เทคนิคฝึกภาษา

เรียนรู้ ภาษาลู ง่ายๆ สไตล์วัยทีน

ภาษาลู ไล่มุยหลอกบูก คือ ไม่บอก หลันฝูน ลีดู คือ ฝันดี โลอู เลคู คือ โอเค

Home / CAMPUS / เรียนรู้ ภาษาลู ง่ายๆ สไตล์วัยทีน

ภาษาลู ภาษาที่นิยมใช้ในกลุ่มเก้งกวาง ที่ในกลุ่มเค้ารู้จักกันดี ส่วนคนทั่วไปพอได้ยิน อาจจะงงและสับสนอยู่บ้าง เพราะไม่เข้าใจความหมายและพูดไม่เป็น วันนี้ขอพาเพื่อนๆ มาเรียนรู้ ภาษาลู ง่ายๆ สไตล์วัยทีน 

เรียนรู้ ภาษาลู ง่ายๆ สไตล์วัยทีน

– ไล่มุยหลอกบูก คือ ไม่บอก

– หลันฝูน ลีดู คือ ฝันดี

– โลอู เลคู คือ โอเค

– หลอบขูบ ใลจู คือ ขอบใจ

– ซักรุก ละนุ คือ รักนะ

– หลู้สี้ หลู้สี้ คือ สู้ๆ

– ลิดคุด หลึงถุง คือ คิดถึง

– หล้วนอู้น คือ อ้วน

– เลิบงูบ คือ เงิบ

– หล่านอู่น ไล่มู่ หลอบตูบ คือ อ่านไม่ตอบ

– ลานงูน เหล้าขู้ คือ งานเข้า

– ไลปู เลี่ยวทู่ว ลันกุน คือ ไปเที่ยวกัน

– ลำขู๋  คือ ขำ

– ลุ่งยิ่ง ลั้ยมุ้ย คือ ยุ่งไหม

– ลี่คู่ โล้มู้ คือ ขี้โม้

– หลิดผุด หละตุ สอดหลูด คือ ผิดตลอด

– หลอขู โลดทูด คือ ขอโทษ

– เหลาหงู คือ เหงา

– เลิ้ร์ดบู๊ด เลดู คือ เบิร์ดเดย์

– ลำกุม ซังลุง ไลปู คือ กำลังไป

– ซ้อนลู้น โล้ยวู้ย คือ ร้อนโว้ย

– ลำทุม ไซรู หลู่หยี่ คือ ทำอะไรอยู่

– ลินฟุน เล่อวู่ คือ ฟินเว่อร์

– ลี่ขู้ เหลียดกูด คือ ขี้เกียจ

– หล่อนอุ่น คือ อ่อน

– เหลียดกลูด คือ เกลียด

– หล่วยปุ่ย คือ ป่วย

– เลามู คือ เมา

– ลู๊ดกี๊ด ลอมู ลิ่งนุ่ง คือ กู๊ดมอนิ่ง

– ล่อกู้ แซ้วลู้ แหล่ตู่ คือ ก็แล้วแต่

– หล่าอยู่เลอะยุ คือ อย่าเยอะ

– ลายบุย คือ บาย

– หลากหยูกล้ายดู้ย คือ อยากได้

– หลบตุละมุ? คือ ตบมะ

– ไล่มู่เหลือกผู่หลิดุ คือ ไม่เผือกดิ

– หล่าหยู่ ลามู ลุ่มยิง คือ อย่ามายุ่ง

ภาพประกอบจาก ซีรี่ย์คลับฟรายเดย์ ตอน ความลับของมิ้นต์กับมิว

หลายคนที่เคยติดตามซีรี่ย์คลับฟรายเดย์ ตอน ความลับของมิ้นต์กับมิว ก็จะทราบว่า กลุ่มเก้งกวาง ที่ต้องการหาเหยื่อ เอ้ย ผู้ชาย เขาใช้ภาษาลู ในการสื่อสารกัน เพื่อไม่ให้ผู้ชายคนนั้นรู้เรื่อง โดยที่มาของภาษาลู มีประวัติที่มาไม่แน่นอน ว่ากันว่าเป็นภาษาที่ดัดแปลงมาจากภาษาไทย และบ้างก็ว่า มาจากคนในคุกพูดกันเพื่อไม่ให้ผู้คุมรู้ว่าไปทำอะไรมา

คราวนี้เรามาดูวิธีการไช้ภาษาลู ง่ายๆ กันเลยดีกว่า หากรู้วิธีการผวนคำเป็น เล่นคำผวนได้ ก็น่าจะไช้ลูในการสื่อสารได้ เช่นคำว่า “เก้ง”

ซึ่งภาษาลู เราจะต้องเติมคำว่า “ลู” ไว้หน้าคำนั้นๆ เมื่อ “เก้ง” เติมคำว่า ลู จะอ่านว่า ลู-เก้ง และผวนเสียงเป็น เล้ง-กุ้ง

คำต่อมา “กระเทย” เมื่อเติม ลู จะเป็น ลู-กะ-ลู-เทย และผวนเสียงเป็น ละ-กุ-เลย-ทุย แค่นั้นเองค่ะ

ที่นี่เราลองไปดูการจำลองเหตุการณ์กันเลย กับสองสาว ซินดี้ และ เชอร์รี่

เชอร์รี่ : อีซิน มึง-ซู๊-รู้-หลัก-จุก-เหล้า-คู-ไล่-มุย (มึงรู้จักเค้ามั๊ย?)

ซินดี้ : ไล่มู่ ซู้รู้ หลักจุก (ไม่รู้จัก)

เชอร์รี่ : เอ้า! อีนี่ ลู-พู-ไล่-ชุย-หลา-นู้-ลา-ตู-ลี-ดู ไม่รู้จักก็รู้จักซะบ้างสิเมิงงงง (ผู้ชายหน้าตาดีอ่ะ)

ซินดี้  : เอ้า! อีนี่ กูจะไป ซู้รู้ หลักจุก ลุกทุก ลนคุน ได้ไงล่ะ (กูจะไปรู้จักทุกคนได้ไงล่ะ)

เชอร์รี่ : นี่มันตึกทำงานมึงไหม ทำไมมึงจะไม่ ซู๊-รู้-หลัก-จุก ละจ๊ะ (ทำไมมึงจะไม่รู้จักละจ๊ะ)

เชอร์รี่ : ลี-ดู-ลาก-มูก นะเมิง ห่อหมกปลาดอลลี่ (ดีมากอยู่นะเมิง)

ซินดี้ : ใช่ เล้งกุ้ง ป่ะ? (ใช่เก้งป่ะ)

เชอร์รี่ : ไม่ใช่หรอกมั่ง

คนที่ 3 : ไม่ใช่เล้งกุ้งค่ะ แต่เป็น ละกุ เลยทุย (ไม่ใช่เก้งค่ะ เเต่เป็น กระเทย)

ซินดี้ กับ เชอร์รี่ : โป๊ะแตก (ตุ๊ดแตก)

เป็นยังไงกันคะ เข้าใจขึ้นอีกเยอะเลยใช่ม๊ะกับภาษาลู ต่อไปนี้เพื่อนคนไหนจะพูดอะไร และไม่อยากให้คนอื่นล่วงรู้ความลับละก็ สามารถนำไปใช้ได้นะคะ หวังว่า คลิปเรียนรู้ ภาษาลู ง่ายๆ สไตล์วัยทีน นี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย^^