หลักภาษาไทย ไตรยางค์ หรือ อักษรสามหมู่ สำหรับน้องๆ ระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ที่เราควรรู้และใช้ให้ถูกต้อง ทีนเอ็มไทยจะพาไปติดตามว่า ไตรยางค์ อักษรสามหมู่ คืออะไร? พร้อมวิธีการท่องจำไตรยางค์ อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ ง่ายๆ เอาไว้ทำการบ้าน หรือตอบโจทย์ในข้อสอบ กันค่ะ
วิธีการท่องไตรยางค์ อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
ไตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือ ระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย เฉพาะรูปพยัญชนะตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน
พยัญชนะไทยแบ่งออกเป็น 3 หมู่ มีระดับเสียง สูง กลาง ต่ำ เรียกว่า ไตรยางค์ ได้แก่
อักษรสูง
มี 11 ตัว ได้แก่ ผ ฝ ถ ฐ ข ฃ ส ศ ษ ห ฉ หลักการท่องจำ คือ ผีฝากถุงข้าวสารให้ฉัน
อักษรกลาง
มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ หลักการท่องจำ คือ ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง
อักษรต่ำ
มี 24 ตัว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ อักษรคู่ อักษรเดี่ยว
อักษรคู่ คือ อักษรต่ำที่มีอักษรสูงเป็นคู่ มี 14 ตัวได้แก่ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ หลักการท่องจำ คือ พ่อค้าฟันทองซื้อช้างฮ่อ จับคู่กับ อักษรสูงได้ 7 คู่ ได้แก่
อักษรเดี่ยว คือ พยัญชนะที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่ มี 10 ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ หลักการท่องจำ คือ งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก
สำหรับความหมาย ของ อักษรต่ำคู่ คือ อักษรต่ำที่มีเสียงคล้ายกับอักษรสูง เช่น ซ กับ ส ศ ษ ถ้าอักษรต่ำเดี่ยว คือ อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคล้ายอักษรสูง
เรียนรู้หลักภาษาไทยแล้ว ลองมาฝึกทำข้อสอบ วิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กัน >>> วิชาภาษาไทย