จิตวิทยา โกหก

ภาษากายของคนโกหก (Body Language)

ในทางจิตวิทยามี วิธีสังเกต ภาษากายของคนโกหก (Body Language) หรือช่วงเวลาที่คน ๆ นั้น กำลังอยู่ในภาวะวิตก เครียด อาการเหล่านี้จะแสดงออกมาทางท่าทางโดยที่ไม่รู้ตัว

Home / CAMPUS / ภาษากายของคนโกหก (Body Language)

ประเด็นน่าสนใจ

  • เวลาเมื่อคนโกหก หรือกำลังพูดอะไรไม่ตรงนั้น ก็จะมีอาการที่เกิดขึ้นจากความเครียด
  • อาการดังกล่าว มักจะส่งผล หรือตอบสนองต่อการกระทำของร่างกายเกิดขึ้น
  • แนวทางนี้สามารถทำให้เราใช้เป็นหนึ่งในวิธีการสังเกตได้

ในทางจิตวิทยามี วิธีสังเกต ภาษากายของคนโกหก (Body Language) หรือช่วงเวลาที่คน ๆ นั้น กำลังอยู่ในภาวะวิตก เครียด อาการเหล่านี้จะแสดงออกมาทางท่าทางโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งทำให้กลายเป็นหนึ่งในวิธีการของการสังเกตว่า คนนั้น โกหก หรือไม่ แม้ว่า อาจจะไม่ใช่ทั้ง 100% แต่หลายครั้งถูกนำมาใช้เพื่อดูการตอบสนองว่า เรื่องดังกล่าว มีผลต่อความคิด ความเครียด ของคนนั้นมากน้อยเพียงใด เพื่อระบุว่า เขาเหล่านั้น เกี่ยวข้องหรือไม่กับเรื่องดังกล่าวได้อีกด้วย

วิธีสังเกต ภาษากายของคนโกหก

ลักษณะมือ ท่าทาง ของคนที่กำลังโกหก เครียด

  • มือกุมส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ท้ายทอย หน้าอก ลำคอ หัว ลูบผมบ่อยๆ หรืออาจจะไม่บ่อยเท่าปกติ คือจะกุม หรือจับส่วนต่าง ๆ มากหรือน้อยก็เป็นไปได้ แต่จะทำตรงกันข้ามกับปกติ
  • กุมมือ ประสาน กำมือ หรือบีบมือแน่น
  • เอามือไขว้หลังแล้วจับข้อมือ บ่งบอกว่ากำลังรู้สึก เครียด
  • อยู่ไม่นิ่ง หลุกหลิก ลุกลน กลัวคนอื่นรู้ จึงแสดงออกทางท่าทางไปแบบไม่ได้ตั้งใจ
  • เหงื่อออกได้แม้จะอยู่ในอากาศที่เย็นก็ตาม

ลักษณะทางดวงตา

  • กระพริบตาบ่อยมาก
  • ไม่กล้าสบสายตาคู่สนทนา
  • นัยน์ตาจะเหลือบขึ้นบน และเวลาเหลือตามองจะไปตรงกันข้ามกับข้างที่ถนัด เช่น หากถนัดขวาเวลาโกหกจะเหลือบมองไปทางซ้าย ถ้าคนถนัดซ้ายเวลาโกหกจะเหลือบมองไปทางขวา

การพูด

  • พูดนานกว่าปกติ หมายถึงเว้นระยะในการพูดนานเกินกว่าปกติ ตอบคำถามช้า
  • คอแห้ง เสียงแหบแห้ง อาจจะกลืนอาหาร หรือน้ำได้ลำบากด้วย
  • พูดซ้ำวนไปวนมา จับใจความไม่ได้ เวลาพูดจะมีการเอามือมาแตะที่จมูกบ่อยขึ้น
  • ถ้าเกร็งหรือเม้มปาก แสดงออกถึงความกังวลใจบางเรื่องบางสิ่ง

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อมูลที่สันนิษฐาน โดยรวมแล้วหากจะดูลักษณะท่าทางว่าผู้ต้องสงสัยโกหกมั้ย? อาจจะต้องรู้ว่าลักษณะท่าทางตอนพูดในแบบปกติของเขาด้วยว่าเป็นอย่างไร


ที่มา : psycstory, wikihow