวฟักทองทำตะเกียง และนำไปให้เด็กๆ ใช้ในประเพณีทริกออร์ทรีตในวันฮัลโลวีนนั่นเอง

เครื่องแต่งกายประจำเทศกาลฮาโลวีน คือแต่งเป็นสัตว์ประหลาด เช่นผีร้าย โครงกระดูก แม่มด และภูต สาเหตุก็เนื่องมาจาก เพื่อต้องการทำให้ปิศาจร้ายกลัว ซึ่งการแต่งกายส่วนใหญ่มักจะเอาแบบอย่างมาจากบทประพันธ์มากกว่าที่จะเป็นความเชื่อของท้องถิ่น เช่น ตัวละครต่าง ๆ จากโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสิ่งอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียง

ตำนานเกี่ยวกับฟักทอง หรือ แจ๊ก-โอ’-แลนเทิร์น (jack-o’-lantern)

ตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช ที่กล่าวถึง แจ๊คจอมตืด ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้ และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ ‘ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก’ แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อเอาไว้ปัดเป่าความหนาวเย็นท่ามกลางความมืดมิด และแจ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอนิพที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น

ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาดเทอนิพ และใส่ไฟในด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง ‘การหยุดยั้งความชั่ว’ Trick or Treat เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่า ฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน หัวผักกาดจึงกลายเป็นฟักทองด้วยเหตุผลนี้

วันฮาโลวีน Halloween : เกมส์และกิจกรรมอื่นๆ

งานปาร์ตี้ในวันฮาโลวีนมักจะมีการเล่นเกมส์ต่างๆ ซึ่งหนึ่งในเกมส์ยอดนิยมคือเกมส์แอปเปิ้ลจุ่มน้ำ คือการเอาแอปเปิ้ลไปแช่ไว้ในถังหรือกะละมังแล้วผู้เล่นต้องคาบแอปเปิ้ลออกจากถัง ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงรูปการละเล่นไปบ้าง เช่น นั่งคุกเข่าบนเก้าอี้ แล้วคาบส้อมไว้ แล้วพยายามปล่อยส้อมให้ไปจิ้มบนลูกแอปเปิ้ล ส่วนอีกเกมส์หนึ่งก็คือการใช้เชือกแขวนน้ำเชื่อมหรือโดนัทแล้วให้ผู้เล่นกินโดนัทนั้นโดยไม่ใช้มือ ซึ่งจะทำให้หน้าตาผู้เล่นเปอะเปื้อน

บางเกมส์ที่เล่นในวันฮาโลวีนมักจะเป็นไปในทางการทำนายทายทัก เช่นชาวไอริชและสก็อตติชจะทำนายเนื้อคู่โดยการปอกเปลือกแอปเปิ้ลให้เป็นเส้นยาวโดยไม่ขาดจากกัน แล้วโยนเปลือกนั้นข้ามไหล่ไป เปลือกแอปเปิลนั้นก็จะปรากฎเป็นตัวอักษรนำหน้าชื่อเนื้อคู่ของเรา ซึ่งความเชื่อนี้ ถูกนำเข้ามาจากผู้ที่ย้ายถิ่นฐานชาวไอริชและสก็อตติชในแถบชนบทของอเมริกา

ส่วนความเชื่ออีกอย่างหนึ่งที่ถูกเล่าต่อๆ กันมา คือ หากผู้หญิงโสดนั่งอยู่ในห้องมืดแล้วเพ่งมองกระจกในคืนวันฮาโลวีน จะปรากฎหน้าเนื้อคู่ให้เห็นในกระจก และหากเห็นเป็นโครงกระดูกแทนที่จะเป็นรูปหน้าคนก็หมายความว่าผู้หญิงคนนั้นจะเสียชีวิตก่อนแต่งงาน ความเชื่อนี้ได้ขยายวงกว้างออกไปจนปรากฎอยู่บนการ์ดอวยพรในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20

เสน่ห์ของสถานที่สยองขวัญ

บ้านผีสิงก็จะถูกจัดขึ้นเพื่อสร้างความบันเทิงเชิงสยองขวัญ ซึ่งมักจะเป็นธุรกิจที่เกิดในช่วงเทศกาลฮาโลวีน มีการรวมเอาบ้านผีสิง เขาวงกต การนั่งรถบรรทุกหญ้าแห้ง ซึ่งมีความสมจริงมากขึ้น มาคอยให้บริการในช่วงวันฮาโลวีน

วันฮาโลวีน Halloween : อาหาร

– อมยิ้มแอปเปิ้ล
เนื่องจากเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวแอปเปิ้ล อมยิ้มแอปเปิ้ลจึงกลายมาเป็นขนมประจำเทศกาล อมยิ้มแอปเปิ้ลเคลือบคาราเมล หรือลูกกวาดแอปเปิ้ล กลายเป็นสัญลักษณ์ของ treat ในเทศกาลฮาโลวีน ซึ่งมีวิธีทำ คือ กลิ้งลูกแอปเปิ้ลบนน้ำเชื่อม บางครั้งก็มีการเพิ่มถั่วเข้าไปด้วย

– เค้กลูกเกด

อีกหนึ่งอาหารของชาวไอริชที่ยังคงมีอยู่จนถึงทุกวันนี้ คือ เค้กลูกเกด เป็นเค้กผลไม้แบบเบาๆ ซึ่งจะสอดไส้ แหวน เหรียญ หรือสิ่งต่างๆเข้าไปก่อนอบ และหากใครกินเข้าไปแล้วเจอแหวน ก็จะได้พบกับรักแท้ในปีต่อมา ซึ่งจะคล้ายกับประเพณี King cakeในเทศกาล Epiphany

ที่มา wikipedia, educatepark.com, Weheartit